“Upcycling” การเปลี่ยนขยะให้เป็นของที่มีมูลค่าสูงกว่าเดิม ด้วยการพัฒนาของเหลือใช้ให้เป็นวัสดุสายกรีน

ในครั้งนี้ Wazzadu Low Carbon Material Library จะมาแชร์อีกไอเดียที่เราสามารถ reuse วัสดุเหลือทิ้งหรือขยะจากอุตสาหกรรมต่างๆ ผ่านการเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ที่ที่รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมและยังกลับมาเพิ่มมูลค่าให้แพงกว่าเดิมได้อีกครับ นั่นก็คือกระบวนการที่เรียกว่า “Upcycling” กระบวนการที่จะเสกขยะให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่า ไม่ได้ไร้ค่าอีกต่อไป

Upcycling คืออะไร?

จุดเริ่มต้นของ Upcycling หรืออีกคำที่อาจคุ้นเคย Upcycle มาจากแนวคิดที่ต้องการเพิ่มมูลค่าและลดการสูญเสียทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิต ขั้นตอนของการ Upcycling เป็นกระบวนการในการแปลงสภาพของวัสดุเหลือทิ้งหรือกากขยะต่างๆ นำมาเปลี่ยนให้เป็นวัสดุใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าเดิม

 

โดยคำว่า Upcycling มาจากคำว่า Upgrade ที่แปลตามตัวก็คือ การทำให้ดีขึ้นหรือการพัฒนาให้ดีขึ้น แล้วรวมกับคำว่า Recycling หรือ Cycle ที่หมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อวนกลับใช้งานอีกครั้ง จึงรวมกันคำว่า Up+Cycling = Upcycling

 

และด้วยนวัตกรรม Upcycling ที่ช่วยยกระดับการเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ จึงเกิดเป็นแนวทางให้กับธุรกิจใหม่ๆ ที่มีไอเดียเอาวัสดุเหลือใช้ให้กลับมามีคุณค่ามากยิ่งขึ้น โดยการ Upcycling เป็นแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและใส่ใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อช่วยลดพลังงานที่ใช้ผลิต จึงมักมีธุรกิจผลิตภัณฑ์แนว Eco Design หรือ Low Carbon Materials นำกระบวนนี้มาใช้เล่นแร่แปรธาตุ waste ให้เกิดเป็นวัสดุตกแต่งที่สร้างความสวยงามและยังรักษ์โลกในเวลาเดียวกัน

ขั้นตอนการทำ Upcycling มีอะไรบ้าง?

1. ออกแบบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ : วางแผนว่าจะใช้วัสดุอะไรเพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาแทนและจะมีประโยชน์ใช้สอยอะไรบ้าง เช่น การทำหนังเทียม, การทำวัสดุปูพื้นหรือตกแต่งผนัง, การทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

 

2. คัดเลือกวัสดุ : เริ่มจากเลือกสิ่งของหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง เช่น เศษอิฐ, เศษแก้ว, เศษกระเบื้อง, ขวดพลาสติก, กากหรือเปลือกจากผลไม้ โดยต้องเป็นวัสดุที่สามารถนำไปแปรรูปได้

 

3. การแปรรูป : ขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของแต่ละธุรกิจว่าจะมีการทำ R&D แล้วจะใช้วิธีไหนในการซ่อมแซมหรือสร้างวัตถุดิบจากการ upcycling ขึ้นมา

 

4. การผลิตผลงาน : เมื่อได้ Raw Material จากข้อ 3 มาแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการผลิตที่จะสร้างสรรค์ออกมาเพื่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ตามอย่างที่ได้ออกแบบไว้

 

5. ตรวจสอบคุณภาพ : และก่อนนำไปใช้งานจริงจะต้องตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้แน่ใจว่าใช้งานได้และมีคุณภาพที่ดี

 

6. ออกตลาดเพื่อจัดจำหน่าย : จนมาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่เป็นการหารายได้จากผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นผ่านขั้นตอนของ upcycling

และการทำ Upcycling ต่างจากการ recycle ที่นำวัสดุเก่ามาย่อยสลายเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เดิม ทำให้หลายปีมานี้มีบริษัท Startup ที่ใช้การ Upcycling เพิ่มมูลค่าเปลี่ยนกองขยะมาเป็นสินค้าใหม่ของแบรนด์ นอกจากจะเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากของเสียและช่วยลดขยะในเวลาเดียวกัน

 

สิ่งสำคัญเลย นี่ยังเป็นอีกวิธีที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรเก่าให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีก และสร้างระบบการจัดการของเหลือทิ้งอย่างเกิดประสิทธิภาพ รวมถึงลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการลดการผลิตให้เกิดวัตถุดิบใหม่และลดใช้พลังงานที่จะผลิตใหม่ครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://petromat.org

https://www.salika.co

https://www.innovator-x.com

 

ขอบคุณรูปประกอบจาก :

https://www.archdaily.com

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ