"เปลี่ยนโฉมอาคาร ณ ปัจจุบัน" ให้ย้อนเวลาหาอดีตกลับไปเป็นอาคารดั้งเดิมในยุคล่าอาณานิคมฝรั่งเศษในเวียดนาม ด้วยการใช้วัสดุตกแต่งสุดเรียบง่ายที่หาได้ในท้องถิ่น

ในพื้นที่ใจกลางของไซ่ง่อน (หรือที่เรียกว่าเมืองโฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม) มีจุดท่องเที่ยวที่คึกคักอย่างตลาด Ben Thanh โดยอยู่ติดกับโครงการปรับปรุงอาคารเก่าแก่ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ซึ่งก็คือร้านอาหาร Ben Thanh ที่สร้างขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 อาคารแห่งนี้ถูกปรับปรุง รีโนเวทใหม่ในปี 2017 โดย NISHIZAWAARCHITECTS

ร้านอาหาร Ben Thanh มีพื้นที่การใช้งาน 440.0 ตารางเมตร เป็นการรีโนเวทจากอาคารดั้งเดิม ซึ่งถูกออกแบบใหม่ให้อยู่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิกในยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ถือเป็นส่วนสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม และมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่โดดเด่นด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับเมืองไซ่ง่อนได้อย่างประทับใจ 

จากมุมมองของการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม ความพยายามในการรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับรูปแบบดั้งเดิมของเมือง ได้เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญท่ามกลางเมืองที่กำลังพัฒนา และมีสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ทางสถาปัตยกรรมเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่นกระเบื้องเก่าขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เด่นบนหลังคาของตลาดได้รับการแทนที่ด้วยแผ่นโลหะสีแดงบางๆ ที่ลดทอนคุณค่าทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมลงได้อย่างน่าใจหาย ในทำนองเดียวกันอาคารล้อมรอบซึ่งได้รับการพัฒนาร่วมกับตลาดได้รับการแบ่งออกเป็นหลายส่วน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโรงแรม 7 ถึง 8 ชั้นหลายแห่งถูกสร้างขึ้นมาอย่างผิดพลาด ซึ่งผลร้ายของมันอาจทำลายอารยะธรรมทางสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเมืองได้

ในทางกลับกันถ้าเรามองดูกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น เราจะเห็นชาวไซง่อนมีความสุขในการใช้ประโยชน์จากการร่วมพัฒนาเมืองของพวกเขา ผู้คนต่างมั่นใจว่าตนเองสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของเมืองได้อย่างเสรี แม้ว่าพวกเขาจะได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกท้องถิ่น แต่ความรู้สึกพิเศษเหล่านี้ทำให้พวกเขาภูมิใจเมืองของพวกเขามากขึ้น และร่วมด้วยช่วยกันในการสร้างพื้นที่เมืองที่มีชีวิตชีวาขึ้นโดยธรรมชาติแบบเรียบง่าย ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศที่มีความเป็นกันเอง เรียบง่าย อบอุ่นให้กับไซ่ง่อนได้เป็นอย่างมาก

ด้วยสภาพแวดล้อมของเมืองที่มีวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมเก่าแก่อยู่มาก จึงทำให้ชาวไซง่อนค้นพบว่ามันเป็น "อัตลักษณ์เฉพาะตัวของเมืองนี้" ที่มีความเหมาะสมเฉพาะเจาะจงกับไซ่ง่อนโดยเฉพาะ จึงจัดการบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์เอาไว้ทุกจุด แล้วเริ่มโครงการปรับรูปแบบเมืองที่เก่าแก่ให้เข้ากับการทำงานหรือไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยเพิ่มมากขึ้น รวมถึงอาคารเก่าแก่ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสแห่งนี้ ที่อยู่ใกล้ตลาด Ben Thanh ด้วยเช่นกัน

สำหรับโครงการรีโนเวทร้านอาหาร Ben Thanh นี้มีวัตถุประสงค์ของการออกแบบคือ "การปรับปรุงพื้นที่ ที่มีความละเอียดอ่อนซึ่งมีทั้งเรื่องราวประวัติศาสตร์ในอดีต และปัจจุบัน ให้ผสมผสานกลมกลืนเข้าหากันได้อย่างราบรื่น" ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำเสนอแนวคิดแบบไดนามิกมากขึ้นสำหรับพื้นที่ ที่มีความแตกต่างกันในการอาศัย โดยไม่มีความแตกต่างทางด้านบริบทเข้ามากีดขวางซึ่งกัน และกัน

วัตถุประสงค์แรกในการปรับปรุ่งอาคารแห่งนี้ ก็เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และวัสดุตกแต่งอาคารให้กลับไปเป็นองค์ประกอบแบบดั้งเดิม จึงแยกพื้นที่การใช้งานออกเป็นส่วนๆด้วยการแบ่งพาร์ติชัน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำขึ้นมาใหม่ทั้งผนังตกแต่ง และเปลือกอาคาร โดยได้รับแรงบันดาลใจจากคุณสมบัติทางสุนทรียศาสตร์ของเทคนิคการก่อสร้าง และวัสดุสมัยใหม่ โดยนำมาผสมผสานใช้ในการตกแต่งในพื้นที่ต่างๆของอาคาร ซึ่งถูกออกแบบให้มีลักษณะที่คงไว้ซึ่งกลิ่นอายแบบดั้งเดิม เพื่อสร้างความผสมผสานกลมกลืนระหว่างองค์ประกอบสถาปัตยกรรมทั้งแบบเก่า และแบบใหม่ ซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้จะหลีกเลี่ยงการตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ แต่เลือกที่จะถ่ายโอนความรู้ความชำนาญจากการเลือกใช้วัสดุ และรูปแบบการตกแต่งในอดีตไปยังวัสดุใหม่ๆแทน ซึ่งจะทำให้ชาวเมืองซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ รวมถึงนักท่องเที่ยวเพื่อซึมซับจิตวิญญาณของไซ่ง่อนได้อย่างถึงแก่น

วัตถุประสงค์ข้อที่สอง ตามความตั้งใจในการ "ปรับปรุงอาคารแห่งนี้" การสร้างอัตลักษณ์ให้กับอาคารด้วยการดึงบริบทของเมืองให้เข้ามามีบทบาทในการออกแบบนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงปรับปรุงอาคารด้วยการเพิ่มผนัง และพาร์ติชั่นโปร่งใสทั้งพื้นที่ภายใน และภายนอก และเพิ่มพื้นที่ระเบียงเพื่อเปิดรับทัศนียภาพภายนอกได้เพิ่มมากขึ้น โดยในภาพรวมนั้นรูปแบบของการตกแต่งจะเป็นแบบดั้งเดิมในยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งเศษเกือบทั้งหมด จึงเป็นผลให้บริบทที่ค่อนข้างแข็งกระด้างของตลาด Ben Thanh ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกัน ละลายผสมผสานเข้ากับรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของอาคารแห่งนี้ได้อย่างกลมกลืนมากขึ้น โดยผนัง และพาร์ติชั่นโปร่งใสที่ทำเพิ่มขึ้นมาใหม่ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปแบบหน้าต่างของตลาด Ben Thanh ทำมาจากวัสดุกระจกใสกว่า 1,000 ชิ้น แล้วนำมาประกอบขึ้นเป็นผนังกั้นในรูปแบบบานเกร็ดที่เรียบง่าย ซึ่งช่วยถ่ายเทอากาศ และสร้างความปลอดโปร่งได้ดี นอกจากนี้การตกแต่งในส่วนอื่นๆของอาคารก็ล้วนแล้วแต่ใช้วัสดุที่เรียบง่าย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น เช่น เหล็กดัด อิฐ และกระเบื้องเป็นต้น

จากโครงการนี้เราตระหนักดีว่าในบริบทความทันสมัยของไซ่ง่อนนั้น เป็นเรื่องจำเป็นที่การออกแบบเมืองต้องให้ความสำคัญกับเมือง และประชาชนไปพร้อมๆกัน โดยให้นิยามว่า "เมืองแห่งปัญญา" ซึ่งก็คือเมืองที่ประชาชนสามารถเลือก และพิจารณาว่าจะทำอย่างไรกับเมือง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงในปัจจุบัน และอนาคต เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ทั้งคน แลเมืองจึงต้องก้าวเดินไปพร้อมๆกันอย่างสมดุล

ภาพซ้าย - ก่อนการปรับปรุง

ภาพขวา - หลังการปรับปรุง

รูปภาพประกอบจาก www.archdaily.com

ไอเดียการตกแต่งผนัง และพาร์ติชั่นกระจกภายในอาคาร

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ