แผ่นซับเสียง ดูดซับเสียงได้อย่างไร

เราจะพบว่าบางสถานที่ที่มีการติดตั้งแผ่นซับเสียง วัสดุซับเสียง บริเวณนั้นจะเงียบสงบและไร้เสียงสะท้อน ทำให้การพูดคุยกันหรือการประชุมไร้ปัญหาเสียงก้องรบกวน ไม่ว่าจะพูดคุยกันธรรมดาหรือว่าพูดผ่านไมโครโฟนและเครื่องขยายเสียง บรรยากาศภายในพื้นที่นั้นจะรู้สึกได้ถึงความสงบ ความมีสมาธิ ไม่ต้องตะเบ็งเสียงหรือตะโกนเพื่อให้เสียงสนทนาดังกว่าเสียงก้องเสียงสะท้อนที่รบกวน (กรณีไม่มีแผ่นซับเสียง)

แผ่นซับเสียงมีมากมายหลายรูปแบบและผลิตขึ้นจากวัสดุที่มีลักษณะเป็นโพรงหรือเป็นรูพรุนอยู่ด้านในแผ่น วัสดุที่นิยมนำมาผลิตแผ่นซับเสียงได้แก่ วัสดุประเภทใยแก้วแบบเส้นสั้นอัดแน่นประเภทความหนาแน่นต่ำ (96 kg/m3 หรือต่ำกว่า) วัสดุใยแก้วแบบเส้นสั้นอัดแน่นประเภทความหนาแน่นสูง (128 kg/m3 หรือสูงกว่า) วัสดุประเภทใยหิน (โดยทั่วไปมีความหนาเริ่มต้นที่ 50 mm) วัสดุประเภทใยพลาสติค เช่น เส้นใยโปลีเอสเตอร์ เส้นใยโพลีโพรไพลีน วัสดุจำพวกโพลียูรีเทน วัสดุจำพวกเยื่อกระดาษและเยื่อไม้ เป็นต้น

หลักการทำงานในการลดเสียงของแผ่นซับเสียงคือ คือเมื่อคลื่นเสียงเดินทางมาสัมผัสหรือกระทบกับแผ่นซับเสียง พลังงานเสียงส่วนหนึ่งจะเข้าไปเจอกับโพรงหรือรูพรุนในเนื้อวัสดุนั้นและกลายเป็นพลังงานความร้อนสะสมอยู่ในเนื้อวัสดุ ส่วนพลังงานเสียงที่เกินกว่าที่เนื้อวัสดุจะรับได้ก็จะทะลุผ่านแผ่นซับเสียงไปส่วนหนึ่ง พลังงานเสียงอีกบางส่วนก็จะสะท้อนกลับออกไป จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเราจะพบว่าพลังงานเสียงส่วนหนึ่งโดนเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนในเนื้อวัสดุแผ่นซับเสียง ทำให้พลังงานเสียงที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นลดลง ส่งผลให้ระดับเสียงในห้องหรือพื้นที่ที่ใช้แผ่นซับเสียงมีความดังลดลงนั่นเอง

ที่ต้องทำความเข้าใจคือแผ่นซับเสียงจะใช้สำหรับลดเสียงรบกวนได้ดี ในกรณีที่เป็นเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้องปิด ที่มีพลังงานเสียงไม่มากจนเกินไปเท่านั้น และแผ่นซับเสียงที่ผลิตจากวัสดุต่างกัน ก็จะซับเสียงหรือลดเสียงได้ไม่เท่ากัน แม้ว่าตามเอกสารการทดสอบจะระบุว่าซับเสียงได้เท่ากันก็ตาม เนื่องจากการทดสอบนั้นกระทำในห้องปฏิบัติการที่มีการควบคุมตัวแปร แต่สำหรับการใช้งานแผ่นซับเสียงในชีวิตประจำวันจริง ขนาดของห้องหรือพื้นบที่ สิ่งแวดล้อมต่างๆภายในห้อง รวมไปถึงระดับเสียงรบกวนภายในห้องนั้น ล้วนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูดกลืนเสียงของแผ่นซับเสียงทั้งสิ้น

จึงพอสรุปได้กว้างๆว่า การแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนภายในห้องหรืออาคารโดยใช้แผ่นซับเสียง จะได้ผลดีกว่าการติดแผ่นซับเสียงสำหรับแก้ปัญหาเสียงดังในห้องทำงานของเครื่องจักรหรือไลน์ผลิตในโรงงาน

Heat & Sound Insulation
LINE ID: @newtechinsulation
ยินดีให้บริการ งานฉนวนกันความร้อน และฉนวนกันเสียง
โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมสินค้าคุณภาพจากเยอรมนี ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

แนะนำสินค้า และบริการ
ฉนวนกันเสียงผนังเบา
การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
แผ่นซับเสียง คืออะไร
การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ห้องเก็บเสียง

ไอเดียมาใหม่

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

Gate

writer

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ