ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber cement) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

มาพบกันอีกแล้ว กับ WAZZADU Material Review (Fiber cement) - texture wood ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ (ไม้เทียม) คือ วัสดุทดแทนไม้จริง สามารถนำมาใช้ในส่วนต่างๆ ของบ้านหรืออาคาร ซึ่งวัสดุประเภทนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามกระบวนการผลิตและขึ้นรูป คือ ประเภทที่มีส่วนผสมของไม้จริงหรือไฟเบอร์ และประเภทที่ไม่มีส่วนผสมของไม้จริงเลย ผู้ผลิตได้พัฒนาไม้ชนิดต่างๆเพื่อตอบสนองการใช้งานและมีราคาที่หลากหลายให้เลือกใช้  ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบันมีไม้สำเร็จชนิดต่างๆให้เลือกอย่างมากมาย

บรรยากาศการตกเเต่งโซนพักผ่อน ที่ปูด้วยวัสดุปูพื้นไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์  ที่มีคุณสมบัติพิเศษที่คล้ายไม้จริง

บรรยาาศการตกเเต่งพื้นที่พักผ่อน ที่ตกเเต่งวัสดุไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ ด้วยลวดลายของผิวไม้ที่มีเสน่ห์เหมือนไม้จริง

ส่วนผสมไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์  (ไม้เทียม)

ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber cement) ไม้สังเคราะห์ คือ วัสดุทดแทนไม้ (หรือ “ไม้เทียม”) ที่มีไม้จริงในรูปแบบต่างๆ เช่น  เกล็ดไม้  ชิ้นไม้ขนาดเล็ก ผงไม้  เส้นใย  เป็นส่วนผสมร่วมกับวัสดุประเภทอื่นๆ โดยวัสดุที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า “วัสดุประกอบ” (Composite Materials) ซึ่งใช้ผลิตเป็นไม้สังเคราะห์ประเภทต่างๆ  เช่น  

- เส้นใยเซลลูโลสผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เรียกว่า ไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fibercement)

- ผงไม้ผสมกับพลาสติก เรียกว่า WPC หรือ Wood Plastic Composite

- ชิ้นไม้ขนาดเล็กผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เรียกว่า ไม้อัดซีเมนต์ หรือ แผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ความหนาแน่นสูง (Wood Cement Board หรือ Cement Bonded Particle Board)

ผงไม้และเส้นใยผสมกับกาวสังเคราะห์ เรียกว่า แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง (MDF หรือ Medium Density Fiber Board)

ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นไม้เทียมที่มีส่วนผสมของ ปูน,ทราย,ผงไม้ และนำมาผ่านกระบวนการอัดขึ้นรูป ในรูปแบบต่างๆซึ่งแตกต่างกันตามลักษณะการใช้งาน เช่น ไม้พื้น,ไม้ระแนง,ไม้เอนกประสงค์,ไม้บัว ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์เรา สามารถหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป ยี่ห้อที่พบได้ตามท้องตลาดเช่น ไม้คอนวูด,ไม้เฌอร่า,ไม้ตราช้าง

การใช้งาน

ไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นเพื่อทดแทนไม้จริง วัสดุชนิดนี้สามารถนำมาทดแทนการใช้ไม้จริงได้หลากหลาย เช่น งานทำพื้นไม้เทียม ,ระแนงไม้เทียม ,ไม้มอบ ,ไม้เชิงชาย ,ฝ้า และงานตกแต่งชนิดอื่นๆ ไม้เทียม หรือไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์นั้นจะผลิตจากปูน ,ทราย และเยื้อไม้โดยผ่านกรรมวิธีอัดแท่ง และอบเพื่อให้ได้ขนาดต่างๆตามการใช้งาน ฉะนั้นไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนตืจึงมีคุณสมบัติ ไม่บิดตัว ,ไม่ผุกร่อน ,ปราศจากพวกปลวก มอด แมลงต่างๆมารบกวน เพราะคุณสมบัติเหล่านี้ไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์จึงได้รับความนิยมอย่างสูงในงานตกแต่งบ้าน

ข้อดีของ ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์

1.หาง่าย ราคาถูกพบได้ตามร้านค้าวัสดุที่มีตามท้องตลาด

2.สามารถทำสี และเลือกสีให้เหมือนไม้จริงได้ บางทีมองไกลๆจนแยกไม่ออกว่าเป็นพื้นไม้เทียม

3.สามารถตัดแต่ง เจาะสกรูได้เหมือนไม้จริง

4.ปลวก และแมลงไม่กิน

5.ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ไม่หด บิด งอ ไม่ผุ เหมือนไม้จริง

ข้อเสียของ ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์

1  ต้องทำโครงรับถี่ เพราะเปราะหักง่ายไม่สามารถรับน้ำหนักหรือทำเป็นโครงสร้างได้เพราะไม่มีความ เหนียวเหมือนไม้จริง  แตกหักง่าย ถึงแม้จะแข็งแต่ตัวพื้นไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์จะเปราะ

2.หนัก เพราะมีส่วนผสมของปูน และทราย(ซิลิก้า)

3.ถึงแม้พื้นไม้สังเคราะห์ไฟ เบอร์ซีเมนต์จะทำสีเลียนแบบได้เหมือนไม้จริง แต่ต้องอาศัยคนฝีมือในการทาสีให้เหมือน ไม่อย่างงั้นงานจะออกมาเละเทะ(สีโปร่งแสงโชว์ลายไม้)

4.เหยียบหรือสัมผัสแล้วร้อนเพราะทำจากซีเมนต์

5.ทำสีมีโอกาสลอกได้ง่าย  ถ้าเป็นโดนขูดขีดก็จะเป็นรอยที่เห็นเป็นเนื้อปูนสีขาว  ขัดแก้ไขไม่ได้อย่างง่ายดายเหมือนไม้จริง   

คุณสมบัติเด่นที่น่าสนใจของไม้ สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์  

ผลิตภัณฑ์ไม้สังเคราะห์ชนิดนี้ ที่เหนือกว่าไม้จริง ก็คือ ปลวกไม่กิน ไม่หด ไม่บิดตัว  แต่ถ้าเทียบกับไม้จริงแล้ว คุณสมบัติอื่นๆที่ต่างจากไม้อย่างมากคือความเหนียว เพราะส่วนผสมของมันคือ ปูน กับ ไฟเบอร์  อย่างไรก็ตาม ไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการคุณสมบัติที่มากกว่าไม้จริงและยังให้ความรู้สึกเหมือนไม้จริงในระดับราคาที่ประหยัดกว่า

จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ เสี้ยนไม้จากไม้คอนวูด คือ สามารถทำสีให้เหมือนไม้จริงได้จนแทบมองไม่ออก โดยเทคนิคนี้ถ้าเลือกเฉดสีได้ดีแล้วก็จะได้ไม้สังเคราะห์ที่สวยงามราวกับเป็นไม้จริงเลยทีเดียว นี่คือข้อดีอีกข้อในการเลือกใช้ไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์แบบ ลายเสี้ยนไม้   

(ตัวอย่าง)การติดตั้งพื้น ด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์

โครงคร่าวและอุปกรณ์

โครงคร่าว : ตงเหล็กรูปพรรณ

อุปกรณ์ยึด : ตะปูเกลียว ตราช้าง ปลายสว่าน 45 มม.

วัสดุปิดรอยต่อ : กัมกรีต ตราช้าง (กาวสำหรับงานซ้อมเเซมรอยร้าว รอยรั่ว )

ตราช้าง สมาร์ทบอร์ด : ขอบเรียบ หนา 16 - 18 มม.

 

การเตรียมงาน

1.เตรียมโครงสร้างเพื่อรองรับแผ่นพื้น ตราช้าง สมาร์ทบอร์ด โดยให้ขนาดและระยะห่างโครงคร่าวสามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย ตามการออกแบบของวิศวกรสำคัญ หรือสามารถเลือกขนาดและระยะห่างโครงคร่าวโดยประมาณจากตาราง

2.โครงที่ใช้ต้องมีขนาดหน้ากว้างของโครงไม่น้อยกว่า 4.5 ซม. และในกรณีที่ใช้โครงคร่าวเหล็ก ต้องมีการป้องกันสนิมในระดับที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการใช้งาน

 

3.กรณีที่มีการติดตั้ง แผ่นพื้นเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ต่อเนื่องกันมากกว่า 6 ม. ควรเว้นร่องรอยต่อของทั้งแผ่นพื้นและกระเบื้องเซรามิคด้วยข และยาแนวด้วยกาวยาแนวโพลียูริเทน ตราช้าง สมาร์ทบอร์ด

 

ขั้นตอนการติดตั้ง

1.ตรวจสอบระดับหลังคาโครงคร่าวด้วยระดับน้ำ และระยะห่างโครงคร่าวต้องไม่เกินจากที่ออกแบบ

2.วางแผ่นพื้น ตราช้าง สมาร์ทบอร์ด ลงบนโครงคร่าวและยึดด้วยตะปูเกลียว ตราช้าง ปลายสว่าน 45 มม. ห่างกันไม่เกิน 40 ซม. และยิงห่างจากขอบแผ่น ประมาณ 1.2 ซม.

3.ทำความสะอาดบริเวณขอบแผ่น

4.ผสมกัมกรีต ตราช้าง ตามอัตราส่วนที่กำหนด

 5.นำกัมกรีต ตราช้าง ที่ผสมเสร็จเรียบร้อยมาทาที่ขอบแผ่นพื้น ตราช้าง สมาร์ทบอร์ด

 6.นำแผ่นพื้น ตราช้าง สมาร์ทบอร์ด แผ่นต่อไปมาติดชน

7.ปาดกัมกรีต ตราช้าง ที่ล้นออกมาให้เรียบและยึดแผ่นด้วยตะปูเกลียว ตราช้าง ปลายสว่าน 45 มม. และให้ติดตั้งแบบสลับแผ่นเพื่อไม่ให้รอยต่อตรงกัน

8.อุดหัวตะปูเกลียว ด้วยกัมกรีต ตราช้าง

 9.ติดตั้งแผ่นพื้น ตราช้าง สมาร์ทบอร์ด ต่อไปตามขั้นตอนที่กล่าวมาจนเสร็จ แล้วทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่นผงและครอบน้ำมัน ด้วยผ้าชุบน้ำหมาด

 

 

 

การดูเเลรักษาไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ 

1.การเตรียมพื้นผิว

1.1 กรณีที่พื้นผิวเป็นไฟเบอร์ซีเมนต์ใหม่ ควรทำความสะอาด พื้นผิวให้ปราศจากคราบไขมัน ฝุ่น น้ำมัน หรือ      สิ่งแปลกปลอม และต้องให้แน่ใจว่าพื้นผิวแห้งสนิท ข้อควรจำในระหว่างใช้งาน  คือ  ไม่ควรมีความชื้นเกิน 14%

1.2 สำหรับในกรณีที่พื้นผิวเป็นไฟเบอร์ซีเมนต์เก่า  ควรทำการขัด และ ลอกเอาฟิล์มสีเก่าที่เสื่อมสภาพออกให้หมดก่อน          ซึ่งการเตรียมพื้นผิวที่ดีโดยไม่มีส่วนที่เป็นฝุ่น หรือหลุดล่อน จะทำให้ได้ประสิทธิภาพการยึดเกาะที่ดีที่สุด

 2.การทาสีรองพื้น

2.1 ทาด้วยน้ำยารองพื้นปูนเก่า สูตรผสมผงสี เบเยอร์ ซุปเปอร์คอนแทค ไพรเมอร์ B-1700  โดยทำการทาจำนวน 1 เที่ยว  ทิ้งให้แห้ง 4-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของตัวรองพื้นชนิดนี้จะช่วยป้องกันน้ำซึมเข้าพื้นผิวไฟเบอร์ซีเมนต์ พร้อมทั้งช่วยประสานการเกาะระหว่างพื้นผิวและสีทับหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 3. การทาทับหน้า

3.1 ทาทับด้วยสีทาไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซินโนเท็กซ์ ชนิดโปร่งแสง/ทึบแสง จำนวน  2 เที่ยว โดยแต่ละเที่ยวทิ้งให้แห้ง 1-2 ชั่วโมง

เคล็ดลับ

-กรณีที่พื้นผิวมีเชื้อรา และตะไครน้ำ ควรทำความสะอาดเชื้อราและตะไคร่น้ำให้หมดก่อน  โดยอาศัยน้ำยากำจัดเชื้อราและตะไครน้ำ เบเยอร์โมวด์ฟรี M -001  ทาหรือกลิ่ง จำนวน 1 เที่ยว ให้ชุ่ม ๆ โดยไม่ต้องล้างออก แล้วทิ้งให้แห้ง 3 ชั่วโมง

- กรณีที่พื้นผิวมีรอยแตกลายงา  รอยหัวตะปู และรอยต่อแผ่น  ให้ทำการโป๊วตกแต่งพื้นผิวด้วย เบเยอร์ อะคริลิกฟิลเลอร์ F-200 ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง จากนั้นขัดแต่งด้วยกระดาษทรายแล้วทำความสะอาด รอให้แห้งสนิทประมาณ 12 ชั่วโมง และ ควรเลือกเฉดสีที่ใกล้เคียงกับ สีที่ต้องการจะทาเป็นสีทับหน้า

-กรณีที่เลือกใช้น้ำยารองพื้นปูนเก่าชนิดใส เฉดสีทับหน้าที่ได้จะมีความแตกต่างจากเฉดสีมาตรฐานที่แสดงในแคตตาล็อก รวมทั้งระดับความเข้มของสีที่ได้จะขึ้นอยู่กับสีพื้นเดิมของไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์

 

 

 

ราคารเฉลี่ยของไม้ สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ 

ไม้ สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์  ตามท้องตลาดปัจจุบันแล้ว มีสินค้าราคาเกรดสูง-ตำ่ ราคารเฉลี่ยของไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ อยู่ที่ ราคา ตรม.ละ 600-800 ต่อตรม.

 

แหล่งร้านค้า/เเบรนด์/ตัวเเทนจำหน่ายสินค้า

 

มีเเหล่งร้านค้าชั้นนำทั่วไป : HomePro,SCG,SHERA,Conwood,ไทยวัสดุ,บุญถาวร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @wazzadu.com

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก

http://www.banidea.com

http://fibersmartboardscg.blogspot.com

#WAZZADU #WazzaduMaterialEncyclopedia #CollectionMaterialIdea #WoodFlooring  #WoodFlooring Fibercement #พื้นไม้ 

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ