เปรียบเทียบคุณสมบัติกระเบื้องพอร์ซเลน กระเบื้องดินเผา และกระเบื้องหินอ่อน

หากกล่าวถึงวัสดุที่ใช้ตกแต่งพื้น ตกแต่งผนังให้ดูสวยงามมากขึ้น มีความแข็งแรงทนทาน สามารถติดตั้งได้ทั้งกับภายในอาคารและภายนอกอาคาร อย่างเช่น “กระเบื้อง” ทว่าในแต่ละประเภทของกระเบื้องนั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง สำหรับบทความตอนนี้ Wazzadu.com มีการเทียบสเปคให้เห็นความแตกต่างของ 3 ประเภทด้วยกัน ก็คือ กระเบื้องพอร์ซเลน กระเบื้องดินเผา และกระเบื้องหินอ่อน ครับ จะเป็นอย่างไรติดตามกันต่อได้เลย

กระเบื้องพอร์ซเลน (Porcelain Tile)

กระเบื้องประเภทนี้ทำมาจากดินพอร์ซเลนหรือดินขาวที่มีความละเอียดในเนื้อดินสูง เผาไฟในอุณหภูมิ 1,200°c ขึ้นไป จึงมีความแข็งแกร่งและทนทานมากที่สุด อีกทั้งการเผาไฟที่อุณหภูมิสูงมากทำให้กระเบื้องพอร์ซเลนมีอัตราการดูดซึมน้ำไม่ถึง 1% จึงใช้งานติดตั้งบริเวณโซนเปียกของห้องน้ำได้ เพื่อป้องกันความชื้นที่อาจสะสมอยู่ตามพื้นและผนังของห้อง

นอกจากนี้กระเบื้องพอร์ซเลนยังมีอีกหลายชื่อ อาทิ Granite (แกรนิต), Granito (แกรนิตโต้), Homogeneous (โฮโมจีเนียส) ซึ่งทั้งหมดผลิตมาจากดินพอร์ซเลนเช่นเดียวกัน

 

คุณสมบัติของกระเบื้องพอร์ซเลน :

- มีความแข็งแรงและความทนทานสูง สามารถรับน้ำหนักได้มากจนใช้ปูพื้นที่จอดรถได้

- พื้นผิวทนต่อการขีดข่วนเป็นรอยและยังทำความสะอาดง่าย

- เนื่องจากมีการดูดซึมน้ำที่น้อยมาก จึงไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เชื้อราและความชื้น อีกทั้งไม่เกิดคราบตะไคร่น้ำรวมถึงตัววัสดุไม่บิดตัวหรือบวมพอง

- มีลวดลายและสีสันให้เลือกหลากหลาย โดยมีลวดลายส่วนใหญ่คล้ายหินธรรมชาติ แต่ปัจจุบันกระเบื้องพอร์ซเลนสามารถพิมพ์ลายเลียนแบบวัสดุอื่นได้

 

การนำไปใช้งาน : สามารถใช้งานตกแต่งพื้น ผนังได้ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร

กระเบื้องดินเผา (Earthenware Tile)

ประเภทกระเบื้องที่ใช้มาตั้งแต่สมัยก่อน ใช้ติดตั้งตามหลังคาและพื้นบริเวณระเบียงบ้าน กระเบื้องดินเผามีลักษณะเป็นสีแดงส้มหรือสีออกคล้ายๆ อิฐมอญ กระเบื้องดินเผาทำมาจากกลุ่มดินเหนียว ใช้วิธีการเผาด้วยเทคนิคแบบดั้งเดิมที่อุณหภูมิไฟ 1,000°c ขึ้นไป มีความแข็งแรงที่น้อยกว่ากระเบื้องพอร์ซเลนและมีอัตราการดูดซึมน้ำสูง ราวๆ 15-22%

ลักษณะโครงสร้างของวัสดุมีรูพรุนมากจึงทำให้เกิดโอกาสยืดตัวหรือหดตัวสูง หากโดนความชื้นและความร้อนเป็นเวลานาน รวมถึงแตกหักง่าย ผุกร่อนและถูกกัดเซาะได้ง่าย

 

คุณสมบัติของกระเบื้องดินเผา :

- มีความแข็งแรงและความทนทานปานกลาง แนะนำให้เลือกใช้ปูพื้นในพื้นที่ที่ไม่รับน้ำหนักมากนัก

- พื้นผิวมีทั้งแบบผิวเคลือบเงาและพื้นผิวสีธรรมชาติ

- เนื่องจากมีการดูดซึมน้ำที่สูงมาก มีโอกาสทำให้กระเบื้องล่อนได้ง่ายและถ้าเว้นระยะห่างในการปูกระเบื้องไม่ดี อาจทำให้กระเบื้องบวมและแตกได้

- ทำความสะอาดยากและสกปรกง่าย

 

การนำไปใช้งาน : นิยมใช้ปูพื้นตามโซนนอกอาคาร อย่าง ระเบียง เฉลียง สวนหย่อม เพื่อตกแต่งให้เข้ากับธรรมชาติ

กระเบื้องหินอ่อน (Marble Tile)

สำหรับกระเบื้องประเภทสุดท้าย กระเบื้องหินอ่อนทำมาจากหินอ่อน ซึ่งหินอ่อน คือหินเนื้อละเอียดที่เกิดจากการตกผลึกตามธรรมชาติ จากการทับถมของชั้นแคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) ที่สะสมอยู่ตามแหล่งธรรมชาติ เป็นกระเบื้องที่แสดงถึงลวดลายแบบดั้งเดิมของหินที่ตัดแบ่งมาทำกระเบื้อง ให้ความรู้สึกที่หรูหราและดูทันสมัย

กระเบื้องหินอ่อนมีความแข็งแรงมากที่สุด เมื่อเทียบกับกระเบื้องอีก 2 ประเภทก่อนหน้านี้ และหินอ่อนเป็นวัสดุที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ถ้าดูแลอย่างสม่ำเสมอจะใช้งานได้หลายร้อยปี ตามที่พบเห็นในสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น นำหินอ่อนไปตกแต่งปราสาทหรือพระราชวัง เป็นต้น

 

คุณสมบัติของกระเบื้องหินอ่อน :

- มีความแข็งแรงสูงมาก ตัววัสดุไม่ผุ ไม่บวม ไม่กรอบ ไม่ขึ้นสนิม

- มีความทนทานปานกลาง ไม่ค่อยทนต่อรอยขีดข่วนและไม่เหมาะในการติดตั้งบริเวณที่โดนแสงแดดจัด เพราะแสงแดดสามารถทำให้สีของหินอ่อนซีดจางลง

- พื้นผิวเงางาม มีลวดลายของหินอ่อนจากธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

- ติดตั้ง และทำความสะอาดได้ง่าย

 

การนำไปใช้งาน : สามารถใช้งานตกแต่งพื้น ผนังได้ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร แต่ควรเลี่ยงบริเวณกลางแจ้งที่โดนแดดจัดๆ

 

นอกจากเรื่องคุณสมบัติของกระเบื้องแล้ว หากคุณอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอื่นๆ และองค์ความรู้ด้าน Architectural เพิ่มเติม คลิกเข้าไปอ่านตอนอื่นๆ ได้ที่ เพจ Encyclopedia ครับ 

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก :

https://casarocca.co.th

http://www.dfineconsultant.com

https://zmyhome.com

http://phueansang.com

http://www.thaiceramicsociety.com

 

รูปประกอบจาก :

https://www.archdaily.com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ