ทำไม?! อาคารต้องปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง

สงสัยกันไหมว่าทำไมทุกวันนี้เราต้องคำนึงถึงเรื่องการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง

แล้วถ้าต้องการหานวัตกรรมวัสดุคาร์บอนต่ำเหล่านี้จะไปหาจากที่ไหนดี?

 

เมื่อการก่อสร้างคือปัจจัยที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมทั้งหมด เป็นเหตุให้ต้องพัฒนาวัสดุก่อสร้างเป็นแบบ Low Carbon Materials ซึ่งกลายเป็นตัวแปรสำคัญของการออกแบบงานก่อสร้างแห่งอนาคตที่จะสร้างสรรค์ให้พื้นที่พักอาศัย พื้นที่ธารณะส่วนรวม ตลอดจนอาคารทุกประเภทกลายเป็นพื้นที่ที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากทุกกิจกรรมที่ทำมนุษย์ทำให้น้อยลง จนไม่เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้ได้มากที่สุด

 

เพราะโลกเผชิญกับปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงขึ้นทุกๆ ปี อุตสาหกรรมการก่อสร้างและออกแบบสถาปัตยกรรมถูกจับตามองในฐานะหนึ่งในภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งหมายถึงว่าวัสดุที่เลือกใช้ก่อสร้างในวันนี้... กำลังสะท้อนถึงโลกที่เราจะอยู่ในวันพรุ่งนี้...

Low Carbon Materials หรือวัสดุที่มีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ (Carbon Footprint) ที่ไม่ได้หมายถึงแค่ตัววัสดุมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตที่ต่ำลง แบบ Embodied Carbon แต่หมายถึงมีนวัตกรรมหรือคุณสมบัติการใช้งานของวัสดุนั้นๆ ที่ช่วยให้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการทำกิจกรรมต่างๆ ในอาคารที่ปล่อยคาร์บอนได้น้อยลงกว่าแต่ก่อน อย่างที่เรียกว่า Operational Carbon

 

และไม่ว่าจะเป็น Embodied Carbon หรือ Operational Carbon เราต้องพัฒนาให้เกิดการปล่อยคาร์บอนให้ต่ำลงกว่าแต่ก่อน เพื่อที่โลกจะได้รับผลกระทบน้อยลง นี่จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ Low Carbon Materials จะเปลี่ยนแปลงทิศทางของการออกแบบอาคาร การพัฒนาเมือง และส่งผลต่อธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต

Cr.https://newbuildings.org/code_policy/embodied-carbon/

Cr.https://www.sageglass.com/industry-insights/rebalancing-embodied-carbon

แล้วประโยชน์ของวัสดุคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Materials) มีอะไรบ้าง?

1. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก : วัสดุเหล่านี้ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่ปล่อยสู่บรรยากาศ ช่วยลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 

2. ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ : การผลิตวัสดุคาร์บอนต่ำมักใช้ทรัพยากรน้อยกว่าวัสดุทั่วไป ทำให้เราสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้มากขึ้น
 

3. ประหยัดพลังงาน : ด้วยกระบวนการการผลิตที่ใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตวัสดุแบบดั้งเดิม (Embodied Carbon) ทำให้ลดการใช้พลังงาน (Operational Carbon) และลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าไฟจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
 

4. สนับสนุนด้านการสร้างความยั่งยืน : เพราะ Low Carbon Materials ช่วยส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว อีกทั้งสามารถนำวัสดุหลายประเภทมารีไซเคิล ทำให้ลดปริมาณขยะและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
 

5. เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ : เมื่อมีการพัฒนา ย่อมเกิดนวัตกรรมหรือเทคโนโยลีใหม่ๆ ที่ส่งเสริมเกี่ยวกับการวิจัยและ R&Dในด้านวัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้าง
 

6. สู่เส้นทางคุณภาพชีวิตที่ดี : เมื่อเริ่มต้นใช้วัสดุที่ไม่เพิ่มก๊าซเรือนกระจก เท่ากับช่วยให้คุณภาพอากาศนั้นดีขึ้น

ทั้งยังเป็นวัสดุที่ไม่สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ใช้งาน เพราะส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุจากธรรมชาติหรือไม่มีสารเคมีตกค้าง ทำให้สภาวะการอยู่อาศัยในอาคารและความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น ทั้งหมดนี้กำลังเปลี่ยนจาก “แนวโน้ม” ไปสู่ “มาตรฐานใหม่” ของวงการออกแบบและถ้าคุณคือหนึ่งในผู้นำที่อยากก้าวไปให้ทันโลกที่ยั่งยืนหรืออยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนสู่การพัฒนาให้เป็นคาร์บอนต่ำ ขอเชิญพบกับเวทีที่รวมทุกเทรนด์ นวัตกรรม และการอัปเดตความรู้ ตลอดจนชมนวัตกรรมของวัสดุคาร์บอนต่ำไว้มากที่สุดแห่งปี ที่งาน...

Wazzadu World 2025

ฟอรั่มนวัตกรรมวัสดุศาสตร์เพื่อสถาปัตยกรรมแห่งความยั่งยืน
ภายใต้แนวคิด Road to Low Carbon Materials

 

พบกับ...

  • นวัตกรรมวัสดุเพื่อการออกแบบและตกแต่งสถาปัตยกรรมกับอาคาร จากนักพัฒนาและผู้ผลิต
  • ความรู้ด้านวัสดุศาสตร์จากนักวิจัยและพัฒนาวัสดุ ผู้ผลิตและนักออกแบบและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอสังหาฯ
  • Showcase เทรนด์วัสดุแห่งอนาคต และเคสสตูดิโอจากโปรเจกต์จริง
  • การรวมตัวของผู้เล่นสำคัญในอุตสาหกรรมวัสดุศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Low Carbon อย่างแท้จริง

เตรียมตัวให้พร้อม แล้วไปพบกันที่งาน

วันที่ 17 มิถุนายน 2568

เวลา 9.00-17.00 น.

สถานที่ อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค, กรุงเทพมหานคร

 

ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรี

https://forms.gle/SXVtRLR8SRLwyrF48

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ