กำแพงกันดินมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติในการใช้งานอย่างไร ?

กำแพงกันดิน (Retaining Wall) ทำหน้าที่ในการรองรับแรงดันจากมวลดิน และมวลของเหลวตามธรรมชาติ เช่น น้ำ หรือ โคลน รวมถึงแรงกดทับต่างๆ ที่มาจากด้านบน ซึ่งกำแพงกันดินจะมีลักษณะเป็นโครงสร้างผนังกันดินที่มีความหนา และมีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ และมีบทบาทสำคัญต่อการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน อาทิ การตกแต่งภูมิทัศน์ การสร้างเขื่อน อุโมงค์ กำแพงกันดินสไลด์ตามฝั่งแม่้น้ำเพื่อลดการทรุดตัวของดิน การสร้างสะพาน การก่อสร้างบริเวณแนวภูเขาที่มีความลาดชันเพื่อป้องกันดินถล่ม หรือ บริเวณที่ราบสูง ไปจนถึงงานโครงสร้างชั้นใต้ดินของอาคารขนาดใหญ่ หรือ ตึกสูงระฟ้า และอาคารบ้านเรือน เป็นต้น

ต้นปี ค.ศ.1900 กำแพงกันดินมักจะทำมาจากวัสดุจำพวกไม้ที่มีความแข็งแรงสูง เช่น ไม้ยูคา ไม้ไผ่ ไม้สัก และไม้เนื้อแข็งต่างๆ ต่อมาหลังปี ค.ศ.1970 มีการพัฒนาในด้านการใช้วัสดุ โดยเปลี่ยนมาใช้เหล็กชีทไพล์ ซีเมนต์ และคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง ทดแทนการใช้ไม้เพื่อตอบโจทย์มาตรฐานทางด้านวิศวกรรม โดยจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆตามรูปแบบการใช้งานดังนี้

  • Gravity Wall
  • Piling Wall
  • Cantilever Wall
  • Anchored Wall
  • Diaphragm Wall

ในทุกวันนี้กำแพงกันดินถูกพัฒนาจนมีรูปแบบ กำแพงกันดินแบบสำเร็จรูป (Retaining Wall Block) หรือ กำแพงกันดินแบบหล่อสำเร็จ เพื่อเพิ่มความสะดวกไม่ว่าจะเป็นด้านการขนส่งและด้านการก่อสร้าง อีกทั้งยังช่วยลดการใช้แรงงาน ซึ่งกำแพงกันดินแบบสำเร็จรูปในปัจจุบันก็มีให้เลือกมากมายหลายรูปแบบเช่นกัน

ตัวอย่างกำแพงกันดิน

กำแพงกันดินคอนกรีตสำเร็จรูปพร้อมฐานแผ่

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • ขนส่งและเคลื่อนย้ายสะดวก เพราะมีลักษณะเป็นยูนิต 
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียง ขุดเคลียร์หน้าดิน เทลีน วางกำแพง จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการก็เป็นอันเสร็จสิ้น 
  • เป็นกำแพงกันดินที่มีฐานแผ่ และรูระบายน้ำในตัว
  • สามารถใช้เป็นรั้วสำเร็จรูปในตัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำ Dowel (เส้นเหล็กเดือย) เพื่อต่อกำแพง ด้านบนกำแพงกันดินให้สูงขึ้นได้
  • มีความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • มีขนาดให้เลือกหลากหลาย เช่น ขนาดเล็ก 60x50x100 หนา 10 cm ,ขนาดกลาง 210x180x200 หนา 17.5 cm และขนาดใหญ่ 420x360x100 หนา 30 cm

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ และใช้เป็นรั้วคอนกรีตไปในตัว

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดเล็ก (ผิวหน้าเรียบ)

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • ลักษณะผิวหน้าแบบเรียบ จึงทำให้งานดีไซน์ดูโมเดิร์น
  • ขนส่ง และเคลื่อนย้ายได้ง่าย เพราะมีลักษณะเป็นยูนิตขนาดเล็ก 
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียงขุดเคลียร์หน้าดิน ,เทลีน ,วางบล็อกกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา ทำให้ใช้ประโยนช์เนื้อที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 50 x 48.5 x 25 cm. นำ้หนัก 70 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม โดยสามารถปลูกพืช และต้นไม้เพื่อเสริมสร้างทัศยนียภาพได้
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ 
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดเล็ก (ผิวหน้าลอนคลื่น)

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • ลักษณะผิวหน้าแบบลอนคลื่น นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังช่วยป้องกันการกัดเซาะได้ดีอีกด้วย
  • มีข้อดีเรื่องการขนส่งง่ายเช่นกัน 
  • ติดตั้งได้ง่าย โดยใช้วิธีการเคลียร์หน้าดิน เทลีน วางบล็อกกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน ช่วยเพิ่มความแข็งแรง และมีประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา ทำให้ใช้ประโยนช์เนื้อที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 50 x 48.5 x 25 cm. นำ้หนัก 70 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม โดยสามารถปลูกพืช และต้นไม้เพื่อเสริมสร้างทัศยนียภาพได้
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ 
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดใหญ่ (ผิวหน้าเรียบ)

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • ลักษณะผิวหน้าเรียบ 
  • ขนส่งและติดตั้งได้ง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา และแนวตั้งแบบขั้นบันได
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดที่มีในท้องตลาดคือ 100x75x50 cm. น้ำหนัก 450 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ในพื้นที่ลาดชัน หรือ พื้นที่ลาดเชิงเขา
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ หรือ บ่อน้ำ
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดใหญ่ (ผิวหน้าโค้ง)

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • เป็นกำแพงกันดินที่มีผิวหน้าโค้ง ช่วยให้แนวกำแพงกันดินมีมีติที่ดูสวยงาม
  • มีลักษณะเป็นยูนิต จึงทำให้ง่ายต่อการขนส่งและเคลื่อนย้าย
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียงขุดเคลียร์หน้าดิน เทลีน วางกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา และแนวตั้งแบบขั้นบันได
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 100x75x50 cm. น้ำหนัก 450 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ในพื้นที่ลาดชัน หรือ พื้นที่ลาดเชิงเขา
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ หรือ บ่อน้ำ
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

กำแพงกันดิน Diaphragm Wall 

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • เป็นระบบที่ใช้คอนกรีตหล่อในที่ คล้ายคลึงการทำเสาเข็มเจาะระบบเปียก
  • ระบบการก่อสร้างนี้สามารถที่จะกันน้ำใต้ดินได้ดี
  • สามารถดัดแปลงมาใช้กับเทคนิคการก่อสร้างโครงสร้างใต้ดิน และ ระบบโครงสร้างที่ทำการก่อสร้างจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง หรือ TOP-DOWN ได้ดี
  • สามารถนำมาใช้ในงานขุดเจาะลงไปในพื้นที่เมืองซึ่งมีสิ่งก่อสร้างหนาแน่น
  • เทคโนโลยี DIAPHRAGM WALL ช่วยทำให้สามารถก่อสร้างชั้นใต้ดินได้ลึกยิ่งขึ้น

การใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ตามฝั่งแม่น้ำเพื่อลดการทรุดตัวของดิน
  • ใช้ในงานกันดิน สำหรับการการตกแต่งภูมิทัศน์ 
  • ใช้ในงานการสร้างเขื่อน หรืออุโมงค์
  • การก่อสร้างบริเวณแนวภูเขาที่มีความลาดชันเพื่อป้องกันดินถล่ม 
  • งานโครงสร้างชั้นใต้ดินของอาคารขนาดใหญ่

นอกจากกำแพงกันดินที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ยังมีรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นกำแพงกันดินแบบไหน ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบทั่วไป ควรมีการปรึกษาวิศวกรผู้ที่มีชำนาญในด้านการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันดินโดยเฉพาะ เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้งานที่เหมาะสม รวมไปถึงการประเมินสภาพพื้นที่ก่อสร้าง และการคำนวนแรงดันของดินที่ถูกต้องแม่นยำ จะทำให้สามารถเลือกใช้กำแพงกันดินที่เหมาะสมกับงานโครงการและลดการใช้งบประมาณที่อาจจะบานปลายในภายหลัง

 

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก

  • แบรนด์ CPS - CCP Pavingstone
  • micro-pile. com
  • wikipedia

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ