ท่อเหล็กดำ (Carbon Steel Tubes) และท่อเหล็กเชื่อมแนวตะเข็บเกลียว (Spiral Pipe) มีคุณสมบัติ และวิธีการนำไปใช้งานต่างกันอย่างไร

เมื่อเอ่ยถึง ท่อเหล็กดำ (Carbon Steel Tubes) และท่อเหล็กเชื่อมแนวตะเข็บเกลียว (Spiral pipe) หลายๆท่านอาจมีความสงสัยว่าเหล็กสองประเภทนี้ต่างกันอย่างไร ทั้งๆที่เมื่อมองดูลักษณะภายนอกก็ดูเป็นเหล็กกลมไม่ต่างกัน วันนี้ Cotco จะมาช่วยคลายความสงสัยนี้ ให้ทุกท่านได้ทราบที่มาที่ไป และความแตกต่างของเหล็กทั้งสองประเภทนี้กันครับ

เหล็กท่อกลมดำ (Carbon Steel Tubes) 

หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ เหล็กท่อดำ หรือเหล็กกล่อง ที่มีลักษณะเป็นท่อเหล็กที่มีน้ำหนักเบา ตะเข็บเรียบ แข็งแรงทนทาน และมีความสามารถในการรับแรงดันสูง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากกับการใช้งานระบบและงานโครงสร้าง โดยเหล็กชนิดนี้ผลิตขึ้นจากเหล็กกล้าแผ่นคุณภาพสูง และเชื่อมเหล็กแผ่นโดยอาศัยความต้านทานไฟฟ้า (Electric Resistance Welding, ERW) 

โดยมีขั้นตอนการผลิตที่เริ่มจากการคลี่เหล็กแผ่นม้วนแล้วตัดแบ่งให้ได้ขนาดความกว้างของแผ่นเหล็กใกล้เคียงกับความยาวของเส้นรอบวงที่ต้องการ จากนั้นจึงม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นทรงกระบอก ด้วยลูกรีดหลายแท่นที่อุณหภูมิห้อง ต่อด้วยการเชื่อมขอบเหล็กโดยใช้การเชื่อมแบบความถี่สูงเพื่อให้เกิดความร้อนแล้วจึงอัดติดกัน โดยจะมีเนื้อโลหะส่วนหนึ่งนูนออกมาซึ่งจะถูกทำการปาดออกจากผิว แล้วรีดเพื่อปรับขนาดอีกเล็กน้อยและทำให้ท่อตรงขึ้น จากนั้นจึงตัดตามความยาวที่ต้องการ

ท่อเหล็กดำ (Carbon Steel Tubes)

ท่อเหล็กดำ (Carbon Steel Tubes) กับรูปแบบการนำไปใช้งาน

เหล็กท่อกลมดำ มีรูปแบบการนำไปใช้งาน 2 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่

1. งานโครงสร้าง และงานตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น โครงหลังคาสนามกีฬา โครงสร้างอาคาร เสาอาคารขนาดเล็ก-กลาง ราวกั้น ราวมือจับขั้นบันได รั้ว เป็นต้น โดยมีมาตรฐานรองรับดังนี้

  • ม.อ.ก.107
  • ม.อ.ก. 276
  • BS 1387
  • JIS G3444
  • JIS G3452(SGP)
  • ASTM A500
  • AS 1163
  • EN 10219 

2. งานระบบภายในอาคาร เช่น ท่อน้ำ ท่องานระบบดับเพลิง ท่อระบบน้ำหล่อเย็น และท่อสำหรับระบบท่อหล่อเลี้ยง เป็นต้น โดยมีมาตรฐานรองรับดังนี้

  • ม.อ.ก.277
  • ม.อ.ก.427 
  • BS 1387 
  • JIS G3452
  • ASTM A53
  • EN 10255
  • DIN 2440
  • MWA & PWA

ท่อเหล็กเชื่อมแนวตะเข็บเกลียว (Spiral Pipe) 

เป็นท่อที่เชื่อมด้วยวิธี Submerged Arc Welding (SAW) ซึ่งจะทำให้ได้แนวเชื่อมที่มีลักษณะขดเป็นวงคล้ายสปริง เมื่อใช้การเชื่อมด้วยวิธีนี้ จะทำให้สามารถผลิตท่อที่มีความยาวมากๆ ได้ รวมทั้งท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มีความกว้างมากๆ ก็ได้เช่นกัน ส่วนความหนาที่นิยมใช้กันจะประมาณ 4.5 -19.1 มม. ซึ่งท่อเชื่อมแบบ 2 ด้าน จะสามารถทนความดันได้มากกว่าท่อเชื่อมแบบแนวเชื่อมตรง 25% เมื่อเทียบที่ความหนาของผนังท่อเท่ากัน

ท่อเหล็กเชื่อมแนวตะเข็บเกลียว (Spiral pipe) กับรูปแบบการนำไปใช้งาน

ท่อเหล็กตะเข็บเกลียว เหมาะกับการใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องอาศัยความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ ได้แก่

  • ท่อสำหรับส่งน้ำดิบ
  • งานขุดเจาะ (dredging)
  • ท่อเข็มพืด
  • ระบบส่งน้ำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่
  • ระบบงานชลประทาน
  • งานเสาเข็มทั้งประเภทชายฝั่งและกลางทะเล
  • งานโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่
  • ท่อระบบน้ำหล่อเย็น

โดยมีมาตรฐานรองรับดังนี้

ในส่วนของมาตรฐานการผลิตของท่อเหล็กชนิดนี้ ประกอบด้วย

  • BS-534
  • ASTM-252
  • ASTM-A211
  • JIS G 3443
  • JIS G 3457
  • JIS G 3492
  • JIS A 5525
  • มอก. 427
  • JIS G 3457
  • AWWA C 200 
  • AWWA C 203
  • AWWA C 205
  • AWWA C 210
  • AWWA C 222

ดูรายละเอียดสินค้า "ท่อเหล็กดำ และท่อเหล็กเชื่อมแนวตะเข็บเกลียว" เพิ่มเติมได้ที่

  • ท่อเหล็กดำ เหล็กกล่อง

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 35 บาท/กิโลกรัม

    Online
  • ท่อเหล็กตะเข็บเกลียว

    งานระบบประปา ท่อประปา

    ราคาเริ่มต้น 30 บาท/กิโลกรัม

    Online

สำหรับท่านที่สนใจ 

สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center  02-285-2700​ ​

Website : www.cotcometalworks.co.th , FB Page : Cotco Metal Works Ltd.​

บริษัท คอทโก้เมททอลเวอร์คส จำกัด / COTCO METAL WORKS LIMITED
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ