7 เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับอิฐมวลเบาคิวคอน

แม้ว่า “อิฐมวลเบา” เป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้กันมากแล้ว แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอิฐมวลเบาอยู่ จึงขอรวบรวม 7 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับอิฐมวลเบามาฝากกันนะคะ
 

1 อิฐมวลเบาฉาบแล้วแตกร้าวง่าย
ตอบ: ความจริงแล้ว การที่ผนังแตกร้าวง่ายเกิดจากการฉาบผิดวิธี ข้อแนะนำคือ ควรเลือกใช้เครื่องมือและปูนก่อฉาบอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ โดยต้องไม่ฉาบหนาเกิน 1.5 ซม.

2 อิฐมวลเบามีน้ำหนักเบาเลยไม่แข็งแรง และรับแรงกระแทกได้น้อย
ตอบ: ความจริงแล้ว อิฐมวลเบาคิวคอนมีความแข็งแรง และรับแรงกระแทกได้มากกว่าอิฐมอญ จากการทดสอบแรงกระแทกบนผนัง โดยใช้ถุงทรายน้ำหนัก 50 กิโลกรัมในการกระแทก
- ผนังอิฐมอญ แตกรอบที่ 8
- ผนังอิฐมวลเบา แตกรอบที่ 11

3 อิฐมวลเบาข้างในพรุนไม่สามารถเจาะเพื่อแขวนของหนักๆ ได้
ตอบ: ความจริงแล้ว ผนังอิฐมวลเบาสามารถแขวนของหนักๆ ได้ โดยเลือกใช้พุกและดอกสว่านที่เหมาะสม (เลือกเบอร์เดียวกัน) รวมถึงการเจาะอย่างถูกวิธี (ห้ามคว้าน)

4 อิฐมวลเบาไม่ควรใช้ก่อผนังห้องน้ำเพราะน้ำซึมง่าย
ตอบ: ความจริงแล้ว อิฐมวลเบาก่อผนังห้องน้ำได้ อิฐมวลเบาก่อผนังห้องน้ำได้ แต่ต้องทำขอบปูน (ทำคันคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ Curb) และทาน้ำยากันซึม
.
เพราะปัญหาส่วนใหญ่ของความชื้นในผนังห้องน้ำเกิดจากปัจจัยอื่นๆ สามารถแก้ปัญหาโดยการตรวจสอบรูและช่องต่างๆและใช้ปูนก่ออุดให้ทั่วผนัง บริเวณที่อาจมีน้ำขังให้ทำคันคอนกรีตเสริมเหล็ก (Curb) ยกระดับขึ้นมาประมาณ 10 ซม.ก่อนแล้วค่อยก่อผนัง และทาน้ำยากันซึม บนผนังบริเวณที่สัมผัสกับน้ำด้วย

5 อิฐมวลเบาไม่กันความร้อนและเสียง
ตอบ: ความจริงแล้ว รูพรุนในอิฐมวลเบา ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนและกันเสียงในตัวได้ดี
.
ผลการทดสอบการกันเสียงเมื่อเทียบอิฐมอญกับอิฐมวลเบาที่ความหนาผนัง 10 ซม. ฉาบ 1 ซม. พบว่า ผนังอิฐมอญกันเสียงได้ 38 เดซิเบล ส่วนผนังอิฐมวลเบากันเสียงได้ 43 เดซิเบล
.
- อิฐมวลเบาคิวคอน ความหนา 7.5 ซม. รวมฉาบ กันเสียงได้ 37dB (ผลทดสอบจาก ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)- อิฐมวลเบาคิวคอน ความหนา 10 ซม. รวมฉาบ กันเสียงได้ 43dB (ผลทดสอบจาก Acoustics Labboratory, National University, SG)

6 อิฐมวลเบาต้องใช้วิธีการก่อเฉพาะ จึงใช้เวลาก่อนานกว่าอิฐมอญ
ตอบ: ความจริงแล้ว การก่อผนังอิฐมวลเบามีความรวดเร็วกว่าอิฐมอญ 3 เท่า เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่า

7 การก่อด้วยผนังอิฐมวลเบามีราคาแพงตอบ: ความจริงแล้ว ต้นทุนโดยรวมถูกกว่าอิฐมอญ เพราะ
.
1. มีความรวดเร็วในการทำงาน
- อิฐมอญ ใช้เวลา 3-5 วันในการติดตั้ง
- อิฐมวลเบา ใช้เวลา 1-2 วันในการติดตั้ง
.
2. ประหยัดเสาเอ็น คานเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
- อิฐมอญ ใช้เวลาในการหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กนาน
- อิฐมวลเบา มีคานทับหลังสำเร็จรูป แทนการหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก

Q-CON
เป็นผ้นำด้านคอนกรีตมวลเบาของประเทศไทย ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา อยู่ภายในเครือ SCG

ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพสินค้ามากมาย อาทิ ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง , ฉลากลดคาร์บอน Green Industry ระดับ 4 , รางวัลอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ "Eco Factory" , CSR-DIW Award และรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย หรือ ธงขาว-ดาวเขียว (Green Star Award)

Q-CON ผลิตคอนกรีตมวลเบาเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ และส่งออกขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่ครบวงจร ทั้งประเภทไม่เสริมเหล็ก ได้แก่ บล็อค (Block) ขนาดต่างๆ และประเภทเสริมเหล็ก ได้แก่ คานทับหลังสำเร็จรูป (Lintel), แผ่นผนัง (Wall Panel), แผ่นพื้น (Floor Panel) และแผ่นบันได (Stair) นอกจากนี้ Q-CON มีโรงงานผลิตปูนก่อ และปูนฉาบสำเร็จรูป เพื่อใช้สำหรับงานคอนกรีตมวลเบาโดยเฉพาะ ได้แก่ ปูนก่อบาง (Thin Bed Adhesive Mortar) และปูนฉาบ (Rendering Mortar) ตลอดจนเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น เกรียงก่อ ค้อนยาง หัวปั่นปูน เลื่อยตัด และ metal strap เป็นต้น
...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ