กระจกดัดแปลง ( Processed Glass) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

กระจกดัดแปลง ( Processed Glass)

3.1 กระจกฉนวน ( Insulated Glass)

กระจกฉนวนความร้อน ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการนำกระจก 2 แผ่น มา ประกอบกันโดยมี
เฟรมอลูมิเนียมคั่นกลาง ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่นำสมัยด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นกระจกที่ช่วยในด้านการประหยัดพลังงานป้องกันการถ่ายเทความร้อนระหว่าง ภายในกับภายนอกอาคารคุณสมบัติสามารถป้องกัน
การถ่ายเทความร้อนจากภายนอกก่อให้ เกิดบรรยากาศสบายแก่ผู้อยู่อาศัยป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก ก่อให้เกิดบรรยากาศ เป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย สามารถป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอก จึงช่วยลด ภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและพลังงาน ไม่ทำให้เกิดฝ้าหรือหยดน้ำ แม้ว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกแตกต่างกันมาก
รูปแบบการใช้งาน
- ใช้กับอาคารสูงระฟ้า อาคารสำนักงาน และอาคารพาณิชย์ทั่วไป ที่ต้องการควบคุมสภาพ แวดล้อมภายในด้านเสียง อุณหภูมิ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล สนามบิน สำนักงาน เป็นต้น
- ใช้ในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และพลังงาน
- ใช้ในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการตัดเสียงรบกวนจากภายนอก และภายใน เช่น ห้องบันทึก เสียง เป็นต้น

 

คุณสมบัติ

· ป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร ลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ

· ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกอาคารได้ดีกว่ากระจกธรรมดา

· สามารถรับแรงดันลมได้เพิ่มขึ้น

· ให้ความปลอดภัยในอาคาร ในกรณีที่ใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ หรือ กระจกนิรภัยหลายชั้นมาผลิตเป็นกระจกฉนวนความร้อน

 

ข้อแนะนำ
- ควรเก็บกระจกภายในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่มีแสงแดดส่องผ่านโดยตรง
- ไม่ควรใช้งานในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียสเนื่องจากอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
- ไม่ควรให้ลมจากเครื่องปรับอากาศกระทบกระจกโดยตรง

3.2 กระจกฮีตมิเรอร์ ( Heat Mirror Glass)

กระจกฮีตมิเรอร์ เป็นกระจกสองชั้นที่เคลือบสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำทั้ง 2 ด้านของฟิล์มที่อยู่ระหว่างช่องอากาศ โดยที่ช่องว่างอากาศทั้งสองข้างจะกลายเป็นช่องว่างอากาศสะท้อนรังสี

คุณสมบัติ

·  สามารถสะท้อนความร้อนออกไปจากกระจกได้มากถึงประมาณ 80% หรือยอมให้ความร้อนส่งผ่านเข้ามาเพียง 10% และที่เหลืออยู่อีก 10%จะถูกดุดกลืนเข้าไปในกระจก

·  ยอมให้แสงสว่างผ่านเข้ามาได้ดี ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้กระจกและฟิล์ม

·  ป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต โดยสะท้อนได้ประมาณ 98%

3.3 กระจกฮีทสต๊อป ( Heat Stop Glass)

เป็นกระจกสองชั้น ประกอบขึ้นด้วยกระจกสะท้อนแสงที่เคลือบด้วยสารที่ทำให้เกิดสภาพการแผ่รังสีต่ำเป็นกระจกด้านนอกและด้านในใช้กระจกใส สารที่เคลือบนั้นสามารถป้องกันความร้อนให้ผ่านเข้ามาได้เพียง 5% ช่องว่างตรงกลางใส่ก๊าซอาร์กอน

คุณสมบัติ

·  สามารถสะท้อนความร้อนออกจากกระจกได้มาก

·  ยอมให้แสงสว่างผ่านกระจกเข้ามามากถึงประมาณ 60%

·  ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ตโดยสะท้อนได้ประมาณ 95%

3.4 กระจกนิรภัยหลายชั้น( Laminated Safty Glass)

กระจกนิรภัยหลายชั้น ซึ่งเกิดจากการนำเอากระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมา ประกบติดกันโดยมี
แผ่นฟิล์ม ( Polyvinyl Butyral ; PVB ) ที่มีคุณสมบัติเหนียวคั่นกลางซึ่งทำหน้าที่ยึดแผ่นกระจกให้ ติดกัน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง และความปลอดภัยสูง

ฟิล์มPVBทั่วไปมีความหนาของแผ่น 0.38มม ถ้ากระจกที่มาประกบกันมีขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้จานวนชั้นฟิล์มเพิ่มขึ้น เราจึงเห็นได้ว่าการระบุความหนาของฟิล์มมีตั้งแต่ 0.38, 0.76. 1.14, หรือ 1.52มม. ซึ่งก็คือ 1, 2, 3, หรือ 4 ชั้นนั่นเอง กระจกลามิเนตอาจจะประกอบด้วยกระจกมากกว่า 2 แผ่นประกบกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์การใช้งาน การนำกระจกหลายๆ ชั้นมาประกบลามิเนตสามารถนำไปใช้เป็นกระจกกันกระสุน หรือพื้นกระจก

สิ่งที่สาคัญอีกประการของกระจกลามิเนตก็คือ เราสามารถนำกระจก A/N , H/S หรือ T/P มาประกบก็ได้ แล้วแต่รูปแบบการใช้งาน ดังนั้นถ้าเราพูดว่ากระจกลามิเนต 12มม โดยไม่ระบุอะไรเพิ่มเติม เราก็จะได้กระจก A/N ใส 6มม + 0.38มม PVB ใส + A/N ใส 6มม อันเป็นรูปแบบที่ราคาถูกที่สุด สาหรับการพูดลอยๆ ถึง กระจกลามิเนต 12มม.

ข้อควรพิจารณา

· แผ่นฟิล์มมีคุณสมบัติในการอมความร้อน จึงไม่ควรเลือกกระจกต่อไปนี้เข้ามาผนึกด้วยกัน

กระจกสีตัดแสง ผนึกกับ กระจกสีตัดแสง

กระจกสีตัดแสงเสริมลวด ผนึกกับ กระจกแผ่นเรียบ

กระจกสะท้อนแสง ผนึกกับ กระจกเสริมลวด

· มีความแข็งแรงต่อแรงอัดของลมน้อยกว่ากระจกธรรมดาที่หนาเท่ากัน

·   เมื่อเกิดการแตกเศษกระจกยังคงยึดติดกับแผ่นฟิล์มไม่ร่วงหล่นลงมาช่วยลดอันตราย จึงเหมาะกับการใช้งานบริเวณที่ลาดเอียงหรือบริเวณที่อยู่เหนือศีรษะ เช่น อาคารสูงและ หลังคา เป็นต้น

·  เมื่อกระจกนิรภัยเทมเปอร์มาผนึกเข้าด้วยกันควรใช้แผ่นฟิล์มที่ความหนาไม่ต่ำกว่า 0.76มม เป็นตัวยึดกระจก เพื่อป้องกันการเกิดฟองอากาศเนื่องจากผิวกระจกไม่เรียบ

คุณสมบัติ

·  สามารถช่วยลดแสง UV และเสียงรบกวนได้ดีสร้างความเป็นส่วนตัวแก่ผู้อยู่อาศัยมั่นใจในความปลอดภัย

·  ใช้ในการป้องกันการบุกรุกได้

·  ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ

รูปแบบการใช้งาน
- กระจกหน้าต่างอาคาร,ผนังภายใน
- ประตูทางเข้าอาคาร,ประตูภายในอาคาร
- ตู้กระจกแสดงสินค้า และสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการโจรกรรม เช่น พิพิธภัณฑ์,ร้าน เครื่องเพชร,พลอย เป็นต้น
- กระจกที่ติดตั้งอยู่เหนือศีรษะ หรือผนังลาดเอียง เช่น หลังคา

- ผนังห้องประชุม เพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอก
- ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ และสถานที่ ที่ต้องการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ
- ราวบันได ราวระเบียง ราวเฉลียง ซึ่งใช้ป้องกันการพลัดตกจากที่สูง
- กระจกกันกระสุน (.38 ซุปเปอร์อัตโนมัติ,.357 แมกนั่ม รีออริโอ, .44 แมกนั่ม รีออ ริโอ, .30 -.06 ปืนกลไรเฟิล)

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ