พลาสติกที่ย่อยสลายใน 8 วัน!? เมื่อนักวิจัยญี่ปุ่นค้นพบวัสดุชนิดใหม่ที่อาจเป็นทางรอดของการลดขยะพลาสติกในอนาคต
เรื่องปัญหาพลาสติกล้นทะเลและกองขยะพลาสติกที่มีมากมายในทุกๆ วัน ทราบกันไหมครับว่าพลาสติกนั้นใช้เวลาในการย่อยสลายเองนานกี่ปี? คำตอบคือ 450 ปีครับ
ที่ผ่านมา วิธีการจัดการขยะพลาสติกที่ยั่งยืนที่สุดคือการ รีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็ยังไม่สามารถลดปริมาณขยะที่ผลิตออกมาใหม่ได้ทันการณ์ และถ้าหากกำจัดด้วยการเผาด้วยแล้วกลับสร้างมลพิษในอากาศ กลายเป็นการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ไปอีก นั่นจึงเป็นที่มาของการวิจัยเพื่อพัฒนาพลาสติกชนิดใหม่ที่ย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมครับ
พอพูดถึงนวัตกรรมวัสดุสายกรีนหรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยมาพัฒนาให้เกิดเป็นวัสดุตกแต่งและก่อสร้างที่ลดคาร์บอนได้นั้น วันนี้ Wazzadu Low Carbon Material Library ก็เจอกับข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ค้นพบวัสดุชนิดใหม่ที่นำมาทำเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้เองในระยะเวลา 8 วันครับ!
โดยศูนย์วิจัย CEMS (Center for Emergent Matter Science) ของ Riken (ริเค็น) จากประเทศญี่ปุ่น เป็นศูนย์วิจัยที่มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (Emergent Properties) ที่ค้นคว้าวิธีการทดลอง การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่นเพื่อที่จะสร้างวัสดุใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในอนาคต
เมื่อเร็วๆ นี้ ทางนักวิจัยของศูนย์และทางมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้พัฒนาพลาสติกชนิดใหม่ที่ย่อยสลายได้ในน้ำทะเลภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงและพบว่าพลาสติกตัวอย่างนี้สามารถละลายหายไป โดยไม่แตกตัวออกเป็นไมโครพลาสติกซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและไม่หลงเหลือเป็นขยะพลาสติกตามธรรมชาติ โดยที่ทดลองกันในห้องแล็ปที่เมือง Wako (วาโกะ)
นอกจากนี้ นักวิจัยได้ทดสอบว่าเมื่อฝังพลาสติกนี้ลงในดิน ด้วยขนาดพลาสติกประมาณ 5 ซม. เพื่อทดลองว่าจะย่อยสลายภายในกี่ชั่วโมง ปรากฎว่าพลาสติกสามารถย่อยสลายได้เองประมาณ 200 ชั่วโมง หรือราวๆ 8 วัน ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยว่างานวิจัยนี้ทดสอบมาจากวัสดุหรือใช้วัตถุดิบอะไรบ้างในการวิจัยพลาสติกดังกล่าว
Wazzadu Low Carbon Material Library เห็นว่าวัสดุนวัตกรรมใหม่นี้มีศักยภาพสูงหากสามารถต่อยอดสู่การใช้งานในอุตสาหกรรมออกแบบ เช่น การผลิตเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในหรือ R&D เพิ่มเพื่อทำให้เป็นวัสดุก่อสร้างที่ย่อยสลายได้เอง ซึ่งจะช่วยลดภาระด้าน Waste Management ในการกำจัดขยะ ลดการเผาทำลาย และลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คิดว่าถ้าในอนาคตนักวิจัยสามารถต่อยอดวัสดุนี้ให้ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์หรือตกแต่งบ้านได้ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยครับ ในวงการการออกแบบก็จะได้มีพลาสติกรักษ์โลกที่ใช้แล้วสามารถกำจัดได้โดยไม่ต้องเผาทิ้ง และไม่ปล่อยคาร์บอนเหมือนกับวิธีเก่าๆ ครับ
ขอขอบคุณข้อมูล :
https://www.eco.co.th
https://www.facebook.com/photo?fbid=1031015745907386&set=pb.100069969091464.-2207520000
https://www.globalheroes.com
ขอบคุณรูปประกอบ :
https://www.reuters.com
ผู้เขียนบทความ
ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่
Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ
หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ... อ่านเพิ่มเติม