มาทำความรู้จัก ไม้อัด มอก. 178-2549 กันเถอะ…!

ประเภทและชั้นคุณภาพ มอก.178-2549

1. ประเภท

แผ่นไม้อัด แบ่งตามกาวที่ใช้เป็น 4 ประเภท คือ

1.1 ประเภทภายนอก ใช้กาวที่ทนทานต่อลมฟ้าอากาศ น้ำเย็น น้ำเดือด ไอน้ำและความร้อนแห้งได้ดี เหมาะสำหรับ     ใช้ภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือละอองน้ำ

1.2 ประเภททนความชื้น ใช้กาวที่ทนทานต่อลมฟ้าอากาศ น้ำเย็น น้ำเดือด ไอน้ำ และความร้อนแห้งในเวลาจำกัด เหมาะสมสำหรับใช้ภายในและภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือละอองน้ำเป็นครั้งคราว

1.3 ประเภทภายใน ใช้กาวที่ทนน้ำเย็นได้ดีพอสมควร ทนทานในน้ำร้อนได้ในเวลาจำกัด ไม่ทนทานในน้ำเดือด  เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารหรือในที่ซึ่งไม่ถูกน้ำหรือละอองน้ำ

1.4 ประเภทชั่วคราว ใช้กาวที่ทนน้ำเย็นได้ในเวลาจำกัด เหมาะสำหรับใช้งานชั่วคราว


2. ชั้นคุณภาพ

แผ่นไม้อัดแต่ละประเภท แบ่งชั้นคุณภาพตามลักษณะของไม้บางที่ทำเป็นไม้หน้าและไม้หลัง ซึ่งแบ่งเป็น 4 ชั้นคุณภาพ โดยพิจารณาแต่ละด้านภายหลังที่ได้ทำเป็นแผ่นไม้อัดแล้ว

 

หมายเหตุ 
1. ไม้ตระกูลสน ไม่ต้องพิจาณาตำหนิเรื่องตาในการแบ่งชั้นคุณภาพ

2.แผ่นไม้อัดซึ่งทำจากไม้ปอก ทั้ง 4 ชั้นคุณภาพ มีจุดมุ่งหมายในการนำไปใช้งานดังต่อไปนี้

  (1)  ชั้นคุณภาพ 1 เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ แสดงผิวหน้าไม้

  (2)  ชั้นคุณภาพ 2 เหมาะสำหรับงานที่ไม่ควรทาสีทับหรือ ปิดผิวหน้าไม้

  (3)  ชั้นคุณภาพ 3 เหมาะสำหรับงานที่ต้องทาสีหรือปิดทับผิวหน้าไม้ หรือที่ๆ ไม่อาจเห็นผิวหน้านั้นได้

  (4)  ชั้นคุณภาพ 4 เหมาะสำหรับงานที่ผิวหน้าไม้ ไม่มีความสำคัญ

ในกรณีที่แผ่นไม้อัดทำด้วยไม้บางฝาน จากไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้บางฝานจากไม้สัก ความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน อาจขึ้นอยู่กับความสวยงามของผิวไม้นั้น และที่ๆ จะนำไปใช้

3. คุณลักษณะที่ต้องการ

1. ความชื้น  
ต้องอยู่ระหว่างร้อยละ 7 ถึงร้อยละ 15

2. การติดกาว

 

ตารางการติดกาว

3. ความต้านแรงดัดและมอดุลัสยืดหยุ่น



ความต้านแรงดันและมอดุลัสยืดหยุ่น

4. เครื่องหมายและฉลาก
ที่แผ่นไม้อัดทุกแผ่น อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมาย แจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน
(1) คำว่า “แผ่นไม้อัด”
(2) ประเภท โดยแสดงคำว่า “ภายนอก” หรือ “ทนความชื้น” หรือ “ภายใน” หรือ “ชั่วคราว”
(3) ชั้นคุณภาพ แสดงเป็นเลขอารบิก ตัวเลขหน้าแสดงชั้นคุณภาพของไม้หน้า ตัวเลขหลังแสดงชั้นคุณภาพของไม้หลัง โดยมีเครื่องหมาย / คั่นกลาง เช่น 1/2
(4) ขนาด (กว้าง x ยาว x หนา ) เป็นมิลลิเมตร
(5) ข้อความหรือรหัสแสดงเดือน ปีที่ทำ หรือรุ่นที่ทำ
(6) ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน 
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ  ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 178-2549  (แผ่นไม้อัด : VENEER PLYWOOD)


รูปภาพประกอบจาก  www.pinterest.com 

 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.suksawadplywood.co.th

ไม้อัดยาง,ไม้อัดสัก,ไม้แฟนซี,บล๊อกบอร์ด,เอ็มดีเอฟ,ปาติเกิ้ล,เคลือบฟิลม์ดำ,โฟเมก้า,ไม้ไผ่อัด,ไม้อัดไม้แปร(แอลวีแอล),บอร์ด,บานประตู,ไม้
จ๊อย,เอเชี่ยนวอลนัท,สนประสาน,กาวยาง,สี ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ