ประตูหนีไฟ ที่ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องเป็นอย่างไร ?

ประตูหนีไฟ (Emergency Exit Door) ถือ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดอัคคีภัยภายในอาคาร ซึ่งจะถูกใช้ในกรณีฉุกเฉินทดแทนประตูปกติที่อาจขัดข้องไม่สามารถทำงานได้ เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าในขณะเกิดเพลิงไหม้

หากอ้างอิงจากกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 กฎหมายเกี่ยวกับประตูหนีไฟจะคลอบคลุมไปถึงบันไดหนีไฟด้วย โดยมีรายละเอียดข้อกำหนดสำคัญที่สามารถสรุปโดยย่อได้ ดังนี้

ลักษณะอาคารที่จะต้องมีบันไดหนีไฟ

อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป (สูงไม่เกิน 23 เมตร) รวมไปถึงอาคารที่สูง 3 ชั้นและมีดาดฟ้าอยู่เหนือชั้น 3 (ดาดฟ้ามีพื้นที่ตั้งแต่ 16 ตารางเมตรขึ้นไป) จะต้องมีบันไดหนีไฟอย่างน้อย 1 จุด ที่ใช้งานได้ปกติ ไม่อยู่ในสภาพชำรุด ไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยจะต้องใช้วัสดุในการผลิตที่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย

ความลาดชันของบันไดหนีไฟ

อาคารที่มีความสูงมากกว่า 4 ชั้น ความชันของบันไดต้องไม่เกิน 60 องศา และต้องมีชานพักทุกชั้น แต่ถ้าหากเป็นอาคารที่มีความสูงน้อยกว่า 4 ชั้น ความชันจะสามารถเกิน 60 องศาได้ เพื่อให้สามารถเดินขึ้นลงได้อย่างปลอดภัย และผนังในบริเวณที่บันไดหนีไฟพาดผ่านจะต้องก่อสร้างจากวัสดุถาวรที่มีคุณสมบัติทนไฟ

บันไดหนีไฟภายในตัวอาคาร 

บันไดหนีไฟจะต้องมีความกว้างตั้งแต่ 80 เซนติเมตรขึ้นไป ผนังในส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านจะต้องก่อสร้างจากวัสดุถาวร ที่มีคุณสมบัติทนไฟ ยกเว้นส่วนของช่องระบายอากาศ โดยประตูหนีไฟ จะต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกได้สะดวก ไม่มีอะไรขีดขวางทางเดินอากาศ แต่ละชั้นของอาคารจะต้องมีช่องระบายอากาศที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.4 ตารางเมตร ที่สามารถเปิดออกสู่ภายนอกอาคารได้ และต้องมีไฟที่ทางเดินทั้งกลางวันกับกลางคืน

บันไดหนีไฟที่อยู่ภายนอกตัวอาคาร 

บันไดหนีไฟจะต้องมีความกว้างตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป และผนังในส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านจะต้องก่อสร้างจากวัสดุถาวร ที่มีคุณสมบัติทนไฟ

ประตูหนีไฟบริเวณบันไดหนีไฟ 

ประตูหนีไฟต้องทำจากวัสดุที่ทนไฟได้เป็นอย่างดี มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่ต่ำกว่า 1.90 เมตร และจะต้องเป็นชนิดที่สามารถผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น (หากเป็นการดึงเข้าหาตัวจะทำให้การหลบหนีทำได้ยาก) และจะต้องติดอุปกรณ์กลไกปิดประตูอัตโนมัติเมื่อไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้ประตูปิดทันทีเมื่อมีคนหลบหนีออกได้แล้ว ป้องกันไฟลามออกไปภายนอกตัวอาคาร

ข้อควรระวังในการใช้งานประตูหนีไฟ

ห้ามตกแต่งดัดแปลงประตูหนีไฟ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันอัคคีภัยลดลง ควรหลีกเลี่ยงการเปิดประตูหนีไฟด้วยวิธีการงัดเด็ดขาด เนื่องจากอาจจะทำให้กลไกของประตูหนีไฟไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ เนื่องจากประตูหนีไฟจะทำจากวัสดุเหล็กกล้า หรือ วัสดุที่มีความทนทาน และแข็งแรงมากๆ จนอาจไม่สามารถเปิดได้ด้วยแรงมนุษย์หากกลไกไม่ทำงาน 

วิธีการใช้ประตูหนีไฟที่เหมาะสม

ประตูหนีไฟที่อยู่ในสภาพดีจะต้องปิดประตูสนิทอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาความดันอากาศ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เปลวไฟและควันไฟจากภายในอาคารลุกลามไปด้านนอกอาคาร

จากข้อกำหนดประตูหนีไฟที่ได้กล่าวไปในข้างต้น Wazzadu Encyclopedia By InnovatorX จึงร่วมกับ Skulthai United ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาประตูหนีไฟ ได้นำข้อมูลสเปคนำประตูเหล็กทนไฟ SCL (Fire Rated Steel Door) มาแบ่งปัน เพื่อให้ทุกท่านนำไปใช้ประโยชน์ หรือ นำไปต่อยอดใช้ในงานออกแบบก่อสร้าง

ประตูเหล็กทนไฟ SCL (Fire Rated Steel Door) ผลิตจากเหล็กรีดเย็น ด้านในของประตูบรรจุฉนวน Rockwool ซึ่งมีหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนและมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการลามของไฟ จากผลทดสอบโดยศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประตูรุ่น GD 1สามารถทนไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมงซึ่งมากกว่าที่กฎหมายกำหนดถึง 2 เท่า

 

รูปแบบของประตูเหล็กทนไฟ (Door Design) มีให้เลือก 4 แบบด้วยกัน

แบบ F ประตูเหล็กบานตัน

แบบ V ประตูเหล็กแบบมีช่องกระจกขนาดเล็ก

แบบ G ประตูเหล็กแบบมีช่องกระจกขนาดใหญ่

แบบ N ประตูเหล็กแบบมีช่องกระจกแนวตั้ง

กระจกสำหรับประตูเหล็กทนไฟ

กระจกที่ใช้นั้นจะเป็นกระจกทนไฟหรือกระจกเทมเปอร์กลาสเสริมลวด ซึ่งช่วยทำให้มองเห็นด้านในบันไดได้ เนื่องจากกระจกใสจะทำให้รู้สึกโปร่งมากกว่าประตูเหล็กบานทึบ หรือใช้เฉพาะบริเวณชั้นล่างสุดที่เป็นประตูออกสู่ภายนอกอาคารเนื่องจากจะช่วยทราบว่าชั้นนั้นเป็นชั้นที่สามารถหนีไฟออกไปได้ ในขณะเดียวกันหน่วยกู้ภัยก็สามารถมองเห็นคนที่อาจติดอยู่ภายในได้เช่นกัน

ขนาดของประตู

กว้าง 1,220 มม. (max) x สูง 2,440 มม. (max) 

มี 3 ความหนาให้เลือกใช้คือ 3.5 มม., 4 มม., 4.5 มม.

องค์ประกอบของประตูทนไฟ ที่ต้องพิจารณาก่อนการเลือกใช้

วงกบเหล็ก (Frame) 

ผลิตจากเหล็กรีดเย็นเช่นเดียวกับบานประตู นำมาพับขึ้นรูปเป็นวงกบประตู มีฐานรอบสำหรับรับบานพับและเสริมแผ่นเหล็ก (Reinforcement) ที่ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ประตู 

Hardware & Accessories มีให้เลือกแบบ Knock down เพื่อความสะดวกในการขนย้าย ประหยัดเนื้อที่ ดูแลรักษาง่าย โดยมีแบบมาตรฐานให้เลือก 4 แบบคือ บังใบเดี่ยว(SR), บังใบเดี่ยวมีร่อง (CF-S), บังใบคู่ (DR), บังใบคู่มีร่อง (DF-D)

ธรณีประตู (Threshold) 

มีให้เลือก 3 แบบคือ เหล็ก, สเตนเลส (SCL), อลูมิเนียม (Pemko)

ยางกันควัน (Weather stripe)

มีให้เลือกทั้งของ Neoprene และ Pemko

โช้คอัพ (Door Closer) 

ใช้ติดตั้งเพื่อหน่วงเวลาในการเปิด ปิดประตู เนื่องจากประตูเหล็กค่อนข้างหนักโช้คอัพจะช่วยลดแรงกระแทกในการปิดประตูได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยทำให้ประตูปิดไว้ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัย มีให้เลือก 2 รุ่นคือ Briton Surface Mounted และ LCN Surface Mounted

บานพับ (Hinge)

บานพับที่ใช้กับประตูหนีไฟนั้นต่างจากบานพับสำหรับประตูทั่วไปเนื่องจาก จะต้องรับน้ำหนักที่มากกว่าและต้องทนไฟได้นานกว่าด้วย บานพับจากสกุลไทย ยูไนเต็ดนั้นผลิตจากสเตนเลสและมีจุดยึดด้านละ 4 จุด 

คานผลักประตูหนีไฟ (Panic Exit Device)

ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ ประตูหนีไฟจะต้องเปิดออกได้ตลอดเวลา อุปกรณ์คานผลักจะช่วยให้ผลักประตูหนีไฟจากภายในห้องออกสู่ทางหนีไฟได้ (กฎหมายอาคารสูงกำหนดให้ประตูหนีไฟต้องมีคานผลัก)

ลูกบิดและมือจับ (Knob and Lever)

ใช้ติดตั้งเสริมในกรณีที่ต้องการใช้ประตูหนีไฟเป็นประตูที่ใช้งานประจำได้ด้วย

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ