ข้อควรรู้ในการใช้งานและประโยชน์ที่คุ้มค่าของ โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ ฉบับ INFINITE !!
ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่อย่าง โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ แอลอีดี (Solar Streetlight LED) เป็นโคมไฟที่เริ่มเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้น เนื่องจากติดตั้งไม่ยุ่งยาก มีแค่เสาไฟ หลอดไฟและอุปกรณ์บางส่วนก็สามารถติดตั้งได้แล้ว มันจึงสะดวกและประหยัดมาก โดยเฉพาะค่าไฟในระยะยาว สามารถผลิตไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ได้อย่างไม่จำกัดและเป็นพลังงานสะอาดไม่มีมลภาวะ แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างในการใช้งานเหมือนกัน เช่น การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ ต้องกำหนดทิศทางให้ได้รับแสงอาทิตย์ หรือ บางวันมีแสงแดดน้อยก็ทำให้มีผลต่อการให้แสงสว่างได้เช่นกัน บทความนี้จะมาให้ข้อควรรู้ในการใช้งานเกี่ยวกับโคมไฟโซล่าเซลล์ให้ทราบกัน เพื่อทำให้เข้าใจแนวทางการทำงานของผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์มากขึ้นครับ
ส่วนประกอบของ โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ แอลอีดี (Solar LED Streetlight)
ประกอบไปด้วย
แผงโซล่าเซลล์,
เครื่องควบคุมการชาร์จ,
แบตเตอรี่,
โคมไฟและหลอดไฟ,
เสาไฟและตู้ไฟสำหรับใส่อุปกรณ์ (กรณีเป็นหลอดไฟ 220Vac ก็ต้องมีตัวแปลงไฟขึ้น หรือ Voltage Inverter ด้วย)
โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ นั้นไม่ได้ใช้กระแสไฟฟ้า 220v ในการทำงาน แต่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์นำมาแปลงผ่านแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อเป็นกระแสไฟ DC เข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่และโคมไฟเพื่อสร้างแสงสว่าง
ข้อควรรู้การใช้ผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์
1.ความสม่ำเสมอในการใช้งาน ต้องทำความเข้าใจว่าลักษณะของไฟประเภท Solar จะมีความเสถียรของการให้แสงสว่างไม่เท่ากับไฟบ้าน เพราะเป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นหลัก ซึ่งอาจมีฝนตก แดดไม่ออก เมฆบัง ฯลฯ เกิดขึ้นได้ทั้งวันดังนั้น ในวันนนั้นๆแผงอาจไม่สามารถเก็บพลังงานได้เต็มที่ ทำให้แสงที่ออกมาอาจไม่เพียงพอ หรือสว่างน้อยเป็นต้น
2.Cycle ในการทำงาน อาจต้องรอระยะในการดู ซึ่งอาจเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ในการสังเกตและให้รอบในการทำงานของแผง แบตเตอรี่และโคมไฟ อยู่ตัวการที่โคมไม่ติดหรือไม่สว่างอาจต้องให้สังเกต 1-2 สัปดาห์ในเวลาเดียวกันเพื่อยืนยันตาม รอบการทำงานของระบบ มีหลายครั้งที่ปัจจัยภายนอกเช่น แดด ฯลฯ กระทบในบางวันทำให้โคมไฟไม่สว่าง แต่ผ่านไปช่วงระยะนึงแล้วกลับมาทำงานปกติ
3.การวางแผง Solar : เนื่องจากแผง Solar จะทำงานได้อย่างเต็มที่นั้น มีปัจจัยที่หลายอย่างที่เข้ามาขัดขวาง ได้แก
3.1 “แสงแดด” : แดดที่ออกไม่สม่ำเสมอ แดดร่มหรือจ้าไม่เป็นเวลา
3.2 “การวางแผง Solar” : การวางแผง Solar ในตำแหน่งที่ไม่สามารถรับแสงแดดได้ดี ก็มีผลทำให้ไม่สามารถเก็บ พลังงานได้เต็มที่เพื่อนำไปใช้จ่ายไฟ เช่น ติดตั้งในที่ร่ม ติดตั้งในที่ซึ่งมีต้นไม้บดบังแสงแดด มีฝุ่นจับแผง Solar cell จำนวนมาก เป็นต้น
3.3 ให้สังเกตการณ์บังของแสง เช่น เงาของต้นไม้ที่ใกล้เคียง หรือสิ่งปลูกสร้างอาจบังแดดได้
3.4 รวมถึงแผงควรติดตั้งไปในทิศตะวันตก เพื่อรับแดดบ่ายที่มากกว่าช่วงเช้าก็มีส่วนในการรับแสงแดดที่เพียงพอ
4.แบตเตอรี่ : หากเพิ่งมีการเปิดใช้งาน ให้ทิ้งเวลาเพื่อให้ Cycle หรือ ระบบวงจรการทำงานของไฟ Solar ได้ทำงานไปก่อน ซึ่งบางคนมักเข้าใจผิดว่าไฟพัง
อายุการใช้งานโคมไฟถนนโซล่าเซลล์ แอลอีดี (Solar Streetlight LED)
ยาวนานกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดาหลายเท่า สามารถนำไปใช้งานที่ไหนก็ได้ทั่วทุกมุมโลก โดยไม่ต้องห่วงเรื่องความต่างศักย์ที่ไม่เท่ากันของไฟฟ้าในแต่ละประเทศเพราะใช้วัตถุดิบเป็นแสงจากดวงอาทิตย์เท่านั้น ขนาดของไฟฟ้าก็สามารถสร้างได้ไม่จำกัด การดูแลรักษาก็ไม่ยุ่งยาก แค่เช็ดทำความสะอาดบริเวณแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ
คลิกอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3vLkaDo
ผู้เขียนบทความ