3 เทคโนโลยีแห่งอนาคตด้านสถาปัตยกรรม

ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมถูกพัฒนาก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ล้วนช่วยให้งานออกแบบและงานก่อสร้างในยุคนี้ สามารถพัฒนาศักยภาพจนเลยกรอบจำกัดเดิมได้มากขึ้น และ 3 เทคโนโลยีแห่งอนาคตด้านสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ จะมีอะไรน่าสนใจบ้างนั้น ตามมาชมกันได้เลยครับ

“CARE” เครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยให้นักออกแบบประเมินมูลค่าการรีโนเวทอาคารเทียบกับการก่อสร้างใหม่

CARE หรือ Carbon Avoided Retrofit Estimator เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักออกแบบและเจ้าของอาคาร สามารถวัดค่า Carbon Benefit ในส่วนของการปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคารได้ ด้วยการป้อนข้อมูลโครงการที่มีประสิทธิภาพ เช่น เป้าหมายด้านพลังงาน รวมไปถึง Potential Building Interventions ที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ใช้สามารถประมาณการปล่อยคาร์บอนได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีส่วนเชื่อมโยงกับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งจะทำให้เห็นข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างการรีโนเวทกับการก่อสร้างใหม่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ออกแบบตกแต่งภายในด้วยวัสดุพลาสติกรีไซเคิล ที่สร้างจากเครื่อง 3D ปริ้นเตอร์

Ecoalf ผู้บุกเบิกแฟชั่นรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ร่วมมือกับ Nagami สตูดิโอออกแบบที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดแนวคิดใหม่ของการออกแบบ การผลิต และการบริโภค

แบรนด์จากสเปนทั้งสองแห่งนี้มีความสนใจร่วมกันในการผลิตที่ยั่งยืน โดยร่วมมือกันสร้างร้านเสื้อผ้าในชื่อ Zero Waste Boutique Store ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน โดยถ่ายทอดแนวคิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านงานออกแบบตกแต่งภายใน ด้วยการใช้วัสดุพลาสติกรีไซเคิล ที่สร้างจากเครื่องพิมพ์ปริ้นเตอร์ 3 มิติ ขนาดใหญ่

จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ขยะพลาสติกปริมาณ 3.3 ตันได้มีชีวิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งขยะพลาสติกเหล่านี้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์สำหรับโครงการในอนาคตเมื่อสิ้นสุดวงจรชีวิต และแทบจะรีไซเคิลได้ไม่จำกัด โดยจะสูญเสียประสิทธิภาพของโครงสร้างไปเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เมื่อใช้งานใหม่แต่ละครั้ง

การย่อยสลายโครงสร้าง EPS Foam ด้วยหนอนด้วง

EPS Foam มีคุณสมบัติเป็นฉนวนควบคุณอุณหภูมิที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก การนำไปรีไซเคิลนั้นก็ยากและค่าใช้จ่ายสูง แต่ในปัจจุบันอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป

เพราะตอนนี้นักวิจัยค้นพบว่าตัวอ่อนของด้วงดำสามารถย่อยสลาย EPS Foam รวมถึงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวได้ วิธีการคือ ตัวอ่อนของด้วงดำจะทำการย่อยวัสดุด้วยเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร และขับถ่ายออกมา ซึ่งของเสียที่ขับถ่ายออกมาก็ปลอดภัย สามารถใช้สำหรับการปลูกต้นไม้ได้อีกด้วย

อ้างอิง

  • https://www.archdaily.com/997150/care-a-new-digital-tool-helps-designers-quantify-the-value-of-reuse-versus-building-new?ad_source=search&ad_medium=search_result_articles
  • https://www.archdaily.com/996782/3d-printed-interior-with-upcycled-plastic-reducing-waste-enhancing-design?ad_campaign=normal-tag&fbclid=IwAR3ubMauReZfBMJG68PwW062AOdLYNDDDaeoV32jRl689ahL4MP6PKyUyvo
  • https://www.archdaily.com/992284/decomposing-structures-with-larvae-an-eps-pavilion-in-south-korea?ad_campaign=normal-tag&fbclid=IwAR3IJK5xKsOWmISnvSuJwEv7hNoH6fJy7Xc6q2vkoc871dDBRZstPYsoWo4
  • https://architecture2030.org/caretool/

ดูเนื้อหาการออกแบบงานสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่

Wazzadu.com
วัสดุคือแพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางฟีเจอร์ต่างๆดังนี้

Search - ค้นหา และจัดเก็บ ทั้งไอเดีย และสินค้า และบริการสำหรับการออกแบบตกแต่ง
Sourcing - จัดหาสินค้า และเปรียบเทียบราคาโดยการติดต่อ ผ่านแบรนด์ต่างๆ หรือบริการในแพลตฟอร์ม
Spec - เครื่องมือสเปคข้อมูลวัสดุ โดยแสดงข้อมูลเพื่อการออกแบบ เปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงลึก ทั้งการติดตั้ง ขนาด ราคา และรีวิวการใช้งาน
แบรนด์ / ผู้จัดจำหน่ายสามารถเปิดโปรไฟล์ และอัพโหลดสินค้าได้ฟรี

ติดต่อเราที่ 02-714-0454
Email: contact@wazzadu.com ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ