เรามีคำตอบมาให้!! ทำไมถึงเจอไม้อัดไม่เต็มมิล?

วันนี้ทางแบรนด์ไม้อัดลานนาขอตอบข้อสงสัยนี้ให้กระจ่างมากขึ้น หลังจากมีเสียงสะท้อนมาอย่างต่อเนื่องว่าทำไมไม้อัดไม่เต็มมิล?? และก่อนที่จะตอบคำถามคาใจนั้น ขอย้อนความไปถึงเรื่องราวของไม้อัดเต็มมิลกันสักนิด...

ไม้อัดที่ได้รับมาตรฐาน มอก.178-2549 คือคำตอบที่ผู้ใช้งานกำลังมองหา ไม้อัดเต็มมิล  เพราะไม้อัดที่ได้รับมาตรฐานนี้ผ่านการรับรองคุณภาพของวัสดุมาแล้ว (ตามเนื้อหาที่อยู่ในบทความนี้)  ซึ่งมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แผ่นไม้อัด มอก.178-2549 ได้ระบุไว้ว่าไม้อัดที่เต็มมิลต้องมี 3 คุณลักษณะที่ทาง มอก. กำหนดดังนี้

1. ความชื้น : ต้องอยู่ระหว่างร้อยละ 7 ถึงร้อยละ 15 ต่อแผ่น

2. การติดกาว : ความต้านแรงเฉือนต้องสัมพันธ์กับค่าการแตกที่ไม้ ที่กำหนดไว้

3. ความต้านแรงดัดและมอดุลัสยืดหยุ่น : เป็นค่าบอกระดับความแข็งแกร่งของวัสดุนั้นๆ เกี่ยวกับความหนาและความต้านแรงดัด

ซึ่งทั้ง 3 เกณฑ์วัดนี้เป็นค่าการวัดมาตรฐานของไม้อัดเต็มมิล

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 178-2549 ไม่เพียงแต่ตรวจสอบความทนทานของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่มีการตรวจสอบไปจนถึงระบบบริหารจัดการ การผลิต การออกแบบ การเก็บรักษาไปจนการควบคุมเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ เพื่อให้ผู้ซื้อได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

ทางผู้ผลิตที่ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการตรวจและคอยติดตามผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์และระบบควบคุมคุณภาพของโรงงงานปีละ 1 ครั้ง โดยผ่านเงื่อนไขทั้งหมด 12 ประการดังนี้

1. การบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร

2. การควบคุมเครื่องจักรและอาคารสถานที่

3. การควบคุมการออกแบบผลิตภัณฑ์

4. การจัดซื้อและการควบคุมวัตถุดิบ

5. การควบคุมกระบวนการผลิต

6. การควบคุมผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

7. การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

8. การแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์และตรวจสอบได้

9. การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

10. การควบคุมเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ

11. การปฏิบัติการแก้ไขและการดำเนินการกับข้อร้องเรียน

12. การควบคุมเอกสารและควบคุมบันทึก

เมื่อได้รับการตรวจมาแล้ว ไม้อัดที่ผ่านมาตรฐานของ มอก.ทุกแผ่นจะมีการติดเครื่องหมายและฉลากไว้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ โดยหลักเกณฑ์ในการใช้เครื่องหมายและฉลากคือ

(1) ในฉลากต้องมีคำว่า “แผ่นไม้อัด”
(2) มีการชี้แจงประเภทโดยใช้คำว่า “ภายนอก” “ทนความชื้น” “ภายใน” หรือ “ชั่วคราว”
(3) ชั้นคุณภาพ แสดงเป็นเลขอารบิก เช่น 1 (สำหรับไม้หน้า) / 2 (สำหรับไม้หลัง)
(4) ขนาด (กว้าง x ยาว x หนา ) เป็นมิลลิเมตร
(5) ข้อความหรือรหัสแสดงเดือน ปีที่ทำ หรือรุ่นที่ทำ
(6) ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน 
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ  ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น

และด้วยเหตุนี้นี่เอง ไม้อัดเต็มมิล ก็คือ ไม้อัดทุกแผ่นที่ผ่านมาตรฐาน มอก. แม้ว่าจะมีความหนาที่ลดหลั่นลงไปเล็กน้อยที่เกิดจากการหดตัวของวัสดุ แต่ว่าตัวผลิตภัณฑ์ยังคงคุณภาพและได้รับการันตีว่าคือไม้อัดเต็มมิล

ถ้าหากใครสนใจไม้อัดเต็มมิล ทางแบรนด์ไม้อัดลานนามีบริการสั่งผลิตโดยเฉพาะ และมีไม้อัดให้เลือกหลายแบบ แค่แจ้งกับทางฝ่ายขายว่าสนใจสั่งไม้อัดเต็มมิล เรามีแนะนำให้คุณเลือกหลายชนิด พร้อมแนะนำรุ่นที่เหมาะกับการใช้งานในแต่ละโอกาส อีกทั้งรับประกันสินค้าให้เปลี่ยนคืนได้ เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเกิดจากข้อผิดพลาดของแบรนด์

 

ทีนี้มาดูกันว่าทำไมไม้อัดถึงไม่เต็มมิล เมื่อราวๆ 20 - 30 ปีก่อน ไม้อัดที่ทางโรงงานผลิตออกมาล้วนแล้วเป็น ไม้อัดเต็มมิล แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีการแข่งขันทางการตลาดที่ค่อนข้างสูง ทางโรงงานผู้ผลิตจึงทำการลดความหนาจริงของไม้อัดลง แต่ผู้ใช้งานยังคงเรียกความหนาของไม้อัดติดปากเหมือนเดิมว่า ไม้อัด 4 มิล, 6 มิล, 10 มิล, 15 มิล และ 20 มิล ซึ่งไม้อัดที่จำหน่ายในประเทศไทยส่วนมากเป็นไม้อัดที่ไม่มี มอก.รับรองมาตรฐาน จึงทำให้ไม่มีมาตรฐานควบคุมความหนาที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไส้ไม้และโรงไม้แต่ละโรงที่ผลิตออกมา

สามารถสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ลิงค์นี้

https://www.wazzadu.com/page/suksawad/contact

 

Line: @suksawad ,E-mail: sales@suksawad.co.th​, Facebook สุขสวัสดิ์ไม้อัดไทย

Hotline: 091-771-0499

#Wazzadu #ไม้อัดลานนาbySuksawad #ไม้อัดลานนา #ไม้อัด #ไม้อัดOSB #ไม้อัดประสาน #ไม้อัดมอก #มอก #ไม้อัดเต็มมิล

ไม้อัดยาง,ไม้อัดสัก,ไม้แฟนซี,บล๊อกบอร์ด,เอ็มดีเอฟ,ปาติเกิ้ล,เคลือบฟิลม์ดำ,โฟเมก้า,ไม้ไผ่อัด,ไม้อัดไม้แปร(แอลวีแอล),บอร์ด,บานประตู,ไม้
จ๊อย,เอเชี่ยนวอลนัท,สนประสาน,กาวยาง,สี ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ