เฟอร์นิเจอร์ บิ๊วอิน (Built in furniture) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน
เฟอร์นิเจอร์ Built-in คือเฟอร์นิเจอร์ที่ยึดติดเข้ากับพื้นที่ หรือที่เรียกกันบ่อยๆว่าเฟอร์นิเจอร์ติดตาย สามารถออกแบบให้พอดีกับพื้นที่ได้สามารถ กลบเกลื่อนสิ่งที่ไม่ดีของอาคารได้ เช่น เสา แนวผนังที่ไม่เรียบร้อย ทั้งยังสามารถใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย ไม่มีช่องว่างระหว่างเฟอร์นิเจอร์กับตัวอาคาร ทำให้ฝุ่นไม่สามารถเข้าไปอยู่ตรงช่องนั้นได้
สีพ่น เฟอร์นิเจอร์ บิ๊วอิน (Built in furniture)
2.1 สีพ่นด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน
จะต้องเลือกใช้ไม้อัดเกรด AA เสี้ยนจะน้อย ไม้ไม่เป็นคลื่น นำมาขัดโป๊วลงไปในเสี้ยน เพื่อให้งานเรียบลื่น กลบเสี้ยนไม้ ขัดด้วยกระดาษทราย เมื่อชิ้นงานเรียบร้อยแล้วก็นำมาพ่นสีรองพื้น แล้วนำมาพ่นทับด้วยสีจริง ขั้นตอนสุดท้ายจะใช้ทินเนอร์ผสมแลคเกอร์พ่นทับ ก็จะได้ชิ้นงานสีพ่นที่ดูเรียบร้อยสวยงาม
2.2 สีพ่น Hi-Gloss
จริงๆแล้ว คำว่า “ไฮกรอส” เป็นคำเรียกลักษณะสี ที่มีความเงา 100 % และเนื้อสีใสเหมือนกระจก เท่านั้น
การพ่นด้วยโพลีเอทธิรีน PE (Polyethylene high-gloss)
2.3การทำสีธรรมชาติ
การทำสีธรรมชาติให้เลือกลายไม้ที่ต้องการก่อน เช่น ไม้สัก ไม้โอ๊ค ไม้บีช ไม้แอชหรือไม้อัดต่างๆ แล้วนำมาเตรียมพื้นผิวไม้ด้วยการขัดให้ผิวเรียบละเอียดไม่สะดุด
การย้อมสีไม้ด้วยน้ำยาวู้ดเสตนนั้นเพื่อป้องกันแสงแดดและน้ำที่อาจซึมเข้าเนื้อไม้ แล้วตกแต่งผิวด้วยน้ำยาวานิชแล็กเกอร์ และเชลแลก เพื่อช่วยขับลายไม้ให้สวยงามลายชัดเจน
การเลือกใช้สีธรรมชาติ โชว์ลายไม้นั้นดีตรงที่เมื่อผิวถูกกระแทกจนมีริ้วรอย มักจะไม่ชัดเจนเท่าสีพ่น ทำให้ไม้ดูใหม่อยู่เสมอ
องค์ประกอบของสี
สี คือ สารเคมีผสม (Mixture) สำหรับนำมาใช้เคลือบ (ด้วยกรรมวิธีหนึ่งวิธีใด) เพื่อประโยชน์ในการตกแต่ง หรือคุ้มครองป้องกัน หรือเพื่อทั้งตกแต่งและป้องกันวัตถุ หรือพื้นผิวที่ถูกเคลือบ โดยปกติแล้ว จะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง และจะเกิดฟิล์มที่ผิวหน้า เมื่อแห้งโดยสัมผัสกับอากาศ หรือโดยการอบ
ชนิดและคุณสมบัติของสีที่ใช้เคลือบผิว
1. ชแลค มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
- ชแลคผง มีลักษณะเป็นผง เม็ดกลม สีเหลืองอ่อนๆ โดยทั่วไป นิยมเรียกว่า ชแลคขาว
- ชแลคเกล็ด มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ คล้ายกระดาษแก้ว เป็นแผ่นเล็กๆ ขนาดประมาณ 1” บางทีเรียกว่า ชแลคสีส้ม เพราะเกล็ดมีสีออกแดงส้ม
ชแลค ทั้ง 2 ชนิด จะนำมาหมักกับ เมทิลแอลกอฮอล์ 100% โดยแช่ชแลคกับแอลกอฮอล์
ปัจจุบัน นิยมใช้ขวดไนล่อนแทน เพราะหาง่าย น้ำหนักเบา มีฝาปิดมิดชิด เคลื่อนย้ายไปมาสะดวก ผิวเรียบ
ขนาดพอเหมาะ สามารถยกเทได้ (ห้ามใช้ภาชนะเป็นโลหะในการหมักชแลคกับแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ทำปฏิกิริยากับโลหะ ทำให้ชแลคเสียได้)
ปัจจุบัน ชแลค จะมีการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมน้อยมาก เนื่องจาก เม็ดสีขุ่น ไม่ใส แต่ยังพบได้บ่อย ในตลาดทั่วไป เนื่องจาก มีราคาถูก โดยใช้เป็นสีรองพื้นก่อน ทำสีจริง
2. สารกันซึม (Sealer)
ใช้เคลือบผิวหน้าวัสดุที่มีรูพรุนสูง หรือใช้เคลือบวัสดุที่ปล่อยสารบางประเภทออกมา ซึ่งจะทำให้ฟิล์มของสีเสียหายได้ สารกันซึมมีหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้ความชื้นซึมผ่านผิวไม้ เสริมการยึดเกาะระหว่างสีชั้นถัดไปกับพื้นผิววัสดุ ป้องกันไม่ให้เกิดรอยด่าง หรือรอยตำหนิ ที่จะเกิดหลังจากเคลือบสีชั้นถัดไป ในโรงงานอุตสาหกรรม นิยมใช้ เป็นตัวรองพื้น ซึ่งสารกันซึมนี้ ต่อมาในภายหลัง เริ่มมีการพัฒนาควบคู่ไป กับสี ที่เราเรียกกันว่า ไฮกรอส ในลักษณะสีพ่น ผู้บริโภค หลายท่าน คงพอทราบปัญหากันอยู่ว่า เฟอร์นิเจอร์พ่นสีขาว เมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดเปลี่ยนสี กลายเป็นสีเหลืองแทน จริงๆ แล้ว ไม่เฉพาะสีขาว สีทุกสี มีการเปลี่ยนสีตัวเองทั้งสิ้น เพียงแค่เราไม่ได้มีตัวอย่างสีต้นแบบ เปรียบเทียบภายหลัง ซึ่งถ้ามาเปรียบเทียบอีกที เราจะพบได้ว่า สีทุกสี มีการเปลี่ยนแปลง ปัญหานี้ สมัยก่อน ก่อให้เกิดปัญหากับโรงงาน ที่ต้องมีการรับประกันสินค้า เป็นระยะเวลามาก-น้อยแล้วแต่ตกลง แต่ทั่วไปอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งสินค้าสีพ่นเหล่านั้น เมื่อถูกจัดวางโชว์ ต้องมีการใช้ไฟช่วยให้โดดเด่น เจอความร้อนเร่งเร้านานๆ สีที่พ่นไว้ จะเริ่มมีรอยด่างเหลือง หรือไม่ก็สี จะเริ่มเพี้ยนจากตัวอย่างสีต้นแบบ ในเวลารวดเร็ว ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าแผ่นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะเป็น ไม้อัด, PB, MDF (ตอนนั้น แผ่น HDF ยังไม่ถูกผลิตออก จัดจำหน่าย) วัตถุดิบพื้นฐาน ที่ใช้ผลิตแผ่นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น มาจากไม้ทั้งสิ้น ซึ่งโดยธรรมชาติของไม้ จะมียางอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อนำแผ่นผลิตภัณฑ์ หรือว่าไม้จริง มาใช้งาน โดยปกติ จะมียางไม้ซึมขึ้นมา เมื่อนำสีไปพ่นทับไว้ ยางเหล่านั้น ก็จะทำปฏิกริยากับสี ทำให้เห็นเป็นรอยด่างเหลืองเป็นจุด หรือขึ้นทั่วทั้งแผ่น จนสีเพี้ยนไปจากเดิม ยิ่งโดนไฟ, ความร้อน หรือแสง
ยิ่งเป็นตัวเร่ง ให้ยางไม้ซึมขึ้นมาได้เร็วขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการพัฒนาสารกันซึม ที่มีคุณสมบัติบล็อคยางไม้ ไม่ให้ซึมขึ้นมาได้ โดยส่วนใหญ่ จะเรียกว่า สารกันยาง ซึ่งสารตัวนี้ ภายหลังมีการพัฒนาปรับปรุง ให้กลายเป็น สีรองพื้นกันยาง โดยใส่เนื้อสีขาวลงไปด้วย เพื่อปรับสภาพสีแผ่นผลิตภัณฑ์ ให้กลายเป็นสีขาวก่อน ที่จะพ่นสีจริงลงไป เพื่อให้ได้โทนสี ที่แท้จริง หลังพ่นสีจริงเสร็จ
ขอบคุณที่มาเเละภาพประกอบ
http://www.hollywood88.com
http://www.thaicarpenter.com
https://teakyou.wordpress.com
3.น้ำมันวานิช (VANISH)
เป็นเรซิ่นสังเคราะห์ ที่ใช้เคลือบไม้เพื่อรักษาเนื้อไม้ และป้องกันน้ำได้ วานิชชนิดนี้ ถูกเรียกว่า แอลกฮอล์วานิช หรือวานิชระเหย ซึ่งเป็นวัสดุเคลือบผิวราคาถูกที่ทำมาจากการละลายยางธรรมชาติ ปัจจุบันในวงการสีอุตสาหกรรม ไม่นิยมใช้ เนื่องจาก แห้งช้า, ไม่ทนต่อการขูดขีด, ไม่ทนต่อสารเคมี แต่ปัจจุบัน มีบริษัทสี หลายแห่ง นำน้ำมันวานิช มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผสมผงสีลง ปรับแต่งโทนเนื้อสี ให้เป็นโทนสี ที่นิยมใช้ในตลาดทั่วไป รวมถึงปรับปรุงสารละลาย และสารเคลือบผิว นำออกจำหน่าย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และสะดวกต่อการใช้งาน
4. สีอะมิโน
ยูเรียเรซิน เป็นสารเคลือบผิว ซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างกรดกับอมิโนอัลคิด ราคาไม่แพงนัก เมื่อเทียบกันค่า % Solid ที่สูง,ค่า Hardness การทนต่อการขูดขีด และทนต่อตัวทำละลาย แต่จะมีกลิ่นของ Formalin ค่อนข้างแรง และจะเกิดการกระเทาะ (รอยร้าว) ได้เมื่อนำมาอบหรือใส่ในตู้อบ ซึ่งสารเคลือบผิวชนิดนี้ ยังคงมีใช้กันอยู่ ในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ด้านกรอบรูป
5. ทีค ออยล์ (TEAK OIL)
เป็นน้ำมันที่ช่วยรักษาเนื้อไม้ ซึ่งซึมเข้าไปบนเนื้อไม้ได้ดี เพื่อช่วยให้สภาพผิวไม้สวยงามและ มีความคงทน จะไม่มีเนื้อฟิลม์ปิดผิว เหมือนสีประเภทอื่นๆ ปัจจุบัน นิยมใช้กับงานไม้สัก ที่ชอบเนื้องานแบบดิบๆ หลายๆ ท่าน ยังแนะนำให้ใช้สีประเภทนี้ สำหรับการรักษาเนื้อไม้อยู่ แต่ผมขอเตือนให้ระวังนิดนึง สำหรับการเลือกใช้ ต้องเลือกใช้ ให้ถูกลักษณะงานด้วย อย่างที่บอกไว้ว่า สารประเภทนี้ จะเป็นลักษณะน้ำยารักษาเนื้อไม้ ไม่ใช่สารเคลือบผิว เหมือนสีต่างๆ เพราะฉนั้น การที่จะใช้สารตัวนี้ ให้เกิดผลดีมากที่สุด ควรใช้กับชิ้นงาน ที่มีความหนาไม่มาก, ความชื้นในเนื้อไม้ไม่สูง หรือความชื้นคงที่แล้ว เวลาใช้งานอย่าเสียดาย เพราะสารตัวนี้
จะต้องซึมลงไปในชั้นไม้ ยิ่งซึมลงไปได้เยอะมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น ชิ้นงานหนา, ความชื้นมาก จะเป็นอุปสรรคของการซึมเข้าของสารชนิดนี้ครับ
6.สีแลคเกอร์
ทำจากไนโตรเซลลูโลส และ เรซิ่นสังเคราะห์ มีคุณสมบัติแห้งเร็ว วิธีการใช้งานง่าย ทนต่อสภาพภูมิอากาศ ทนต่อสารเคมีบางชนิด มีความแข็งแรงทนต่อการขีดข่วนได้พอสมควร ไม่เหมาะสำหรับใช้ภายนอก เพราะสีจะเหลืองง่าย และมักติดไฟได้ง่าย
สีแลคเกอร์ เป็นสีที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในงานเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจาก เนื้อสีมีน้ำหนักเบา, หาซื้อได้ง่าย และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง
7. สีอคิลิค แลคเกอร์
ทำจากอคิลิคเรซิ่น มีคุณสมบัติแห้งเร็ว ใช้ง่าย ทนต่อสภาพภูมิอากาศ กันขูดขีดได้ดีกว่าแลคเกอร์ นอกจากนี้ ยังทนต่อแสงแดดได้ดี ทำให้ฟิลม์ไม่เปลี่ยนสี หรือเหลืองขึ้น จึงนิยมใช้กับชิ้นงานพวกไม้มะปิน,ไม้ยางพารา หรือไม้เนื้อขาวทุกชนิด แต่ราคาค่อนข้างสูงกว่าแลคเกอร์ จึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน จะหลีกเลี่ยง ไปใช้สีประเภท PU หรือ PE แทน
8.สีโพลียูรีเทน
โพลียูเรเทน เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง โพลีไอโซไซยากับโพลีออล มีความแข็งแรงมาก ทนต่อการขูดขีดทนต่อสารเคมีได้ดี และมีเนื้อมาก สามารถเคลือบได้ครั้งละหนา ๆ ฟิล์มที่ได้มีความแข็งและเหนียว,ทนต่อการขัดสีสูง มีการยึดเกาะผิวหน้าดี,ทนต่อตัวทำลาย และทนต่อสภาพภูมิอากาศได้ดี มักนิยมใช้กับงานพื้นปาร์เก้, พื้นไม้จริง, ชิ้นส่วนงานเฟอร์นิเจอร์ส่งออกบางแห่ง ที่ต้องสัมผัสบ่อยครั้ง เช่น พื้นโต๊ะทานข้าว, พื้นบนตู้วางทีวี
9.สีโพลีเอสเตอร์
เป็นสี ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากสารโพลีเอสเตอร์เรซิ่น มีความทนทานของพื้นผิว อยู่ในระดับสูง เนื้อสี มีความหนักมาก ขั้นตอนการพ่นแต่ละขั้น จะต้องทิ้งไว้ให้แห้ง อย่างน้อย 4 ชม. ถึงจะสามารถดำเนินการผลิต ในขั้นตอนต่อไปได้ แต่โดยส่วนใหญ่ จะถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจาก ภายในส่วนประกอบของเนื้อสี เมื่อสัมผัสกัน สามารถเกิดปฏิกริยาสันดาบความร้อน เกิดเป็นเพลิงลุกไหม้ได้ ยังมีสีอีกประเภท ยังไม่เคยได้ใช้งานมาก่อน นั่นคือ สี UV เท่าที่ทราบ จะต้องผ่านการพ่นสี ในแต่ละขั้นตอน จะต้องเข้าไปอบสี โดยผ่านเครื่องอบแสง UV ซึ่งกินค่าไฟฟ้ามาก ส่วนอีก 3 ประเภท ที่เหลือ จะเป็นสีไร้สารพิษ ที่มีกระแสนิยมเข้ามา บางประเภทมีการใช้งานมานานแล้ว แต่บางประเภท ก็เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมา
10. สีวอเตอร์เบส
สีชนิดนี้ จะถูกใช้งาน ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตของเล่นเด็ก ซึ่งเป็นสีที่ใช้น้ำ เป็นตัวทำละลายแทน สารเคมี กระบวนการขัด, ทำสี จะใช้เครื่องจักร แตกต่างจากการทำสีทั่วไป
11. สีแลคเกอร์ NTX และสีโพลียูรีเทน NTX
เป็นสีที่ถูกพัฒนาขึ้นมา จากกระแส Think Earth ซึ่งจะลดสัดส่วนของส่วนผสมสารมีพิษต่างๆ ลง เพื่อให้เกิดสารระเหยน้อยที่สุด เช่น โทลูอีน, ฟอร์มาดีไฮด์, ตะกั่ว ฯลฯ
ปัจจุบัน โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ที่ต้องส่งออกไปยังต่างประเทศ จะมีการใช้งานสีประเภทนี้ เกือบทั้งหมด ณ.ตอนนี้ ยังขาดเพียง สี PE ที่โรงงานต้องการ ซึ่งยังไม่สามารถพัฒนา เป็นสี ประเภท NTX ได้ เนื่องจาก คุณสมบัติบางตัว ของสารเคลือบแข็ง ยังต้องมีสารฟอร์มาดีไฮด์ผสมอยู่
ข้อดีของการทำเฟอร์นิเจอร์ Built-in
- สามารถออกแบบและกำหนดวัสดุคุณภาพที่ต้องการได้
- พอดีกับพื้นที่และออกแบบปิดพื้นที่ที่ไม่สวยงามของโครงสร้างอาคารได้
- ไม้โครงและไม้อัดจะมีการใช้งานที่ทนทานกว่า และทนความชื้นมากกว่างานประเภทไม้ Mdf หรือ พาทิเคิลบอร์ด
ข้อเสียของการทำเฟอร์นิเจอร์ Built-in
- ใช้ระยะเวลาในการทำนานกว่าเฟอร์นิเจอร์ประเภท knock-down
- หากทำที่หน้างานจะมีปัญหาเรื่องฝุ่น และกลิ่นสีรบกวน ยิ่งถ้ามีผู้อยู่อาศัยอยู่ในอาคารนั้นด้วยจะเกิดความรำคาญเป็นอย่างมาก
- หากไม่ออกแบบไว้ก่อน อาจได้เฟอร์นิเจอร์ตามแบบของช่างซึ่งใช้แบบจากประสบการณ์ส่วนตัว
ราคาของงานเฟอร์นิเจอร์ Built-in ช่างจะคิดราคา 2 แบบ
1.แบบแรกคือคิดโดยคำนวนจากต้นทุนวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรงช่าง กำไร ค่าขนส่งต่างๆ
2.แบบที่สอง คือคิดเป็นราคาต่อเมตร โดยวัดที่ความยาวของเฟอร์นิเจอร์ เพื่อให้ตีราคาได้เร็ว
วัสดุที่ช่างต้องแจ้งประกอบกับราคา ได้แก่
- ชนิดของไม้โครงที่ใช้
- ชนิดและความหนาของไม้อัดที่ใช้
- ชนิดของสีที่ใช้
- อุปกรณ์บานพับ รางเลื่อน หากเป็นระบบ Soft-Close ราคาจะเพิ่มขึ้นจากราคาปกติ
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม