ความแตกต่างของงานติดตั้งฐานรากเสาเข็ม ระหว่างเสาเข็มเหล็ก และเสาเข็มแบบทั่วไป

เสาเข็ม ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบฐานรากอาคาร ซึ่งถูกคิดค้น และใช้งานมายาวนานนับพันปีตั้งแต่ยุคโรมัน และมีวิวัฒนาการต่อมาเรื่อยๆจนถึงยุคปัจจุบัน โดยมีการพัฒนารูปแบบเสาเข็มออกมาอย่างหลากหลาย ซึ่งเสาเข็มแต่ละรูปแบบก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทการใช้งาน แต่หลักๆแล้วเสาเข็มที่เรารู้จักล้วนทำมาจากวัสดุที่เราคุ้นเคยอย่างเช่น ไม้(ในปัจจุบันลดความนิยมลง) ,ปูน และเหล็ก โดยมีวิธีการติดตั้งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

วันนี้เราจึงพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ "ความแตกต่างของรายละเอียดงานติดตั้งฐานรากเสาเข็ม ระหว่างเสาเข็มเหล็ก และเสาเข็มแบบทั่วไป" ซึ่งจะมีความแตกต่างของวิธีการติดตั้ง ,เวลา ,จำนวนแรงงาน และค่าใช้จ่าย อย่างไรบ้างนั้นตามมาชมกันเลยครับ

งานติดตั้งฐานรากเสาเข็มแบบทั่วไป

วันที่ 1 สำรวจชั้นดิน และพื้นที่หน้างานที่จะทำการเจาะเข็ม

วันที่ 2 เคลียร์พื้นที่หน้างานเพื่อเตรียมนำเครื่องจักรปั้นจั่นเข้ามาที่ไซต์ และเตรียมเปิดหน้าดินสำหรับการเจาะ

วันที่ 3 นำปั้นจั่นเข้ามาที่ไซต์ และประกอบปั้นจั่นให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมการเจาะชั้นดิน

วันที่ 4 ปั้นจั่นดำเนินการเจาะชั้นดินตามจุดที่สถาปนิก และวิศวกร วางตำแหน่งเสาเข็มไว้

วันที่ 5 หลังจากที่ปั้นจั่นดำเนินการเจาะชั้นดินนำร่องไปแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนการตอกเสาเข็มปูนตามจุดที่สถาปนิก หรือ วิศวกร วางตำแหน่งไว้ ซึ่งจะช้าหรือเร็ว จะขึ้นอยู่กับจำนวนเสาเข็ม ซึ่งอาจจะมีผลกับเวลาในการเคลื่อนย้ายปั้นจั่นไปยังตำแหน่งต่างๆด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนงานติดตั้งฐานรากเสาเข็มเหล็ก (สามารถติดตั้งเสร็จภายใน 1 วัน)

- สำรวจพื้นที่หน้างาน และนำอุปกรณ์ติดตั้งเสาเข็มเหล็กเข้าไซต์เพื่อเตรียมติดตั้งได้ทันที

- ฐานรากเข็มเหล็ก เป็นเสาเข็มชนิดสั้นจึงสามารถติดตั้งด้วยการเจาะลงไปในชั้นดินได้เลย โดยลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาเปิดหน้าดิน หรือ เจาะชั้นดินนำร่อง จึงทำให้การดำเนินงานเสร็จเร็วกว่าการติดตั้งเสาเข็มแบบทั่วไปถึง 5 เท่า

- ใช้เวลาเจาะ 30 นาที / ต้น  สามารถติดตั้งได้แม้ในพื้นที่แคบๆ โดยใช้แรงงานที่ติดตั้งเพียง 2-3 คน เท่านั้น (ใช้จำนวนแรงงานน้อยกว่าการติดตั้งเสาเข็มแบบทั่วไป)

- สามารถดำเนินงานโครงสร้างต่อจากงานฐานรากได้ทันที

คุณสมบัติเด่นในงานติดตั้งของระบบฐานราก"เข็มเหล็ก" 

นอกจากคุณสมบัติเด่นในด้านการติดตั้งที่สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว แม้ในพื้นที่แคบ และความมั่นคงแข็งแรงแล้ว ฐานราก"เข็มเหล็ก"ยังมีคุณสมบัติเด่นที่ช่วยแก้ปัญหาอื่นๆอีก เช่น

- ช่วยให้สามารถควบคุมเวลา และค่าใช้จ่ายได้โดยไม่บานปลาย เพราะสามารถคำนวณจำนวนแรงงาน และเวลาในการติดตั้งได้แม่นยำ

- ช่วยให้หน้างานสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยไม่มีเศษดิน เศษปูนเปรอะเปื้อน เพราะไม่ต้องเปิดหน้าดินในการติดตั้ง ไม่ต้องใช้แบบหล่อ และเหล็กเส้น

- หมดปัญหาเรื่องมลพิษทางเสียงจากการตอกเข็มแบบเดิมๆ เนื่องจากฐานรากเข็มเหล็ก สามารถติดตั้งเจาะลงไปในชั้นดินได้เลย เปรียบเสมือนกับการขันสกรู หรือ น็อตลงไปในเนื้อไม้ จึงมีความเงียบ และไม่ทำให้สกปรก

- หมดปัญหาเรื่องแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเข็มแบบเดิมๆ

- สามารถติดตั้ง และถอนออกจากชั้นดินได้ง่ายดาย และรวดเร็ว จึงสามารถเคลื่อนย้ายไปที่ใดก็ได้

วิธีการติดตั้งงานฐานรากเข็มเหล็ก 3 รูปแบบ 

สำหรับท่านที่สนใจ 

สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ kemrex Call Center  02-026-3140 ต่อ 0​ ​

Website : www.kemrex.com​  ,FB Page  Kemrex​

Kemrex
จากประสบการณ์การทำงานด้านวิศวกรรมมากกว่า 50 ปี ของ SUTEE GROUP ทำให้ทราบถึงปัญหาและความยุ่งยากของระบบฐ
านรากในรูปแบบเดิม เช่น การควบคุมระยะเวลา และปัญหาด้านค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการเกิดความเสียหายของพื้นที่บริเวณใกล้เคียง บริษัท SUTEE GROUP จึงนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีระบบฐานรากแบบใหม่จากเยอรมนี ซึ่งเป็นที่ยอมรับด้านวิศวกรรมมาตราฐานระดับสากลมาเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับงานก่อสร้าง โครงสร้างทุกรูปแบบและบริษัทเข็มเหล็กยังเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเจ้าเดียวในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย

เข็มเหล็ก ผู้นำนวัตกรรมด้านฐานราก โดยพลิกโฉมระบบฐานรากของเมืองไทยและภาคพื้นเอเชีย ให้การก่อสร้างระบบฐานรากเป็นเรื่องง่าย ควบคุมได้แม่นยำ ทั้งในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจของคุณและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ตอบรับการขยายตัวของประเทศไทยและประเทศในภาคพื้นเอเชีย สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

ลูกค้าที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์เข็มเหล็ก ทางบริษัทฯ จะให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การแนะนำผลิตภัณฑ์ ปรึกษาการใช้งานเบื้องต้น โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรคอยให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

Kemrex

brand

โพสต์เมื่อ

Kemrex

brand

โพสต์เมื่อ

Kemrex

brand

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ