ฉนวนกันความร้อน (Sound insulation) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

ฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อนคืออะไร คือวัสดุที่สามารถสกัดความร้อนไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่น ๆ โดยมีลักษณะเบา ประกอบด้วยฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมากซึ่งมีคุณสมบัติสกัดกั้นความร้อนให้อยู่ในฟองอากาศ จึงไม่นำพาความร้อนไปยังส่วนอื่น ๆ ซึ่งในด้านการตกแต่งบ้าน นิยมนำมาใช้ติดตั้งไว้บนโครงหลังคาบ้าน เพื่อลดความร้อนแรงของแสงอาทิตย์ไม่ให้ส่งผ่านเข้ามาในบ้าน จนทำให้บ้านเกิดความร้อน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ติดตั้งบริเวณฝ้าเพดานได้เช่นกัน

ฉนวนแต่ละชนิด จะมีการต้านทานความร้อนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งฉนวนที่ดีจะต้องต้านทานความร้อนที่ผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งให้ลด ลงเหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ ถ้า ค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อน ( ค่า K) ยิ่งน้อย แสดงว่าเป็นฉนวนที่สามารถต้านทานความร้อนได้ดีกว่า

ตารางเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อนของวัสดุชนิดต่างๆ

ที่มา : คุ่มือวิชาการของสถาบันวิศวกรรมความร้อน ความเย็น และระบบปรับอากาศ แห่งสหรัฐอเมริกา (ASHRAE Handbook)

คุณลักษณะของฉนวนกันความร้อน

ตารางเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อนของวัสดุชนิดต่างๆ

จากตารางจะเห็นว่า โฟมพียู มีค่าการนำความร้อนน้อยกว่าวัสดุชนิดอื่น หรือพูดอีนัยหนึ่งว่าโฟมพียูมีความต้านทานความร้อนได้ดีกว่า

ทำไมห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศจึงควรบุฉนวน?

หากความร้อนเข้าสู่อาคารมาก ๆ จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ก็จะสูงตามไปด้วย เมื่อบุฉนวนจะช่วยป้องกันความร้อนและอุณหภูมิจากแสงอาทิตย์ในตอนกลางวัน อีกทั้งในตอนกลางคืนก็ยังสามารถช่วยให้ความร้อนจากอุณหภูมิภายนอกที่สูงกว่า ถ่ายเทเข้าไปในห้องได้น้อยลง พร้อมทั้งเก็บรักษาความเย็นไว้ได้นานอีกด้วย จึงเป็นการลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศเท่ากับช่วยประหยัดค่าไฟ และช่วยลดการสึกหรอจากการใช้เครื่องปรับอากาศให้สามารถใช้งานได้นาน

ท่าน ทราบไหมว่าเครื่องปรับอากาศที่ท่านใช้อยู่นั้น ทำหน้าที่ดึงเอาความร้อนจากคนที่อาศัยอยู่ในห้องไม่ถึงร้อยละ 10 แต่จะดึงเอาความร้อนที่ถ่ายเทเข้ามาตามฝาผนัง ฝ้าเพดาน หน้าต่างกระจก และรอยรั่วของประตูหน้าต่างถึงประมาณร้อยละ 80-90 ดังนั้นหากสามารถลดความร้อนที่ผนังและฝ้าเพดาน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ลงได้แล้ว ท่านจะสามารถลดขนาดของเครื่องปรับอากาศลงได้ และลดค่าไฟลงได้อีก

 

      หลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุฉนวนกันความร้อน คือความสามารถในการป้องกันความร้อน (R-Value)  ช่วงอุณหภูมิการใช้งาน การเปลี่ยนรูปร่างเมื่อได้รับความร้อน การกันน้ําและความชื้น การทนต่อแมลงและเชื้อรา ความปลอดภัยต่อสุขภาพ  การเสื่อมสภาพ และการบํารุงรักษา ซึ่งต้องเลือกให้เข้ากับลักษณะและประเภทของการใช้งาน เพียงเท่านี้ก็ทําให้คุณสามารถเลือก วัสดุฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม และสามารถ  ช่วยประหยัดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยของคุณได้

 

ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด

1.อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)
          เป็นแผ่นเคลือบอะลูมิเนียมที่ถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี มีความเหนียวคงทนไม่ขาดง่าย ราคาประหยัด ใช้คู่กับอะลูมิเนียมฟอยล์เทปในการติดตั้ง ราคาเริ่มต้น ม้วนละ 1,000 บาท ตามขนาดและคุณสมบัติ

2.โฟมโพลียูริเทน (Polyurethane)

โฟมชนิดนี้เรียกกันสั้น ๆ ว่า โฟม PU  เป็นวัสดุป้องกันความร้อน-เย็น รั่วซึม  และลดเสียงดังได้ดี โดยโครงสร้างเป็นเซลล์ปิด( Closed Cell)  มีช่องอากาศเป็นโพรง เรียกว่า Air  Gap เป็นจำนวนมาก ติดตั้งโดยวิธีฉีดพ่นไปยังวัตถุ เช่น  ไม้  โลหะ  อิฐ  คอนกรีต  แก้ว  พลาสติก  กระดาษ  

กระเบื้อง  ยิปซั่ม เป็นต้น เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเรื่องระบายความร้อน แต่ข้อเสียคือมีจุดหลอมเหลวต่ำ หากโดนอุณหภูมิร้อนจัดอาจทำให้เปลี่ยนสภาพได้  การฉีดพ่นหากช่างพ่นไม่ดีทำให้ฉนวนฟุ้งกระจายเลอะเทอะได้

ฉนวน P.U.FOAM  เป็นเนื้อเดียวกับวัสดุ ไร้รอยต่อของฉนวน  สามารถกำหนดความหนาของเนื้อโฟมได้ตามต้องการ ทำให้สามารถลดความร้อนได้มาก

• สามารถลดการแผ่รังสีจากแสงแดดซึ่งผ่านทางหลังคาได้มากกว่า 90%
• สามารถป้องกันเสียงรบกวน กันซึม กันรั่ว กันร้าว กันความชื้น และกันสนิมได้เป็นอย่างดี เพราะติดแน่นเป็นงานชิ้นเดียวกับหลังคา
• ใช้ได้ดีกับหลังคาทุกประเภท เช่นกระเบื้อง สังกะสี อลูมิเนียม คอนกรีต เหล็ก
งานอุตสาหกรรมห้องเย็น  และเครื่องปรับอากาศ
• สามารถหุ้มผนังห้องเย็นได้ทุกด้าน เพื่อกันการสูญเสียความเย็นจากผนังห้องเย็นจึงเป็นการรักษาความเย็นให้คง สภาพในอุณหภูมิต่ำ  ได้เป็นระยะเวลานาน ตลอดจนการหุ้มท่อลมเย็น ท่อน้ำเย็น  ไม่ให้สูญเสียความเย็นระหว่างทางของท่อ
• นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับงานเครื่องปรับอากาศ   เครื่องทำน้ำเย็นที่เกี่ยวกับถาดน้ำทิ้ง  ท่อลมเย็น ท่อน้ำเย็น ฯลฯ  งานเรือประมง  เรือเดินทะเล  หุ่น  แพ  ลูกลอย  เป็นต้น

ราคาเริ่มต้น ประมาณ 300 บาทขึ้นไปต่อตารางเมตร

บริษัทที่รับฉีดโฟม : บ.พี.ยู.โฟม อินซูเลชั่น แอนด์ ซัพพลาย จำกัด  บ. เอส เอฟ. อินซูเลชั่น จำกัด , บริษัท สมาร์ทแมททรีเรียล แอนด์ เซอร์วิส จำกัด , MP-Multiply,  บริษัท ณรงค์ฤทธิ์ จำกัด ,  บริษัท ดี.ดี. อินซูเลชั่นแอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด

3.ฉนวนใยแก้ว (Microfiber)

ประกอบด้วยเส้นใยไฟเบอร์เล็ก ๆ มีประสิทธิภาพทนความร้อนสูง จึงสามารถช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้มาก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติกันเสียงรบกวนได้ จึงช่วยให้ไม่รบกวนในยามฝนตก รวมถึงป้องกันความชื้นสูง มีความยืดหยุ่นได้ดีเมื่อถูกกดทับจะสามารถคืนตัวได้เร็ว มีน้ำหนักเบา ทนทาน ไม่เสื่อมสภาพ และป้องกันแมลงหรือเชื้อราได้ ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ ม้วนละ 1,500 บาทขึ้นไป ตามขนาดและคุณสมบัติ

4.ฉนวนใยหิน (Mineral Wool)

ฉนวนใยหินผลิตจากการหลอมหินที่อุณหภูมิมากกว่า 1000°C แล้วปั่นเป็นเส้นใยของหิน  มีคุณสมบัติไม่ติดไฟ ดูดซับเสียงได้เป็นอย่างดี  ไม่ดูดซับน้ำจึงทำให้ไม่ขึ้นราและยากต่อการผุพัง  ใช้สำหรับการติดตั้งใต้หลังคาบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน อย่างไรก็ตามฉนวนจากแร่ใยหินประเภท Asbestos ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถูกห้ามใช้ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ส่วนใยหินไครโซไทล์ประเทศไทยมีการใช้มาแล้ว 77 ปี ตั้งแต่ปี 2481ยังไม่มีผลการศึกษาทางวิชาการชัดเจนว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและ คนงานในโรงงานที่ใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ เป็นวัตถุดิบ

ราคาโดยประมาณ 1400 บาทขึ้นไปต่อม้วน

5.ฉนวนใยเซลลูโลส (Cellulose)

ใยเซลลูโลส เป็นฉนวนกันความร้อนที่ผลิตจากการนำไม้หรือกระดาษที่ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยการแผ่และดึงให้กระจายออก ทำการย่อยจนละเอียด จากนั้นทำการประสานเข้าด้วยกันกับบอแรกซ์  ส่วนผสมทั้งสองนี้จะช่วยให้มีสภาพต้านทานการลุกไหม้ และการดูดซับความชื้น   การใช้งานอาจใช้การเทบรรจุเข้าในช่องผนัง หรือใช้เป็นฉนวนแผ่นบนเพดาน ของอาคาร หรือแบบฉีดพ่น ใต้หลังคาและดาดฟ้า

นอกจากนี้เซลลูโลสยังใช้เป็นฉนวนป้องกันเสียง ได้เป็นอย่างดี เพราะโครงสร้างถูกออกแบบเป็นรูพรุนลักษณะคล้ายผ้าห่ม หรือรังไข่

ข้อจำกัดของเซลลูโลส  คือ

1.การควบคุมความหนาแน่นไม่ได้มาตรฐานตามกำหนด ทำให้ฉนวนยุบตัวลงทีละน้อยทั้งจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง การสั่นสะเทือน หรือความชื้น ทำให้การนำความร้อนลดลง

2. เป็นเส้นใยธรรมชาติ จึงติดไฟได้ ส่วนจะลุกไหม้ได้เร็วแค่ไหน  ขึ้นอยู่กับปริมาณการใส่สารไม่ลามไฟ

3.มีโอกาสหลุดล่วงได้

4.ไม่ทนน้ำและความชื้น

 

6) แคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate)

เป็นฉนวนที่เหมาะกับงานอุตสาหกรรมที่ใช้อุณหภูมิสูง คุณสมบัติ ไม่ทำให้เกิดการสันดาป ป้องกันไฟ ไม่มีสารพิษ ไม่ผสม Asbestos มีทั้งแบบเป็นใยแร่ และเส้นใยสังเคราะห์ Calcium silicate เกิดจากความร้อนค่อนข้างต่ำ ทำให้มีความสามารถในการปรับตั้งค่าในแต่ละอุณหภูมิได้รวดเร็วตามสภาพงาน ซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน Calcium silicate ประกอบด้วยไฮดรัสแคลเซียมซิลิเกต โดยระหว่างกรรมวิธีการผลิตไอน้ำจะเปลี่ยนรูปเป็นหินปูนและซิลิกาไปเป็นไฮดรัสแคลเซียมซิลิเกต ซึ่งเป็นวัสดุที่ แข็งแรงทนทานนิยมนำไปใช้ในการหุ้มท่อและภาชนะในกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ มีอุณหภูมิสูงและจำเป็นต้องใช้วัสดุที่มีความทนต่อแรงอัดสูงอีกด้วย

7) เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite)

ทำมาจากแร่ไมก้า ซึ่งมีลักษณะเป็นเกล็ดๆคล้ายกระจก  โดยมีน้ำเป็นส่วนประกอบ  ในกระบวนการผลิตอานุภาพของแร่ไมก่จะได้รับความร้อนอย่างรวดเร็ว เกิดการร่อนเป็นเกล็ด 

การนำมาใช้งานเป็นฉนวนกันความร้อนแบบเทบรรจุเข้าไปในบล๊อคหรือโพรงผนัง  ถ้านำไปผสมกับปูนซีเมนต์หรือทราย ก็จะเป็นคอนกรีตเวอร์มิคูไลท์ที่มีสภาพการนำความร้อนต่ำกว่าคอนกรีตปกติถึง 10 เท่า โดยปกติจะผสมเคมีบางชนิด  เพื่อใช้พ่นกันไฟให้กับโครงสร้างเหล็ก ปัจจุบันในเมืองไทยมีการบังคับใช้ นิยมใช้ในยุโรปและอเมริกา

เซรามิคโค้ดติ้ง (Ceramic Coating)

ฉนวนสีสะท้อนความร้อน Ceramic Coating คือ ฉนวนกันความร้อน ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมีส่วนประกอบของเม็ดเซรามิคโบโรซิลิเกต (Ceramic Borosilicate) ซึ่งมีส่วนผสมของสารต่อต้านความร้อนรูปทรงกลมที่เรียกว่า ไมโครสเฟียร์เซรามิค  (Microspheres Ceramic) ที่มีลักษณะเดียวกับวัสดุเซรามิค (แผ่นเซรามิค) ที่ติดตั้งบนกระสวยอวกาศขององค์กรอวกาศ (NASA) ที่ใช้เป็นฉนวนป้องกันรังสีความร้อน Ceramic Coating มีส่วนผสมของ อิมัลชั่นบิทุเมนเหลวเสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์, สารอะครีลิคโพลิเมอร์เรซิ่นและไททาเนียมไดอ๊อกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการด้านทานรังสีอัลต้าไวโอเลต ช่วยป้องกันรักษาหลังคาและผนังอาคารให้มีอายุทนทานยาวนาน รวมทั้งยังได้ผ่านการทดสอบในห้องปฎิบัติการ ว่ามีคุณสมบัติในการทานต่อสภาพบรรยากาศทนต่อสารเคมี กรดและด่างมากมายหลายชนิด มีส่วนผสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (NON TOXIC)ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะของเหลว (LIQUID STATE) หรือเมื่อแห้งเป็นชั้นฟิล์ม (DRY FILM)

คุณสมบัติของฉนวนสีสะท้อนความร้อน
•  มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนสูง ดูดซับความร้อนต่ำ กระจายความร้อนได้ดี
• จะช่วยลดอุณหภูมิในตัวอาคาร ช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง
• ป้องกันรังสี UV  ให้สีบ้านสวยสดใสเหมือนใหม่อยู่เสมอ
• มีค่าความยืดหยุ่นสูงยึดเกาะกับผิวได้ดี จึงช่วยป้องกันการแตกร้าวของหลังคาทำให้อายุการใช้งานของหลังคายาวนานขึ้น
•  ป้องกันน้ำ จึงทำให้น้ำไม่สามารถไหลผ่านรั่วซึมเข้ายังตัวอาคารได้
•  มีส่วนผสมของสารเคมีที่ช่วยต่อต้านการเกิดรา จึงทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อราเหล่านี้เป็นไปอย่างยากลำบาก
•  ไม่หลุด ร่อน บวม หลังจากการพ่น Ceramic Coating ไปแล้ว 21 วัน

• ไม่ติดไฟและไม่มีสารพิษ ( Non Toxic ) ต่อสุขภาพและร่างกายหรือสิ่งแวดล้อมโดยเด็ดขาด
• ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
สามารถติดตั้งโดยการใช้แปรงทา, ลูกกลิ้ง, หรือเครื่องพ่นแรงดันสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะงานและพื้นที่ ๆ ทำการติดตั้ง

 

ตารางสรุปประเภทฉนวน กันความร้อน - ความเย็น และคุณสมบัติ 

ตารางสรุปประเภทฉนวน กันความร้อน - ความเย็น และคุณสมบัติ 

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ