อยากให้โครงการผ่าน EIA กระจกสำคัญกว่าที่คุณคิด! (How is glass important for EIA?)
การออกแบบในปัจจุบันและอนาคตในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมนั้น เราต้องปรับตัวเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ได้มากที่สุด จึงเกิดเป็นมาตรการรับมือต่าง ๆ ขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ EIA ซึ่งจะเข้ามาประเมินผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของอาคาร โดยโครงการที่ต้องการผ่าน EIA นั้นจะให้ความสำคัญกับการลดการใช้พลังงานในอาคาร ทำให้ ‘กระจก’ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โครงการผ่าน EIA ได้
วันนี้ Wazzadu Encyclopedia และ TYK Glass ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนากระจก จึงจะชวนทุกท่านไปหาคำตอบกันว่าทำไมกระจกถึงสำคัญ และทำให้ผ่าน EIA ไปชมกันเลยครับ
EIA คืออะไร?
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) คือ การประเมินวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาทั้งทางบวกและทางลบ รวมถึงความเสี่ยงส่งผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง
วัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ เพื่อให้เป็นการประกันได้ว่าผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบของโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนทำการอนุมัติให้ดำเนินโครงการที่มีผู้ขออนุญาตดำเนินการนั่นเอง
EIA ศึกษาและวิเคราะห์เรื่องอะไรบ้าง?
การจัดทำ EIA ประกอบด้วย การศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน คือ
- ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
- ทรัพยากรชีวภาพ ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่มีต่อระบบนิเวศ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น
- คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งทางกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน
- คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่า ความสวยงาม
โครงการแบบไหนต้องทำ EIA (ตามกฎหมายไทย)
โดยทั่วไป โครงการที่ต้องทำ EIA ได้แก่
- อาคารสูง เกิน 23 เมตร และมีพื้นที่ใช้สอยรวมเกิน 10,000 ตร.ม.
- โรงงาน, สนามบิน, ท่าเรือ, เขื่อน, ทางด่วน ฯลฯ (ตามประเภทที่กำหนดในกฎหมาย)
- โครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์, พื้นที่ชายฝั่งทะเล, พื้นที่ต้นน้ำ ฯลฯ
*อ้างอิงข้อมูล: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
*กฎหมายอ้างอิง: พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
แล้วกระจกเกี่ยวอะไรกับการผ่าน EIA ?
ในรายงานของ EIA จะมีการประเมินว่าอาคารใช้พลังงานมากน้อยเพียงใด และมีมาตรการในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ การเลือกกระจกที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญอย่างมากในโครงการก่อสร้างอาคาร โดยเฉพาะในโครงการที่ต้องผ่านกระบวนการ EIA การเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะช่วยให้โครงการมีโอกาส ‘ผ่าน’ EIA ง่ายขึ้นเนื่องด้วยเหตุผลหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและพลังงาน เช่น
ประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน (Energy Efficiency)
กระจกที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน เช่น กระจก Low-E, กระจกสะท้อนแสง (Reflective Glass) หรือกระจกสองชั้น (Insulated Glass Unit - IGU) ช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ เพราะลดความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวอาคาร
ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หากกระจกที่ใช้ช่วยลดการใช้พลังงานได้ ก็ส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลดลง ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ EIA
ลดแสงสะท้อนที่ไปรบกวนสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
กระจกบางชนิดอาจมีค่าการสะท้อนแสงสูงเกินไป (High Reflectivity) ซึ่งอาจรบกวนสิ่งมีชีวิต เช่น นก หรือส่งผลกระทบต่ออาคารหรือพื้นที่โดยรอบ (แสงแยงตา, ความร้อนสะสม ฯลฯ)
ควบคุมแสงสว่างและความร้อนในอาคาร (Daylight & Thermal Comfort)
การเลือกกระจกที่เหมาะสมสามารถควบคุมระดับแสงธรรมชาติในอาคารให้เหมาะสม ช่วยเพิ่มความสบายในการอยู่อาศัย และลดการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวัน
ตอบโจทย์เกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียว (Green Building)
โครงการที่มีเป้าหมายจะได้การรับรองมาตรฐานเช่น TREES (ประเทศไทย) หรือ LEED (สากล) มักต้องเลือกใช้วัสดุที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เช่น กระจกที่มีค่า SHGC, U-value และ VLT อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
แนวทางการเลือกสเปคกระจกให้ตรงตามเกณฑ์ EIA
มีข้อกำหนดหลัก ดังนี้
1.ค่า Visible Light Reflectance (VLR) หรือการสะท้อนแสงที่ตามองเห็น
- ค่า VLR ควรอยู่ที่ 10-15%
- บางพื้นที่ เช่น เขตเมืองหนาแน่น แนะนำไม่เกิน 15%
2.ควรใช้กระจกประเภทควบคุมความร้อน (Low-E Glass, Solar Control Glass)
- เกณฑ์ EIA กำหนดให้กระจกอาคารหรือกระจกผนังอาคาร ควรมีค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Heat Gain Coefficient: SHGC) น้อยกว่า หรือเท่ากับ 55 ตามกระทรวงพลังงานกำหนดเพื่อช่วยลดความร้อนที่ส่งผ่านมาจากดวงอาทิตย์เข้าสู่พื้นที่ในอาคาร
- ค่า LSG มากกว่าหรือเท่ากับ 1.20 เพื่อช่วยให้เปิดรับแสงเข้าได้ มากกว่าความร้อนถึง 20 % โดยไม่ทำให้รู้สึกร้อน
- ค่า U-value ต่ำ (เพื่อประสิทธิภาพการเป็นฉนวน)
3.หลีกเลี่ยงกระจกเงาหรือกระจกที่มีค่าสะท้อนสูง (Mirror Glass)
- เงาสะท้อนอาจรบกวนการมองเห็นของคนข้างนอก เช่น ถนนหรืออาคารใกล้เคียง
- กระจกอาคารควรมีค่าการสะท้อนแสง VLR Out (Visible Light Reflectance Out) อยู่ที่ 10%-15% (เปอร์เซ็นต์ยิ่งสูงยิ่งหมายถึงการเกิดแสงสะท้อนรบกวนพื้นที่ใกล้เคียงมาก)
4.เลือกโทนกระจกที่ซึมแสงและลดแสงสะท้อน
เช่น เขียวตัดแสง, เทาอ่อน, สีชา, น้ำเงินอมเทา เป็นต้น
5.ต้องมีเอกสารรับรองสเปคกระจกแนบในรายงาน EIA
- ระบุค่าต่าง ๆ เช่น VLR, SHGC, U-Value, Visible Transmittance (VT) ฯลฯ จากผู้ผลิต เพื่อรับรองว่ากระจกผ่านมาตรฐาน EIA ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จากเกณฑ์และคุณสมบัติในการผ่าน EIA ที่ได้กล่าวไปนั้น Wazzadu ขอพาไปรู้จักกับกระจกรุ่น Kool Max จาก TYK Glass มีคุณสมบัติที่ผ่านเกณฑ์ของ EIA ทั้งค่าต่าง ๆ โทนสี คุณสมบัติในการลดความร้อน รวมถึงยังมีดีไซน์ที่สวยงามให้เลือกนำไปใช้
กระจกประหยัดพลังงาน Kool Max ที่ผ่านเกณฑ์ EIA จาก TYK Glass
กระจกนิรภัยสองชั้น (ลามิเนต) หรือกระจกฉนวนอินซูเลท ตอบโจทย์งานดีไซน์ด้วยตัวเลือกผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โทนสีใส เทา และเขียว มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนให้ค่าความร้อนผ่านเข้ามาในอาคารได้น้อย แต่แสงส่องผ่านเข้ามาได้มาก ได้รับการออกแบบและพัฒนาให้โดดเด่นด้วยการมีคุณสมบัติที่ผ่านเกณฑ์ EIA
กระจกประหยัดพลังงาน Kool Max รุ่น KM Clear: KM-LC65
มีคุณสมบัติ ดังนี้
- Color = Light Grey
- SHGC = 0.53
- LSG = 1.25
- Reflect Out = 10%
กระจกประหยัดพลังงาน Kool Max รุ่น KM Green: KM-LN70
มีคุณสมบัติ ดังนี้
- Color = Light Green
- SHGC = 0.54
- LSG = 1.31
- Reflect Out = 10%
กระจกประหยัดพลังงาน Kool Max รุ่น KM Clear Plus: KM-LG70
มีคุณสมบัติ ดังนี้
- Color = Light Grey
- SHGC = 0.54
- LSG = 1.22
- Reflect Out = 8%
คุณสมบัตินี้ทำให้กระจกประหยัดพลังงาน Kool Max เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นกระจกอาคารที่ต้องการผ่านมาตรฐาน EIA เหมาะสำหรับทั้งโครงการที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน ไปจนถึงศูนย์การค้าและอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์แนวคิดอาคารเขียว (Green Building) อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม