อาคารกระจกที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ประวัติศาสตร์ด้านโสตทัศน์ของชาวดัตช์ "Netherlands Institute for Sound and Vision"

"Netherlands Institute for Sound and Vision" ออกแบบโดย Riedijk Architects มีขนาดพื้นที่การใช้งานมากกว่า 300,000 sqft  ซึ่งถูกออกแบบให้มีพื้นที่การใช้งานแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆที่มีความแตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย

1. คลังข้อมูลภาพ และเสียง หรือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติที่มีการผลิตโสตทัศน์ทั้งหมดตั้งแต่วันแรกที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ และวิทยุของชาวเนเธอร์แลนด์

2. สถานีโทรทัศน์ และวิทยุสำหรับประชาชน

3. สถาบันวิจัยมืออาชีพในด้าน Sound and Vision

 

รูปภาพประกอบโดย www.architizer.com

คลังข้อมูลภาพ และเสียง  เป็นพื้นที่การใช้งานที่ต้องควบคุมสภาพอากาศอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาข้อมูลภาพ และเสียงที่มีอยู่ไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยมีลักษณะเป็นพื้นที่ชั้นใต้ดิน 5 ชั้น โดยโถงของห้องจัดแสดงนิทรรศการจัดอยู่ในรูปทรง Ziggurat ขนาดใหญ่ในบริเวณพื้นที่ใจกลางอาคาร และส่วนสำนักงานของสถาบันวิจัยก็ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านข้างที่สามารถเชื่อมต่อเข้าถึงกันได้โดยสะดวก

ซึ่ง Space ภายในพื้นที่ทั้ง 3 ส่วนนี้มีรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่มีความสัมพันธ์กับ Space หลักของอาคาร ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปลูกบาศก์ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมกินเนื้อที่ทั้งในระดับใต้ดิน และเหนือระดับดิน  โดยมีโถงขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมต่อเข้าถึงพื้นที่ทุกส่วนของอาคารได้อย่างสะดวก และจัดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับผู้เข้าชม และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถใช้พื้นที่ส่วนกลางในการทำงานร่วมกัน และจัดกิจกรรม หรือ นิทรรศการต่างๆได้อีกด้วย

รูปภาพประกอบโดย www.architizer.com

จากประตูทางเข้า ผู้เข้าชมจะได้รับคำแนะนำให้เดินผ่านสะพานข้ามหุบเขาลึก(หอจดหมายเหตุใต้ดินลึก 5 ชั้น) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพื้นที่ของหอจดหมายเหตุ  ซึ่งในอีกด้านหนึ่งของหุบเขาถูกตกแต่งด้วยผนังที่โปร่ง และมีหน้าต่างโทนสีส้มที่แสงสามารถส่องผ่านเข้ามาได้ ในบรรยากาศที่แปลกตาพิศวงราวกับว่าเสียง และภาพที่จัดเก็บไว้ในคลังหอจดหมายเหตุได้พูดคุยกับผู้เยี่ยมชมจากภายในคลัง และในอีกด้านหนึ่งของหุบเขาถูกออกแบบให้เป็นระเบียงแบบอินเวิร์ดที่มีสตูดิโอสำหรับนักวิจัยมืออาชีพ โดยแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน สามารถส่องแสงทะลุผ่านหลังคากระจก Skylight ผ่านเข้ามาได้ไปจนถึงระดับต่ำสุดของห้องใต้ดิน 

รูปภาพประกอบโดย www.architizer.com

Facade กระจกสีพิมพ์ลวดลายกราฟิกจำนวนกว่า 2,100 ชิ้น ออกแบบกราฟิกโดย Jaap Drupsteen โดยแสงที่ส่องผ่านหน้าต่างกระจกสีแบบร่วมสมัย จะทำให้อาคารมีบรรยากาศที่อ่อนนุ่ม เบา และสะท้อนแนวคิดด้านวิวัฒนาการภาพ และเสียงได้อย่างมีเสน่ห์ ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประวัติศาสตร์ด้านโสตทัศน์ของชาวเนเธอร์แลนด์

รูปภาพประกอบโดย www.architizer.com

ในปัจจุบันกระจกพิมพ์ลายระบบดิจิตอล จัดเป็นเทรนด์ล่าสุดที่จะทำให้กระจกแตกต่างจากที่เคยเป็น ด้วยไอเดียจินตนาการ และสีสันที่เลือกได้ไม่จำกัด กับเทคโนโลยีการพิมพ์กระจกยุคใหม่ที่ก้าวล้ำทันสมัย จึงทำให้กระจกสามารถสร้างสรรค์สีสันได้หลากหลายลวดลาย มีความคงทนถาวรตลอดอายุการใช้งาน และตอบโจทย์ของการมิกซ์แอนด์แมทช์ สำหรับผู้ที่ชอบคิดค้นรูปแบบของลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ได้อย่างไม่จำกัด

รูปภาพประกอบโดย www.architizer.com

รูปภาพประกอบโดย www.architizer.com

#Wazzadu #TheNewWayofInteriorandArchitectureDesign #tyk #Glassform #Glass #Picxelglas #idea #InteriorDesign #กระจกพิมพ์ลายดิจิตอล

TYK
Because "I love glass" ที่กลาสฟอร์ม พวกเรารักและให้ความใส่ใจกับกระจกทุกแผ่น เพราะเรามองกระจกเป็นมากกว่าวัสดุตกแต่งทั่วไป เพราะเราเห็นความสวยงามในการสร้างสรรค์ผลงานกระจก และเพราะเราเห็นรอยยิ้มของลูกค้าที่เกิดจากการใช้สินค้าของเรา ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ