กระเบื้องยาง (Rubber floor tile) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

กระเบื้องยาง

มีทั้งที่ผลิตจากยางธรรมชาติ  และที่ผลิตจากโพลิเมอร์ จัดเป็นวัสดุปูพื้นชนิดหนึ่งที่ไมีความยืดหยุ่นพอสมควร ด้วยคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ และ โพลิเมอร์  คือ เพิ่มแรงหนืด ทำให้ป้องกันปัญหาการลื่นเมื่อพื้นเปียกน้ำได้เป็นอย่างดีเหมาะเป็นอย่างยิ่งในการใช้ในบริเวณที่มีการสัญจรตลอด    

 

วัสดุประเภทยางธรรมชาติ ทำมาจากยางพารา ซึ่งหาได้ง่ายในประเทศไทย มีความเหนียว ยืดหยุ่นตัวสูง  ทนทานต่อการฉีกขาดสูง มีความต้านทานต่อการขัดถูสูง ทนต่อกรดด่างอ่อนได้ดี

วัสดุประเภทโพลีเมอร์  ต้องดูประเภทของโพลีเมอร์ที่นำมาผลิต หากใช้โพลียูรีเทน จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าพีวีซี   มีความเหนียว ทนทานต่อการฉีกขาดมากกว่า ส่วนพีวีซีหากโดนความร้อนมากๆจะกรอบ เปราะ

หากเปรียบเทียบคุณสมบัติแล้วจะพบว่าวัสดุที่ทำจากธรรมชาติเช่นยางพาราจะมีคุณสมบัติที่ดีกว่า ทนทานยาวนานกว่า แต่กระเบื้องยางที่ทำจากยางธรรมชาติก็มีราคาสูงกว่าด้วย การนำไปใช้งานจึงต้องเลือกจาก งบประมาณ และระยะเวลาที่ต้องการใช้งานเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า มีความยืดหยุ่นสูง มีสมบัติดีเยี่ยมในด้านการเหนียวติดกัน มีค่าความทนทานต่อแรงดึงสูงมากโดยไม่ต้องเติมสารเสริมแรง มีความทนต่อการฉีกขาดสูงมากทั้งที่อุณหภูมิห้องและอุณหภูมิสูง มีความต้านทานต่อการล้าตัวสูง มีความต้านทาน

- ให้การยึดเกาะที่ดี ไม่ลื่น ปลอดภัย นิยมใช้ในโรงเรียน เวลาเด็กหกล้มแล้วจะไม่เกิดอาการบาดเจ็บมาก เพราะพื้นผิวมีความนุ่ม  เดินแล้วไม่เกิดเสียงดัง นิยมใช้ปูพื้นใน สำนักงาน โรงพยาบาล ด้วย

- ราคาไม่แพง หากเทียบกลุ่มวัสดุปูพื้นแล้ว กระเบื้องยางถือว่าเป็นวัสดุที่ราคาถูกกว่าพื้นชนิดอื่นๆ

- ทำความสะอาดง่าย

- เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย 

- ไม่ทนต่อกรดและด่าง เมื่อ เปื้อนแล้วทำความสะอาด

- ใช้เวลาติดตั้งไม่นาน ไม่เกิดฝุ่น และเสียงดังในขณะติดตั้ง

- มีลวดลายให้เลือกหลากหลาย

- รอยต่อระหว่างแผ่นสนิท ลดปัญหาความสกปรกของร่องยาแนวที่พบไดด้จากการปูกระเบื้อง  ยิ่งใช้กระเบื้องยางแบบม้วนด้วยแล้วจะช่วยลดปัญหารอยต่อได้เพราะใช้วิธีเชื่อมร้อน ทำให้ไม่มีรอยต่อให้สะสมเชื้อโรคสิ่งสกปรก จึงเหมาะกับใช้งานในโรงพยาบาล

 

ประเภทของกระเบื้องยาง

ผลิตภัณฑ์กระเบื้องยางถูกออกแบบมาให้ใช้ได้กับพื้นที่อาคารที่หลากหลาย มีทั้งแบบที่ใช้ภายนอก ภายใน ลานกิจกรรมต่างๆ สนามกีฬา ห้องออกกำลังกาย

- กระเบื้องยาง ชนิดแผ่น   มีขนาดให้เลือกหลากหลาย เช่น 30x30 cm. , 50x50cm., 60x60cm.  ความหนามีตั้งแต่ 2-12 มม.  อยู่ที่ความต้องการในการใช้งาน

- กระเบื้องยางสีเรียบ  หรือ ลายไม้ ที่ทำมาจากวัสดุประเภทพีวีซี , โพลียูรีเทน เป็นที่นิยมมาก เนื่องจากมีราคาไม่แพง  นิยมใช้กับอาคารสำนักงาน โรงเรียนต่างๆ  มีขนาดให้เลือกตั้งแต่ 30x30 ซม. ขึ้นไป

- กระเบื้องยางลายไม้แบบคลิ๊กล๊อค หรือมีลิ้น   มีความหนาประมาณ 3-4 มม. มีระบบคลิ๊กเพื่อล๊อคได้ในตัว โดยไม่ต้องใช้กาวในการติดตั้ง ปูง่าย ติดตั้งรวดเร็ว และสามารถรื้อไปใช้ที่อื่นได้ภายหลัง แต่การเตรียมพื้นที่จะปูกระเบื้องยางควรปรับพื้นให้ได้ระดับเรียบ พื้นไม่เป็นแอ่ง สุง-ต่ำ ราคากระเบื้องยางแบบคลิ๊กล๊อคมีราคาที่สูง กว่า 1000 บาท ต่อตารางเมตร

- กระเบื้องยาง ยางพารา แบบแผ่นเรียบ สามารถตัดต่อทำลวดลายตามดีไซน์ที่ต้องการได้ มีหลายสีให้เลือกใช้  นิยมใช้กับอาคารเรียนของโรงเรียนต่างๆ

- กระเบื้องยางลายเหรียญ  ผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีพื้นผิวที่หนาขึ้น เพื่อรับแรงกระแทก

- กระเบื้องยาง Safety เป็นกระเบื้องยางที่มมีความหนา 25 มม และ 45 มม. ใช้สำหรับรองรับแรงกระแทกมากๆ รับน้ำหนักได้ดี มีผิวหน้าที่นุ่ม ไม่เกิดอันตรายเมื่อหกล้ม  สามารถใช้งานภายนอกอาคารได้ ทนแดด ทนฝน  จึงนิยมใช้กับสนามเด็กเล่น   บาทวิถี ห้องออกกำลังกาย 

- กระเบื้องยางแบบบล๊อคปูพื้น  ใช้สำหรับปูทางเดินหรือสนามเด็กเล่นได้ มีผิวหน้าที่นุ่ม ไม่อันตรายเมื่อเกิดการหกล้ม

- กระเบื้องยางลายโลหะ เป็นกระเบื้องยางที่ทำผิวและลายเสมือนจริง เลียนแบบพื้นเหล็กตีนเป็ด หรือ Checker plate

- กระเบื้องยางแบบม้วน

เป็นกระเบื้องยางที่ขายเป็นม้วน หน้ากว้างประมาณ 1.0 -1.20 ม. โดยประมาณ ยาว 10-15 ม.  ซึ่งแต่ละรุ่นไม่เท่ากัน ต้องสอบถามผู้ผลิต

ติดตั้งไว รอยต่อเชื่อมด้วยความร้อน ทำให้ไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค สิ่งสกปรกต่างๆ ทำความสะอาดง่ายนิยมใช้กันมากในโรงพยาบาล

การปรับพื้นก่อนติดตั้ง

1.ปรับระดับด้วยการเทปูน Mortar Self - Leveling Mortar Self - Leveling

เป็นวัสดุที่ใช้เพื่อเตรียมพื้นผิวคอนกรีต หรือซีเมนต์ที่มีความขรุขระหรือคลื่น ให้เรียบได้ระดับเดียวกัน โดยจะมีความหนาจากพื้นเดิม ประมาณ 3 มม มีคุณสมบัติสามารถยึดเกาะ ได้ดีกับผิวซีเมนต์ และสามารถไหลปรับระดับผิวหน้าได้เอง โดยไม่ต้องใช้เกรียงปาดช่วย ผิวหน้าที่ได้

จะมีความเรียบเนียนเหมาะสำหรับงานการเตรียมพื้นผิวซีเมนต์ เพื่อปูพรม ปูไม้ลามิเนต ปูไม้ปาร์เก้ ปู กระเบื้องยาง

 

วิธีการปรับระดับ  

- ทำความสะอาดพื้น และพรมน้ำบนพื้นที่ต้องการปรับระดับเพื่อให้พื้นคอนกรีตชุ่มน้ำก่อน

- ทาน้ำยารองพื้น ปูนเก่ากับพื้นปูนใหม่   - เทปูน/ฉาบปูนปรับระดับ และทิ้งไว้ให้แห้ง 

- ฉาบแต่งหน้าให้เรียบ หรือขัดด้วยเครื่องขัด ก่อนปูพื้นด้วยวัสดุกระเบื้องยาง

 

1 .ปรับผิวหน้าด้วยการ Slide

 การปรับผิวหน้าด้วยการ Slide ส่วนใหญ่จะเป็นการปิดผิวหน้าเดิมที่มีลักษณะขรุขระ มีคลื่นไม่มาก หรือปิดร่องยาแนวกระเบื้อง เพื่อให้การปูพื้นเรียบเนียน การปรับผิวหน้าด้วยการ Slide ทำโดยใช้ ปูน ยิบซั่ม กาว และน้ำ ในสัดส่วนที่พอดี ปรับแต่งผิวหน้าด้วยการเกลี่ยเพื่อให้ ผิวที่ขรุขระ หรือร่อง ให้ เท่ากับพื้นผิวปกติ การปรับผิวด้วยวิธีนี้ ไม่สามารถปรับระดับ หรือแก้ไขความเป็นคลื่นของพื้นผิวเดิม หากผิวหน้ามีความขรุขระมาก หรือต่างระดับเรานิยมใช้วิธี ปรับระดับด้วยการเทปูน Mortar Self – Leveling มากกว่า

ขั้นตอนการติดตั้ง

- เตรียมพื้นเดิมให้เรียบ ด้วยการปรับผิวหน้าด้วยการ Slide หรือ ปรับระดับด้วยการเทปูน Self – Leveling

- กำหนดแนว และใช้บักเต้าตีเส้น

-  เทกาวลงบนพื้น แล้วใช้เกียงเซาะร่องฟันปลาปาดกาวให้สม่ำเสมอทั่วห้อง ทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 นาที

- กาวแห้งหมาดไม่ติดนิ้ว จึงเริ่มติดตั้งจากแนวประตู การติดตั้งสามารถติดตั้งได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ก่ออิฐ ก้างปลา คละสี หรือ คละแผ่น

 

 

วิธีการดูแลรักษาพื้นกระเบื้องยาง   

1. ทำความสะอาดคราบสกปรกด้วยผ้าชุบน้ำที่ผสมกับน้ำยาทำความสะอาดพื้นที่มีฤทธิ์เป็นกลาง   

2. ห้ามเทน้ำหรือ น้ำสบู่เพื่อล้างพื้นโดยตรง โดยเฉพาะบนพื้นที่ปูกระเบื้องยางใหม่ ๆ ไม่ถึง 1 อาทิตย์

3. หากมีรอยกาวเปื้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำมันก๊าด ผสมกับน้ำเช็ดทำความสะอาดทันที

4. ควรใช้ wax ชนิดน้ำ เคลือบผิวหน้ากระเบื้องยาง 1-2 ครั้ง ต่อเดือน

5. ห้ามใช้ ทินเนอร์ เบนซิน เช็ดล้างทำความสะอาดพื้นกระเบื้องยาง

ขอบคุณเเหล่งที่มา

www.primedecolaflor.com

http://www.floorament.com

 www.treetouch.com

 www.thaihomemaster.com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ