ไม้โครง (Joint) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

ไม้โครง สำหรับ งานเฟอร์นิเจอร์บิลด์อิน ก็คือไม้ที่นำมาใช้เป็นโครงสร้างหลัก ของแผ่นพื้น แผงตู้ หรือบาน ที่ต้องนำไม้อัดมาประกบจะ1ด้าน หรือ2ด้าน ก็ตาม ทำหน้าที่เป็นตัวทำให้โครงสร้างเฟอร์นิเจอร์บิลด์อิน เกิดความแข็งแรง หรือเรียกง่ายๆว่าเป็น "กระดูก" ที่นิยมจะเป็นโครงไม้จริง บางทีก็มีบ้างที่ใช้ไม้อัด MDF ปาร์ติเกิล หรือพวกบล็อคบอร์ด มาทำเป็นตัวโครง เพื่อลดการบิดตัวและลดต้นทุน แต่จะแข็งแรงสู้ไม้จริงไม่ได้ แต่ในที่นี้ จะขอกล่าวเฉพาะในส่วนของไม้จริง

หน้าที่หลัก  

 ใช้ เป็นตัวโครงสร้างหลัก(ถ้าเปรียบกับการสร้างบ้านก็คืองานโครงสร้าง พวก เสา คาน นั่นเอง)  หรือเป็นการขึ้นตู้ ก่อนที่จะนำไม้อัดมาประกบ และเป็นตัวที่ใช้ในการนำไปจับยึด จากตะปูเกลียวหรือตะปูให้เกิดความแข็งแรง ของตู้หรือตัวเฟอร์นิเจอร์นั่นเอง

รูปแบบไม้โครง มีทั้งแบบเป็นเส้นไม้ท่อนเดียว(ไม้เนื้อ)  หรือนำมาต่อๆกันด้วยเศษไม้ (ไม้จ๊อย)  แต่ไม้เนื้อจะราคาแพงกว่า หายากกว่า และมีโอกาสบิดเบี้ยวได้มากกว่า ไม่ค่อยนิยม และในที่นี้จะกล่าวถึง ไม้โครงแบบต่อ(จ๊อย) ซึ่งนิยมกว่าและทำงานง่ายกว่า นอกจากนี้ยังเป็นการนำไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

รูปแบบการต่อไม้

ขนาดของไม้โครง 

ไม้โครงเป็นการนำไม้แปรรูปมาไสให้ได้ขนาด หนาประมาณ 17.5 , 20-22 มม. กว้างประมาณ 35 ,42 -45 มม. ยาว 2.5ม.   ที่นิยมมาจำหน่ายในท้องตลาด (เป็นขนาดโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต) และจะมัดรวมกันมา มัดละ 10ท่อน

ชนิดของไม้โครง

ไม้โครง มีด้วยกันหลายชนิด ในที่นี้จะนำมาเปรียบเทียบแบบที่มีจำหน่าย ทั่วไป

โครงมีขนาดสำเร็จ ยาว 2.5ม  หนา 17มม กว้าง 42มม  มัดละ 10ท่อนทำมาขายเป็นมัดๆ

ถึงแม้ในขั้นตอนการผลิตจะมีการอบน้ำยากันปลวกมาแล้ว แต่ช่างเฟอร์นิเจอร์มักจะทาน้ำยากันปลวกที่โครงไม้ให้อีกครั้งนึงเพื่อความมั่นใจ แต่น้ำยากันปลวกก็มีอายุการใช้งานขึ้นอยู่กับน้ำยาที่ใช้ ดังนั้นหากต้องการโครงไม้ที่ปลวกไม่กินก็ให้เลือกโครงไม้สักเนื้อหรือสักจ๊อยเท่านั้น  ส่วนโครงไม้สักสวนป่าเป็นไม้ที่เนื้อยังอ่อนอยู่ ปลวกกิน โดยเฉพาะตรงกระพี้ไม้ หรือส่วนเนื้อไม้สีขาวๆ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ