วัสดุแนะนำการเลือกใช้ " กระเบื้องเซรามิค (Ceramic tile) " กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน
ไอเดียการใช้งาน
เซรามิค (ceramic) เป็นคำเรียกรวมของเครื่องปั้นดินเผาทุกชนิด และแบ่งเป็นเคลือบหรือไม่เคลือบดังนั้นกระเบื้องเซรามิคก็คือกระเบื้องดินเผา ถ้าเคลือบก็เรียกกระเบื้องเคลือบ ถ้าไม่เคลือบก็เรียกกระเบื้องดินเผาเฉยๆ กระเบื้องแกรนิโตก็เป็นเซรามิค มีชื่อจริงว่ากระเบื้องพอซเลน (porcelain tile) เป็นกระเบื้องที่ทำจากดินชนิดหนึ่ง เรียกกันทั่วไปว่าดินขาว มีเนื้อละเอียดแน่นและมีแร่ธาตุต่างๆไม่เหมือนดินทั่วไปแต่เรียกกันติดปากว่ากระเบื้องแกรนิโต เพราะกระเบื้องชนิดนี้เมื่อเข้ามาขายในเมืองไทยนานแล้วยี่ห้อแกรนิโต (นำเข้าจากออสเตรเลีย) คนก็เรียกกันติดปากเหมือนผงซักฟอกแฟ้บ แกรนิโตก็มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ
คุณลักษณะ ขนาด สีและลาย วัสดุ
คุณสมบัติ
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กระเบื้องปูพื้น และกระเบื้องบุผนัง มีทั้งชนิดเคลือบมันและชนิดที่ไม่เคลือบมัน ในส่วนผิวหน้าเคลือบนั้น ก็ยังสามารถแบ่งได้เป็น ผิวมัน (Glossy) และผิวธรรมดา (Matt) ซึ่งชนิดผิวธรรมดานี้สามารถแบ่งอีก 2 ชนิด นั่นก็คือเป็นกระเบื้องแบบผิวไม่หยาบ (Satin) และผิวหยาบ (Rustic)
ขนาดของ กระเบื้องปูพื้น มีหลายขนาดค่ะ ไล่มาตั้งแต่ 8 x 8 นิ้ว, 12 x 12 นิ้ว, 16 x 16 นิ้ว, 20 x 20 นิ้ว ส่วนขนาดของกระเบื้องบุผนังมี 2.5 x 8 นิ้ว, 8 x 8 นิ้ว, 8 x 10 นิ้ว, 8 x 12 นิ้ว
การเลือกซื้อกระเบื้องเซรามิคในการเลือกซื้อกระเบื้องเซรามิคนั้น มีข้อแนะนำดังนี้ค่ะ1. ราคาเหมาะสม. หาซื้อได้สะดวก2. ง่ายต่อการบำรุงรักษา3. ทนต่อสภาพแวดล้อมและการใช้งาน4. มีลวดลายและสีสันให้เลือกมากมาย5. มีอายุการใช้งานนานวิธีการดูแลรักษาและทำความสะอาดกระเบื้องเซรามิค1. ใช้ฟองน้ำหรือผ้าสะอาดชุบน้ำ แล้วเช็ดลงไปที่กระเบื้อง2. ในกรณีที่พื้นกระเบื้องมีความสกปรกมาก ควรใช้น้ำผสมน้ำยาทำความสะอาดด้วย3. ใช้น้ำส้มสายชูทาที่กระเบื้องเพื่อป้องกันการเกิดรอยขนแมว4. ถ้ากระเบื้องเกิดรอยร้าว ที่มีลักษณะเป็นรอยให้ใช้ขี้ผึ้ง (Wax) ทาบริเวณดังกล่าวก็จะมองเห็นได้ยากขึ้น
Raw material
วัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก สามารถแบ่งกลุ่มอย่างกว้าง ๆ ได้ดังนี้คือ
วัตถุดิบประเภทที่ไม่มีความเหนียว (Non-plastic Materials) ซึ่งวัตถุดิบทั้งสองกลุ่มดังกล่าวอาจจะจำแนกออกเป็นกลุ่มย่อยได้อีก
นอกจากการจำแนกตามลักษณะข้างต้นแล้ว ในอุตสาหกรรมการผลิตเซรามิก ประเภท Whiteware นิยมแบ่งกลุ่มของวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่
วัตถุดิบประเภทดิน (Clays) : เป็นตัวให้ความเหนียวและช่วยให้สามารถขึ้นรูปเนื้อดินได้ง่าย และช่วยทำให้เนื้อดินมีความแข็งแรงเพียงพอหลังการเผาซึ่งทำให้สามารถหยิบจับชิ้นงานในขั้นตอนการขึ้นรูปและการเผาได้
วัตถุดิบประเภทสารช่วยหลอม (Fluxes) : เป็นแร่ที่ประกอบด้วยอัลคาไลน์หรืออัลคาไลน์เอิร์ทซึ่งจะหลอมตัวระหว่างเผาและทำปฏิกิริยากับสารประกอบตัวอื่น ๆ เพื่อฟอร์มตัวเป็นแก้วซึ่งจะทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงกับชิ้นงานหลังเผา ดังนั้นสารประกอบฟลักซ์จะเป็นตัวช่วยลดอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาชิ้นงานลง
วัตถุดิบประเภทตัวเติม (Fillers) : โดยทั่วไปแล้วทรายแก้ว (Silica) ที่ใช้ในส่วนผสมของเนื้อดิน Whiteware จะทำหน้าที่หลักในการควบคุมค่าการขยายตัวเนื่องจากความร้อนของเนื้อดินหลังการเผา
วัตถุดิบประเภทอื่น นอกจากวัตถุดิบใน 3 กลุ่มหลักข้างต้นแล้วปูนปลาสเตอร์ หรือ Plaster of Paris รวมทั้งเคลือบและสีต่าง ๆ ก็จัดว่าเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยเช่นกัน
การติดตั้ง
การติดตั้ง ในงานกระเบื้อง
วิธีการปูกระเบื้องมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่จะติดตั้ง และความชำนาญของช่างที่จะติดตั้งด้วยซึ่งวิธีการหลักๆมี2วิธี
1 การติดตั้งโดยใช้ปูนทราย(MORTAR) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังไม่ได้ทำการปรับระดับ และ ขัดมัน
1.1ตรวจสอบกระเบื้องก่อนทำการปู ตรวจเช็คชนิดของกระเบื้อง สีของกระเบื้องสีเดียวกันหรือไม่ ความโก่งอยู่ในค่าที่สามารถปูได้หรือไม่ หากพบสิ่งที่ผิดปกติให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายทันที
1.2ทำความสะอาดพื้นที่ที่จะทำการปูกระเบื้อง
1.3ตรวจเช็คระดับโดยให้มีความหนาสำหรับ เทส่วนผสมของปูนทราย(MORTAR)เพื่อปูกระเบื้องอยู่ระหว่าง3-5ซม. (ไม่รวมความหนาของกระเบื้อง) ถ้ามากหรือน้อยกว่าให้ทำการแก้ไข (ความหน้าของปูนทราย อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อจำกัดของพื้นที่ ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของช่างปูกระเบื้อง)
1.4ผสมปูนทรายน้ำในอัตราส่วนน้ำ 1 ลิตร ปูน 4 กิโลกรัม และทราย 8-10 กิโลกรัม (ปริมาณน้ำสามารถปรับลดได้หากทรายมีความชื้นมาก)
1.5นำส่วนผสมดังกล่าวเทลงบนพื้นที่จะติดตั้งกระเบื้องทำการปรับให้ได้ระดับก่อนที่จะนำกระเบื้องลงติดตั้ง
1.6ปูตามแนวลูกศร ควรปูกระเบื้องไปในทิศทางเดียวกัน ตามแนวลูกศร หรือ สัญลักษณ์โลโก้ด้านหลังของกระเบื้องใช้กาวซีเมนต์ผสมน้ำทาบนหลังกระเบื้อง หรือใช้น้ำยาประสานปูนทาบนหลังกระเบื้อง ยกกระเบื้องวางบนปูนที่เตรียมไว้ใช้ค้อนยางเคาะเบาๆ ให้ได้ระดับ
1.7ทำการจัดวางแผ่นกระเบื้องและแนวรอย ต่อให้อยู่ในแนวเดียวกันเว้นร่องยาแนวอย่างน้อย 2-3ซม.(ควรใช้ Spacer อุปกรณ์จัดแนวกระเบื้อง)เมื่อปูทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทิ้งให้ปูนเซ็ทตัวประมาณ 72 ชั่วโมง ก่อนทำการยาแนว
1.8หลังปูนเซ็ทตัวให้ทำการยาแนวเพื่อ ป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างตามร่องกระเบื้อง โดยทำความสะอาดรอยต่อของกระเบื้องด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็ง ต่อจากนั้นให้ใช้วัสดุยาแนวอัดให้เต็มแน่นเพื่อไม่ให้มีฟองและโพรงอากาศ หากมีเศษยาแนวล้นออกมาให้เช็ดออกด้วยผ้าหมาดๆก่อนที่ปูนยาแนวจะแข็งตัว
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรติดตั้งกระเบื้องโดยวิธีแบบซาลาเปา หรือปูนเปียก เนื้องจากกระเบื้องมีน้ำหนักมากอาจทำให้เกิดการยุบตัวไม่เท่ากัน และ มีโพรงอากาศเป็นช่องว่างใต้พื้นกระเบื้องมีผลทำให้กระเบื้องหลุดร่อน และ แตกง่าย
หมายเหตุ
- ส่วนผสมของปูน MOTAR ซีเมนต์กาว น้ำยาประสานปูน และ วัสดุยาแนว โปรดสอบถามบริษัทผู้ผลิตเพื่อป้องกันการผิดพลาดภายหลัง
- เพื่อรักษาความสวยงามของกระเบื้องหลังทำการติดตั้งเสร็จควรคลุมด้วยพลาสติก หรือ กระดาษลูกฟูก เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนและคราบสกปรก
- ก่อนเปิดใช้งานควรทำความสะอาดคราบ(WAX) โดยใช้ผงขัดแวกซ์ ปูนขาว หรือผงยิปซั่ม ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำยาทำความสะอาดที่เป็นกลาง ไม่ควรใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของกรดต่างๆเช่น กรดไฮคลอริก(กรดเกลือ)กรดไนตริก(กรดดินประสิว)กรดซัลฟิวริก(กรดกำมะถัน)กรด ไฮฟลูออริก(กรดกัดกระจก)และไม่ควรใช้สารเคมีประเภทไอโซโพรพิล(แอลกอฮอลล์)ใน การทำความสะอาด
2 การติดตั้งโดยใช้กาวซีเมนต์
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ปรับระดับเรียบร้อยแล้วเพราะกาวซีเมนต์ก็คือส่วนประกบ ของปูนซีเมนต์ปอร์คแลนด์ ทราย และวัสดุผสมพิเศษอื่นๆ
2.1 ตรวจสอบกระเบื้องก่อนทำการปู ตรวจเช็คชนิคของกระเบื้อง สีของกระเบื้องสีเดียวกันหรือไม่ ความโก่งอยู่ในค่าที่สามารถปูได้หรือไม่ หากพบสิ่งที่ผิดปกติให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายทันที
2.2 ทำความสะอาดพื้นที่ที่จะทำการปูกระเบื้อง
2.3 ตรวจเช็คระดับพื้นที่ที่จะทำการปูกระเบื้องให้ได้ระดับตามความต้องการ ถ้ามากกว่าหรือน้อยกว่าให้ทำการแก้ไข
2.4 ผสมกาวซีเมนต์ตามส่วนและวิธีของผู้ผลิตกาวซีเมนต์ โดยทั่วไป กาวซีเมนต์ 1 ถุง(15-20kg)ต่อน้ำ 3-5ลิตรแล้วแต่ละตราผลิตภัณฑ์ระบุ
2.5 เทกาวซีเมนต์ลงบนพื้นให้เพียงพอสำหรับกระเบื้องที่จะติดตั้ง ใช้เกรียงหวีฟันปลาปาดให้เป็นร่องให้ทั่วรวมถึงบริเวณหลังแผ่นกระเบื้องที่ จะติดตั้งด้วย(เบอร์ของหวี แล้วแต่รุ่น ยี่ห้อ กาวซีเมนต์ที่ใช้)จากนั้นนำกระเบื้องปูลงบนกาวซีเมนต์โดยปูตามแนวลูกศรหลัง กระเบื้อง เคาะด้วยค้อนยางเบาๆเพื่อให้ได้ระดับ
2.6 ทำการจัดงานแผ่นกระเบื้องและแนวร่องรอยต่อให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีร่องระหว่างรอยต่อ 2-3มม.เมื่อวางแผ่นกระเบื้องเต็มพื้นที่แล้ว ควรปล่อยให้กาวซีเมนต์เซ็ทตัว(ตามกำหนดระยะเวลาของกาวซีเมนต์ที่เลือก ใช้)โดยในระหว่างนี้ควรทำความสะอาดกระเบื้องแล้วป้องกันด้วยแผ่นพลาสติก POLYGENE SHEETและกระดาษลูกฟูกหรือไม้อัดตามแต่สภาพหน้างาน เพื่อให้การก่อสร้างส่วนอื่นๆสามารถทำต่อไปได้โดยพื้นผิวไม่เสียหาย
2.7 หลังปูนเซ็ทตัวให้ทำการยาแนวเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างตามร่องกระเบื้อง โดยทำความสะอาดรอยต่อของกระเบื้องด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็ง ต่อจากนั้นให้ใช้วัสดุยาแนวอัดให้เต็มแน่นเพื่อไม่ให้มีฟองและโพรงอากาศ หากมีเศษยาแนวล้นออกมาให้เช็ดออกด้วยผ้าหมาดๆก่อนที่จะปูนยาแนวจะแข็งตัว
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก
http://www.ebuild.co.th
http://www.siamclassic.co.th
https://th.wikipedia.org/wiki
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม