อัตราการทนไฟ ของวัสดุแต่ละประเภท

วัสดุตกแต่งล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่องานสถาปัตยกรรม เปรียบเสมือนอวัยวะที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน โดยจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้ มิเช่นนั้นสถาปัตยกรรมก็จะขาดความสมบูรณ์ วัสดุแต่ละชนิดนอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว จุดประสงค์หลักๆในการใช้งานล้วนหนีไม่พ้นความคงทนแข็งแรง และให้ความปลอดภัย ไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหว หรือ ไฟไหม้ วัสดุที่ดีจะช่วยเซฟชีวิตผู้ใช้งานได้ อย่างน้อยๆต้องมีความทนทานในระดับหนึ่งเพื่อหน่วงเวลาให้ผู้ที่อยู่ในอาคารหนีออกมาได้ทัน

วันนี้ wazzadu.com จะขอพาทุกท่านไปดูกันว่า วัสดุแต่ละชนิด สามารถทนไฟได้นานเท่าใด ซึ่งจะมีรายละเอียดอะไรที่น่าสนใจนั้น ตามมาชมกันเลยครับ

เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Steel Structure) < คลิ๊กดูข้อมูลวัสดุศาสตร์เพิ่มเติม

คือ เหล็กที่มีการรีด ตอนที่เหล็กยังมีอุณหภูมิสูงประมาณ 1,200 องศา เพื่อให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ เช่น เหล็ก H-Bean, I-Beam, Channel ซึ่งในการรีดเหล็กในขณะที่มีอุณหภูมิสูงนี้ เป็นกรรมวิธีที่ให้ความร้อนแก่เหล็กและทำให้เหล็กเย็นตัวลงเป็นลำดับ เพื่อลดความเครียดในเนื้อเหล็กและทำให้ผลึกเหล็กมีความละเอียดมากขึ้น ซึ่งทำให้เหล็กมีกำลังและความเหนียวสูงขึ้น มักนิยมนำไปใช้กันมากในงานโครงสร้างสถาปัตยกรรม และงานสาธารณูปโภคต่างๆ ก็คือ เหล็ก H-Bean, I-Beam, Channel ,Cut beam ฯลฯ

เหล็กรูปพรรณรีดร้อน มีอัตราการทนไฟเฉลี่ย : 2-3 ชั่วโมง

*ในกรณีที่มีการหุ้มเหล็กรูปพรรณด้วยคอนกรีต หรือ หุ้มด้วยสาร หรือ วัสดุกันลามไฟชนิดอื่นๆ จะทำให้อัตราเฉลี่ยนทนไฟได้นานมากขึ้น

กระจกลามิเนต (Laminated Glass) < คลิ๊กดูข้อมูลวัสดุศาสตร์เพิ่มเติม

กระจกลามิเนต จัดเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง ที่เวลาแตกแล้วเศษกระจกจะยังคงยึดติดกันโดยไม่ร่วงหล่น เพราะมีชั้นฟิล์มที่ยึดเกาะระหว่างแผ่นกระจกเหมือนกับใยแมงมุม โดยเป็นการนำเอากระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Safe Glass) หรือกระจกธรรมดา (Annealed Glass / Floated Glass) จำนวน 2 แผ่น หรือ มากกว่า แล้วนำมาประกบติดกันโดยมีชั้นฟิล์มคั่นกลางระหว่างกระจก เราจึงเรียกกระจกที่ผ่านกระบวนการผลิตในลักษณะนี้ว่า กระจกลามิเนต (Laminated Glass) นั่นเอง

กระจกลามิเนต มีอัตราการทนไฟเฉลี่ย : ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

ไม้จริง  (Natural Wood) < คลิ๊กดูข้อมูลวัสดุศาสตร์เพิ่มเติม

ไม้จริง ถือ เป็นวัสดุหลัก และวัสดุดั้งเดิมที่ใช้ในการตกแต่งงานสถาปัตยกรรมมาช้านานทั้งภายใน และภายนอกอาคาร เนื่องจากอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของไม้จริง ไม่ว่าจะเป็นความโดดเด่นของลายวงปี ผิวสัมผัสลายเสี้ยนไม้ และโทนสีที่ไม่ซ้ำกัน ยากที่จะมีวัสดุอื่นๆมาทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม้จริงที่นิยมนำมาใช้ตั้งแต่ดั้งเดิมมีหลากหลายประเภท เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้เต็ง ฯลฯ

ไม้จริง มีอัตราการทนไฟเฉลี่ย : 0.30 -1.30 ชั่วโมง

อลูมิเนียม คอมโพสิต (Aluminum Composite) < คลิ๊กดูข้อมูลวัสดุศาสตร์เพิ่มเติม

หรือที่เรียกว่า อลูมิเนียม แคลดดิ้ง (Cladding) จัดอยู่ในกลุ่มโครงสร้างผนังเบา เป็นวัสดุที่ถูกพัฒนาขึ้น โดยการนำคุณสมบัติของวัสดุต่างชนิดมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้วัสดุชนิดใหม่ที่มีคุณภาพสูง โดยมีลักษณะโครงสร้างแบบแซนวิช ซึ่งประกอบด้วยแผ่นประกบด้านบน และด้านล่าง ซึ่งมีความบางแต่มีความแข็งแรงสูง ส่วนแกนกลางเป็นวัสดุอ่อน

จึงทำให้อลูมิเนียม คอมโพสิต มีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแกร่ง และทนรับกับทุกสภาวะอากาศที่มีความเป็นกรดด่าง หรือ ความชื่นที่แตกต่างกัน โดยสามารถใช้ในงานสถาปัตยกรรมได้ดีทั้งภายนอก และภายในอาคาร อีกทั้งยังสามารถเนรมิตรรูปทรงได้อย่างหลากหลายซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ และเพิ่มขีดความสามารถในด้านการออกแบบที่มากขึ้น

อลูมิเนียม คอมโพสิต มีอัตราการทนไฟเฉลี่ย : 1 - 2 ชั่วโมง

แผ่นซีเมนต์บอร์ด (Cement Board) < คลิ๊กดูข้อมูลวัสดุศาสตร์เพิ่มเติม

แผ่นซีเมนต์บอร์ด ผลิตโดยการนำไม้ปลูกมาสกัดย่อยเป็นชิ้นเล็กละเอียด แล้วผสมเข้ากับซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงนำมาขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีพิเศษ โดยให้ส่วนผสมละเอียดอยู่บนผิวหน้า ส่วนผสมหยาบจะอยู่กลางแผ่น และประสานกันให้เกิดความแข็งแรง ซึ่งการขึ้นรูปแบบต่อเนื่องในขั้นตอนเดียวทำให้ซีเมนต์บอร์ดกลายเป็นวัสดุเนื้อเดียวกันทั้งแผ่นปราศจากความเสี่ยงจากการแยกชั้น โดยนำไปอัดด้วยแรงกดสูงจนได้ความหนาที่ต้องการ ซึ่งทำให้ซีเมนต์ที่ห่อหุ้ม และแทรกตัวอยู่ในเนื้อไม้ประสานเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีความคงทน และไม่ผุกร่อน

แผ่นซีเมนต์บอร์ด มีอัตราการทนไฟเฉลี่ย : 1 - 2 ชั่วโมง

อิฐมวลเบา​  (Lightweight Concrete)

อิฐมวลเบา ผลิตขึ้นจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูง ,ทรายบดละเอียด ,ปูนขาว ,ยิปซั่ม ,ผงอะลูมิเนียม และน้ำสะอาด วัตถุดิบทั้งหมดจะถูกผสมเข้าด้วยกันอยู่ในรูปแบบของเหลว เกิดปฏิกิริยาทางเคมีของส่วนผสม ทำให้เกิดฟองอากาศเล็กๆมากมายกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีตมวลเบาแต่ไม่เชื่อมต่อกัน ฟองอากาศเหล่านี้ทำให้มีน้ำหนักเบา และเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีเยี่ยม หลังจากนั้นคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัวเต็มที่จะถูกตัดแบ่งตามขนาดของบล็อกที่ต้องการ แล้วเก็บบ่มไว้ระยะเวลาหนึ่ง จึงนำเข้าอบด้วยไอน้ำที่มีอุณหภูมิ และแรงดันสูงเป็นเวลานาน บล็อกจึงเกิดเป็นผลึกที่มีความแข็งแรงสูงและทนต่อความร้อนได้ดี

อิฐมวลเบา มีอัตราการทนไฟเฉลี่ย : 2 - 4 ชั่วโมง

ไม้แปรรูป CLT  (Cross-Laminated Timber​) < คลิ๊กดูข้อมูลวัสดุศาสตร์เพิ่มเติม

เทคโนโลยีไม้แปรรูป CLT ที่มีชื่อเรียกว่า Cross-Laminated Timber ได้จากการนำไม้หลายๆ ชิ้น มาเชื่อมอัดเข้าด้วยกาวต่อกันเป็นชั้นเลเยอร์ ในลักษณะครอสแนวขวางสลับกันไปมาในแต่ละชั้นเลเยอร์ นั่นจึงทำให้มวลของไม้ CLT มีความหนาแน่น และมีความแข็งแรงในการรับน้ำหนักเกินกว่าไม้ทั่วๆไป 

ไม้แปรรูป CLT มีคุณสมบัติที่น่าทึ่งชนิดที่ใครหลายคนอาจคาดไม่ถึง ก็คือการทนไฟได้ดี เพราะเมื่ออาคารติดไฟ ไม้แปรรูป CLT ที่ใช้สร้างอาคารจะสามารถต้านทานไฟได้ไม่แพ้วัสดุชนิดอื่นๆ เพราะเมื่อผิวหน้าของไม้ถูกไฟเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 400 องศาเซลเซียสในอัตราเผาไหม้คงที่ (CLT Wood Burning Rate) จะทำให้ผิวชั้นนอกกลายเป็นชั้นของถ่านสีดำ ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนเป็นแนวกันไฟที่คอยเป็นชั้นป้องกันการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิภายในแกนกลางของเนื้อไม้ ซึ่งจะช่วยชะลอเวลาการวิบัติของโครงสร้างอาคาร

ไม้แปรรูป CLT​ มีอัตราการทนไฟเฉลี่ย : 1.45 - 2 ชั่วโมง

เฟรมอลูมิเนียม  (Aluminium Profile​) < คลิ๊กดูข้อมูลวัสดุศาสตร์เพิ่มเติม

เฟรมอลูมิเนียม ผลิตมาจากการนำแร่บอกไซด์มาถลุงจนได้อลูมิน่าบริสุทธิ์ และนำอลูมิน่าเข้าหลอมจนได้เป็นแท่งอลูมิเนียมบริสุทธิ์ แล้วนำไปแปรรูปด้วยแม่พิมพ์ที่มีขนาด และรูปทรงหน้าตัดที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้เส้นอลูลิเนียมโปรไฟล์สำหรับใช้ในงานระบบประตู-หน้าต่าง ที่เหมาะสมกับประเภทการใช้งานแต่ละแบบ 

นอกจากนี้เฟรมอลูมิเนียม ยังมีคุณสมบัติไม่ก่อให้เกิดสนิม ทนฝน (อลูมิเนียมเกรดสูงๆจะป้องกันน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ทนแดด หรือ ความร้อนได้ดี มีมวลโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน จึงคงรูปไม่เกิดการบิดงอ สามารถใช้ทดแทนไม้ เหล็ก และ พลาสติคได้ นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้งานในการตกแต่งได้อย่างหลากหลาย มีความสวยงามทันสมัย อีกทั้งยังใช้ร่วมกับฟิตติ้ง หรือ อุปกรณ์ประกอบอื่นๆได้ง่าย 

เฟรมอลูมิเนียม มีอัตราการทนไฟเฉลี่ย : 0.30 - 2 ชั่วโมง

ทั้งนี้ทั้งนั้นวัสดุแต่ละชนิดล้วนมีจุดดี และจุดด้อยที่แตกต่างกันไป นอกจากอัตราการทนไฟเฉลี่ยแบบปกติแล้ว ยังมีองค์ประกอบ หรือ ปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องในการลามไฟด้วย อาทิเช่น ความบกพร่องในการออกแบบ ,คุณภาพผลิตภัณฑ์แต่ละยี่ห้อ หรือ สภาพการใช้งานที่ทรุดโทรม

นอกจากนี้วัสดุบางชนิดยังสามารถทำให้ทนไฟได้นานขึ้น แต่ต้องพึ่งพาการใช้สารเคลือบกันไฟ หรือ ใช้วัสดุอื่นๆมาปิดทับอีกชั้นเพื่อให้มีขีดความสามารถในการทนความร้อนที่สูงขึ้นกว่าอัตราการทนไฟแบบปกติ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ