ข้อมูลวัสดุศาสตร์ เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพตามหลักการยศาสตร์ หรือ Ergonomic Chair Design

ที่มาของคำว่า Ergonomics (เออร์โกโนมิคส์)

คำว่า Ergonomics เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 โดยนักการยศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ KFH Murrell ซึ่งคำว่า Ergonomics เกิดจากการนำเอาคำจากภาษากรีก 2 คำมาสนธิกัน นั่นก็คือคำว่า "ergon" ซึ่งหมายถึง "งาน" หรือ "work" และคำว่า nomos ซึ่งหมายถึง "กฎ" หรือ Law เมื่อรวมแล้วจะเกิดคำใหม่ขึ้นมาคือ Ergonomics หรือ Law of work นั่นเอง

Ergonomics หรือ การยศาสตร์ คืออะไร ?

Ergonomics หรือ การยศาสตร์  คือหลักการที่มีขึ้นเพื่อศึกษา และพัฒนาสภาพการทำงานที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของการทำงาน โดยมีหลักพิจารณาว่าสถานที่ทำงานดังกล่าว ได้มีการออกแบบ หรือ มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง มีความเหมาะสมถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะมีความไม่ปลอดภัย หรือ มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยทั้งร่างกาย และจิตใจในการทำงาน รวมถึงช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้หลัก Ergonomics ยังถูกนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ หรือระบบงานต่างๆ เพื่อให้มนุษย์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกายและจิตใจให้น้อยที่สุด

แม้หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆแล้วหลัก Ergonomics หรือ การยศาสตร์ นั้นวนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะ 24 ชั่วโมง

หลัก Ergonomics มีความสำคัญอย่างไร ?

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ว่าทุกวันนี้คนส่วนมากใช้เวลาในชีวิตประจำหมดไปกับการทำงาน และหากผลิตภัณฑ์หรือเฟอร์นิเจอร์ที่เราใช้เป็นประจำ ไม่ได้ผ่านการออกแบบโดยคำนึงถึงหลัก Ergonomics ก็จะทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ สุดท้ายแล้วก็จะส่งผลเสียไปถึงคุณภาพในการทำงานที่ลดลง เช่น โต๊ะทำงานที่ขนาดไม่เหมาะกับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น สูงเกินไป เตี้ยเกินไป หรือแม่แต่เก้าอี้ ที่ไม่สมดุลกับร่างกายของผู้ใช้งาน ส่งผลให้เกิดผลเสียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • การทำงานที่ช้าและประสิทธิภาพที่ลดลง
  • การเจ็บป่วยร่างกาย ทั้งปวดเมื่อยทั่วไป ไปจนถึงการเกิดโรคเรื้อรัง
  • ความเจ็บป่วยทางจิตใจ เบื่อ เซ็ง ความเครียดสะสม

ความเจ็บป่วยของร่างกายที่มาจากการทำงาน เกิดได้จากสาเหตุอะไรบ้าง ? 

  • การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
  • การนั่งในท่าที่ผิดติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
  • การใช้ร่างกายทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
  • เก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการนั่งในท่าที่ผิด
  • โต๊ะทำงานที่ไม่สมดุลต่อร่างกาย

ความเจ็บป่วยทางร่างกาย ที่เกิดจากการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งาน จนนำไปสู่การนั่งแบบผิดๆ ส่งผลกระทบและพบเห็นได้มากที่สุดในวัยทำงาน เก้าอี้เพื่อสุขภาพ ที่ออกแบบโดยคำนึง​ถึงผู้ใช้งานด้วยหลัก Ergonomics จะเป็นตัวช่วยให้ช่วงเวลาในการนั่งทำงานเป็นช่วงเวลาที่ดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ส่งผลดีไปถึงประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้นอีกด้วย

ดังนั้น Ergonomics หรือ การยศาสตร์ จึงเป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้หลักการทางด้านชีววิทยา จิตวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา เพื่อขจัดสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุทำให้พนักงานเกิดความไม่สะดวกสบาย ปวดเมื่อย หรือมีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ อันเนื่องมาจากการทำงานในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ หลักการยศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไข หรือ ป้องกันเพื่อไม่ให้มีการออกแบบพื้นที่การทำงาน เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน หรือ เครื่องมืออุปกรณ์การทำงานต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมของพนักงาน

ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญทางด้านการยศาสตร์ ( Ergonomist ) ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคที่ Smart Office และ Coworking Space เฟื่องฟู ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้ปฏิบัติงาน กับอุปกรณ์การทำงาน หรือ ลักษณะพื้นที่การทำงานเพื่อหาปัญหา และแนวทางการปรับปรุงแก้ไข ตลอดจนการพัฒนารูปแบบ วิธีการออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพนักงานในยุคนี้

Sponsored by 

ข้อกำหนด และลักษณะเก้าอี้ทำงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic Chair) 

  • พนักพิงด้านหลังมีส่วนเว้าเพื่อรองรับเอวช่วงล่าง/หลังให้แนบกับเก้าอี้ และสามารถปรับการล็อคเอนได้ (Backrest tilt angle adjustment)
  • ปรับระดับความสูงของที่รองคอได้ (Headrest height adjustment)
  • ปรับระดับขององศาที่รองคอได้ (Headrest angle adjustment)
  • ที่รองคอเป็นตาข่ายโปร่ง ไม่เก็บฝุ่น ทำความสะอาดง่าย
  • ปรับความหยืดหนุ่นของพนักพิงได้ (Backrest flexible tilt tension adjustment)
  • ที่วางแขนสามารถปรับเข้า-ออกได้ (Arm-pad inward&outward adjustment) และสามารถปรับระดับความสูงได้ (Armrest height adjustment)
  • ปรับรองนั่งสามารถปรับเบาะเข้า-ออกได้ (Seat depth adjustment)
  • สามารถปรับเบาะรองนั่งเข้า-ออกได้ (Seat height adjustment)

การใช้วัสดุที่เหมาะสม

  • ที่รองคอทำจากตาข่าย (Mesh) ที่มีความคงทน และยืดหยุ่น
  • พนักพิงทำจากตาข่าย (Mesh) ที่มีความคงทน และยืดหยุ่น
  • เบาะรองนั่งหุ้มด้วยผ้า หนานุ่มนั่งสบาย และกระชับอย่างเหมาะสมต่อสรีระ
  • โช๊คที่ปรับระดับเก้าอี้ แข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี
  • ล้อผลิตจากพลาสติก PU เป็นพลาสติกคุณภาพสูง นิ่ม ทนทาน และไม่ทำลายพื้นผิวให้เกิดรอย

สรีระศาสตร์ กับลักษณะท่านั่งที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์​ (Ergonomic Chair)

  1. ศรีษะ ตั้งตรง หรือ ก้มเล็กน้อย ทำมุม 10-15 องศา สายตาขนานกับพื้น
  2. คอ อยู่ในระดับสายตา ไม่เอียง หรือ โน้มำปด้านใดด้านหนึ่ง
  3. หลัง ชิดติดพนักพิง เอนไปทางด้านหลังเล็กน้อย 120 องศา ตัวตรง ไม่แอ่นหรือก้ม
  4. ก้น ต้องแนบกับบริเวณมุมฉากของพนัก ลงน้ำหนักที่กล้ามเนื้อก้นซ้าย และขวาให้เท่ากัน
  5. ข้อศอก วางแนบชิดลำตัว หรือ วางบนที่พักแขนทำมุม 90 องศา ข้อมือ และศอกอยู่ในแนวเส้นตรง
  6. ต้นขา วางราบกับที่นั่ง และแนบชิดกับเบาะรองนั่ง
  7. เข่า ข้อพับแนบชิดเบาะรองนั่ง ทำมุม 90 องศา
  8. เท้า วางราบกับพื้นแบบเต็มฝ่าเท้า

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เอกสารอ้างอิง :
รัตนาภรณ์ อมรรัตนไพจิตร และสุดธิดา กรุงไกรวงศ์. การยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เรียงสาม กราฟฟิค ดีไซน์ จำกัด, 2544.

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ