โถชักโครก (toilet bowl) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

โถชักโครก

 

โถชักโครกเป็นสิ่งจำเป็นในห้องน้ำ เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน เราควรพิจารณาเลือกโถชักโครกให้เหมาะสมกับการใช้งาน พื้นที่ห้อง และสวยงามเข้ากับห้องน้ำของเรา

หากแบ่งโถชักโครกตามลักษณะการนั่ง คงแบ่งได้เป็นแบบนั่งยอง และนั่งราบ ซึ่งโถแบบนั่งยองเราจะพบได้ตามวัด ปั๊มน้ำมัน สถานที่สาธารณะบางแห่ง  แรกเริ่มเดิมทีเราใช้งานโถชักโครกแบบนั่งยอง  แต่การใช้โถชนิดนี้ก็ไม่สะดวกสบายเหมือนการใช้โถแบบนั่งราบ  และไม่เหมาะกับคนสูงอายุซึ่งมีปัญหาเรื่องเข่าและข้อ  รวมทั้งโถแบบนั่งยองมักทำให้ห้องน้ำดูไม่สะอาด เปียกอยู่ตลอดเวลา โถแบบนั่งราบจึงได้รับความนิยมในเวลาต่อมา  

หากแบ่งตามลักษณะการใช้น้ำชำระ คงแบ่งได้ 3 ประเภท คือ

- แบบใช้น้ำตักราด  เป็นโถแบบที่ต้องรองน้ำในบ่อพักแล้วใช้ภาชนะตักราด  ยังเป็นที่นิยมใช้ตามวัด ปั๊มน้ำมัน สถานที่ต่างๆในต่างจังหวัด ข้อเสียคือ การใช้น้ำตักราดเอาทำให้ห้องน้ำเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา คนสูงอายุใช้งานลำบาก

- แบบฟลัชวาล์ว  ฟลัชวาล์วเป็นอุปกรณ์ประกอบสุขภัณฑ์โถสุขภัณฑ์ โดยอาศัยเเรงดันน้ำ เเละอัตราการจ่ายน้ำ ในเส้นท่อประปา ที่มีการออกเเบบมาอย่างมาตรฐาน การนำมาใช้ในสถานที่อาคารสาธารณะ โรงเเรม โรงภาพยนต์ ห้างสรรพสินค้า จะเป็นการเหมาะสม ตามสภาพการใช้งาน มากกว่าการนำไปใช้ตามบ้านพักอาศัยทั่วไป เเรงดันน้ำอย่างต่ำเพื่อให้การชำระล้างมีประสิทธิภาพ เเละไม่รั่วซึม สำหรับโถสุขภัณฑ์ คือ 20 ปอน์ดต่อตารางนิ้ว  โถแบบฟลัชวาล์วมีข้อเสียคือ เวลากดชำระแล้วเสียงดัง  แต่ข้อดีคือ ไม่ต้องรอน้ำเต็มแทงค์เหมือนแบบฟลัชแทงค์ สามารถกดชำระได้ต่อเนื่อง เหมาะกับการใช้งานแบบสาธารณะ

- แบบฟลัชแทงค์  โถชักโครกจะมีแทงค์เก็บน้ำด้านหลัง เก็บน้ำไว้เพื่อใช้กดชำระล้างได้ นิยมใช้กันตามบ้านพักอาศัย โรงแรมขนาดเล็ก ร้านอาหาร อาคารขนาดเล็กต่างๆ

โถชักโครกแบบฟลัชแทงค์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ แบบชิ้นเดียวและแบบสองชิ้น

แบบชิ้นเดียว (One Piece) เป็นชนิดที่ออกแบบให้ถังพักน้ำและโถนั่งรวมกันเป็นชิ้นเดียว ซึ่งมีข้อดี คือ มีระบบกรทำงานที่เงียบ ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึม ติดตั้งได้ง่าย รูปทรงสวยงาม มีหลากหลายดีไซน์ให้เลือก แต่แบบชิ้นเดียวจะมีราคาสูงกว่าแบบสองชิ้น และหากชำรุดเสียหายต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งใบ

แบบสองชิ้น  (Two Piece)

โถชักโครกแบบสองชิ้น จะมีถังพักน้ำแยกกับโถนั่ง ทำให้ขั้นตอนการติดตั้งยุ่งกว่า และมีสิ่งสกปรกตกค้างตามรอยต่อของแต่ละชิ้นส่วนได้ ทำความสะอาดลำบาก เมื่อใช้งานนานไปอาจมีปัญหารั่วซึมตรงรอยต่อได้  แต่แบบสองชิ้นนี้ก็เป็นที่นิยมเพราะราคาถูกกว่าแบบชิ้นเดียว 

การเลือกโถชักโครกควรรู้อะไรบ้าง

1.เช็คตำแหน่งรูท่อน้ำเสียที่ช่างประปาเดินท่อไว้ที่พื้นห้องน้ำ จะเห็นเป็นท่อขนาดใหญ่ 4”  ให้เช็คจุดศุนย์กลางท่อว่าห่างจากผนังเท่าไหร่  และเลือกซื้อสุขภัณฑ์ให้ตรงตามระยะท่อ  แต่หากเป็นห้องน้ำที่สร้างขึ้นใหม่ ปกติช่างประปาจะให้เจ้าของบ้านเช็คโถชักโครกที่ต้องการใช้ว่ามีระยะท่อน้ำเสียห่างจากผนังเท่าไหร่  เนื่องจากโถแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อก็อาจผลิตไม่ตรงกัน   การเลือกโถที่ระยะไม่ตรงกับรูท่อ อาจก่อให้กลิ่นจากการกำจัดของเสียไม่ลงไปในท่อ อาจตกค้างตรงจุดรอยต่อได้

2.สมัยนี้คอนโดหลายๆที่ใช้โถชักโครกแบบแขวนผนัง หรืออาจเป็นแบบท่อออกผนัง การเลือกโถชักโครกควรเช็คให้ดีเสียก่อน  โดยเฉพาะระยะความสูงของท่อควรห่างจากพื้นตามที่โถชักโครกรุ่นนั้นๆระบุไว้  หากระยะๆม่ตรงก็จะติดตั้งไม่ได้ ยากกว่าการติดตั้งแบบท่อลงพื้นเสียอีก

3.ก่อนซื้อควรลองนั่งกับโถที่เราเลือกไว้ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ บางคนชอบชักโครกที่นั่งสูงและเตี้ยต่างกัน บางคนชอบฝารองนั่งที่เอียงรับสะโพกได้ดีนั่งสบาย 

4.ดูระบบการชำระ  ( Flushing ) โดยสุขภัณฑ์แต่ละประเภทมีระบบการชำระล้างที่แยกย่อยออกไป แต่โดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ระบบ คือ

1.ระบบ Wash-Down ใช้หลักการน้ำใหม่แทนน้ำเก่า ในปริมาณที่น้อยกว่าระบบอื่น

2.ระบบ Siphonic  Wash-Down มีระบบการทำงานที่คล้ายกับระบบ Wash-Down แต่มีรูปร่างของคอห่านที่โค้งกลับ ทำให้เกิดกาลักน้ำ ช่วยดึงดูดสิ่งปฏิกูลได้อีกทางหนึ่ง

3.ระบบ Siphon-Jet เป็นระบบที่มีหัวฉีด (Jet Hole) ช่วยเพิ่มแรงดึงดูดของน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น จึงชำระสิ่งปฏิกูลได้รวดเร็วขึ้น

4.ส่วนระบบ Siphon Vortex เมื่อกดชำระ ภายในโถจะเกิดการหมุนวนของน้ำ และดูดสิ่งปฏิกูลได้รวดเร็ว โดยจะชำระล้างด้วยเสียงที่เงียบกว่าระบบอื่นๆ

1.โถสุขภัณฑ์ที่ดี ควรจะมีขนาดคอห่านที่ใหญ่ มีแอ่งกันกลิ่นที่ลึก และมีขนาดของพื้นผิวน้ำกว้าง เพื่อช่วยให้มีคุณสมบัติในการชำระล้างดี  และช่วยป้องกันกลิ่นย้อนกลับ หรือ ป้องกันคราบสิ่งปฏิกูลติดบริเวณผิวรูปภายในของโถสุขภัณฑ์

- A พื้นผิวน้ำขัง (Water Surface) ควรมีขนาดกว้าง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งปฏิกูลติดผิวภายในโถสุขภัณฑ์ครับ

- B แอ่งกันกลิ่น (Water Seal) ควรให้มีขนาดลึก เพื่อป้องกันกลิ่นย้อนกลับ

- C คอห่าน (Trap Way) ถ้ามีคอห่านขนาดใหญ่ จะช่วยป้องกันการอุดตันได้ดีขึ้นครับ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ