กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) กับคุณสมบัติที่ควรรู้ก่อนนำไปใช้งาน

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass หรือ T/P ) หรือที่เรียกทั่วไปว่ากระจกอบเป็นกระจกที่นิยมใช้เป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อกระจกเทมเปอร์แตกมันจะแตกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดและไม่มีคมจึงเกิดอันตรายน้อย ซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่แตกเป็นเสี่ยง จึงแหลมคมทำให้เป็นอันตรายมากกว่า นอกจากนี้กระจกเทมเปอร์ยังแข็งกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่า

Raw material  ส่วนผสมการผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) คือการนำกระจกธรรมดาไปผ่านกระบวนการอบที่ความร้อนสูงประมาณ 650 องศาเซลเซียส แล้วนำมาเป่าด้วยลมแรงดันสูงให้เย็นตัวลงทันที เพื่อให้กระจกเกิดความแข็งแกร่งกว่าเดิม 3-5 เท่า ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และมีความปลอดภัยมากขึ้น ในกรณีที่กระจกเทมเปอร์เกิดการแตกหัก จะแตกออกเป็นเม็ดคล้ายเม็ดข้าวโพด ซึ่งมีความแหลมคมไม่มาก ทำให้มีโอกาสเกิดอันตรายน้อยกว่ากระจกธรรมดา เหมาะสำหรับงานที่มีความเสี่ยงต่อการแตกร้าวและต้องการความปลอดภัยที่เกิดจากกระจกแตกร้าว (safety)

 

กระบวนการผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์ เริ่มด้วยการนำกระจกธรรมดาอบด้วยความร้อนจนมีความร้อนประมาณ 650ºC แล้วเป่าด้วยลมให้เย็นลงอย่างรวดเร็วทันที ผิวนอกของกระจกจะแข็งก่อนกระจกที่อยู่ภายใน ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรียงตัวของโมเลกุลกระจก และเกิดความเครียดในเนื้อกระจก ผลของความเครียดนี้ทำให้เกิดเส้นแรงสองชนิด โดยชนิดแรกเป็นเส้นแรงที่ล้อมรอบกระจกทั้งแผ่น ชนิดที่สองเป็นแรงภายในเนื้อกระจกที่ดันออกภายนอก ทำให้กระจกมีคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว

 

กระจกที่สามารถนำมาผลิตเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์คือกระจกแผ่นเรียบเกือบทุกชนิดไม่ว่ากระจกนั้นจะผลิตด้วยกระบวนการเพลท(Plate Process) ชีท(Sheet Process) หรือโฟลท(Float Process) แต่กระจกนั้นต้องมีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่เหมาะสม เช่น ไม่มีส่วนประกอบของแร่เงินมากเกินไป เป็นต้น กระจกที่ผลิตจากกระบวนการดังกล่าวมีทั้ง กระจกใส(Clear Glass) กระจกใสพิเศษ(Super Clear Glass) กระจกทิ้น(Tinted Glass) เช่น กระจกสีชาอ่อน(Grey Tinted Glass) กระจกสีชาเข้ม(Dark Grey Tinted Glass) กระจกสีเขียว(Green Tinted Glass) กระจกสีบรอนซ์(Bronze Tinted Glass) กระจกสีฟ้า(Blue Tinted Glass) เป็นต้น สำหรับกระจกลวดลาย(Pattern Glass) หากมีด้านหนึ่งของกระจกเรียบพอที่จะไม่ทำอันตรายต่อลูกกลิ้งเซรามิคในเตาอบกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ก็สามารถผลิตเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ได้เช่นกัน (เนื่องด้วยกระจกทั่วไปเกือบทั้งหมด ยกเว้นกระจกลวดลาย ผลิตด้วยกระบวนการโฟลท ดังน้นกระจกธรรมดาที่กล่าวถึงต่อไปนี้จะเป็นกระจกที่ผลิตด้วยกระบวนการโฟลทเป็นหลัก)

 

มาตรฐานการผลิต กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) 

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ โดยผ่านกระบวนการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก. TIS965-2537

การนำกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) ไปใช้งาน

เนื่องด้วยกระจกนิรภัยเทมเปอร์มีความทนทานต่อแรงกระแทก แรงกด แรงอัด และเมื่อแตกจะมีอันตรายน้อยกว่ากระจกธรรมดา กระจกนิรภัยเทมเปอร์จึงจำเป็นสำหรับกระจกที่ต้องใช้อุปกรณ์จับยึดต่างๆ(Fitting) เช่น ชุดประตูบานเปลือย กระจกตู้อาบน้ำ(Shower Door) ราวกันตกที่ยึดด้วยฟิตติ้ง แผงกระจกที่ยึดด้วยฟิตติ้ง เป็นต้น สำหรับบริเวณที่ต้องรับแรงกระแทกสูงและ/หรือรับแรงลมสูง จำเป็นต้องใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์เช่นกัน เช่น ห้องเล่นสค็อช(Squash Room) ผนังกันระหว่างผู้ชมกับสนามแข่งกีฬาต่างๆ เช่น สนามบาสเกตบอล สนามฮ็อคกี้น้ำแข็ง ลานสเก็ตน้ำแข็ง เป็นต้น สำหรับบริเวณที่มีประชาชนเดินผ่านไปมาเยอะๆและมีโอกาสเกิดการกระแทกกระจก กฎหมายกำหนดให้ใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ด้วย เช่น ศูนย์การค้าต่างๆ ธนาคาร โชว์รูมรถ เป็นต้น

สามารถนำไปใช้งานได้ดังนี้

1.กระจกเทมเปอร์ ใช้เป็นประตูบานเปลือย ฉากกั้นอาบน้ำ ผนังกั้นภายใน ผนังกระจกทั้งสองหน้า และ ภายในตัวอาคารได้

2. กระจกเทมเปอร์ ใช้ทำเป็นตู้โทรศัพท์ ห้องโชว์ ตู้สินค้าอัญมณีที่ต้องการความโปร่งแสง แต่ทนต่อแรง กระแทก

3.กระจกเทมเปอร์ ใช้ทำเป็นกระจกงานเฟอร์นิเจอร์ เช่น ชั้นวางของ ชั้นโชว์สินค้า

4.กระจกเทมเปอร์ ใช้ทำเป็นหน้าต่าง ผนังอาคาร ผนังกระจกของอาคารในบริเวณที่เผชิญกับความร้อน สูงกว่าปกติ

5.ประตูบานเปลือย และผนังกระจกทั้งสองหน้าและภายในตัวอาคาร

6.หน้าต่าง ผนังอาคาร ผนังกระจก (Glass Curtain Wall) ของอาคารในบริเวณ ที่มีแรงลมสูง 

   บริเวณหน้าคานของอาคารหน้าต่าง ตู้อบไฟฟ้า หรือบริเวณที่ต้องเผชิญกับความร้อนสูงกว่าปกติ

7.มณี ที่ต้องการความโปร่งแสง แต่ทนต่อแรงกระแทก

8.งานเฟอร์นิเจอร์ เช่น ชั้นวางของ ชั้นโชว์สินค้า

ขนาด เเละคุณสมบัติเฉพาะของกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)

    ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และแรงที่ทำให้หักงอ (Bending Strength) เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กระจกธรรมดากับกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ที่ความหนา 5 มม. กระจกธรรมดามีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และ แรงที่ทำให้กระจกหักงอ 500- 600 กก./ซม.2 ส่วนกระจกนิรภัยเทมเปอร์มีค่าสูงถึง 1,500 กก./ซม.2

    สำหรับคุณสมบัติเรื่องการทนความร้อนถึง 290 ºC และทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิถึง 150 ºC จึงสามารถใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์สำหรับโคมไฟสปอร์ตไลท์ กั้นบริเวณใกล้เตาไฟ ใช้เป็นฐานของเตาแก๊ส ใช้รองหม้อร้อน แต่กระจกนิรภัยเทมเปอร์ไม่ใช่กระจกทนไฟ จึงไม่สามารถใช้เป็นช่องส่องมองในเตาที่มีความร้อนสูงกว่า 290 ºC ได้ รวมทั้งไม่สามารถใช้กันไฟในกรณีเกิดเพลิงไหม้ได้

 

ขนาด และความหนา

ความหนาที่สามารถผลิตได้  คือ 4, 5, 6, 8, 10, 12, 15, 19 มิลลิเมตร

ขนาดเล็กสุดที่สามารถผลิตได้ คือ 180 X 180 มิลลิเมตร

ขนาดใหญ่สุดที่สามารถผลิตได้ คือ 2,438 X 5,100 มิลลิเมตร

คุณสมบัติพื้นฐานของ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)

 

1.กระจกเทมเปอร์ สามารถรับแรงที่มากระทบกระจกซึ่งเกิดจากลม ร่างกายมนุษย์ หรือแรงดันของน้ำ ในกรณีที่เป็นตู้ปลาหรือสระน้ำ เป็นต้น

2.กระจกเทมเปอร์ สามารถทนต่อแรงกระทบได้มากกว่ากระจกธรรมดา ที่มีความหนาเดียวกัน 3-5 เท่า ลดอันตรายที่เกิดจากกระจกนิรภัยเทมเปอร์บาด

3.กระจกเทมเปอร์ ความทนทานของกระจกต่อแรงกระแทกที่วัตถุ หรือร่างกายกระแทกลงบนกระจก เนื่องจากการชน โดยทั่วไปกระจกนิรภัยเทมเปอร์ สามารถรับแรงกระแทกได้ดีกว่ากระจกธรรมดาที่ความหนาเดียวกันประมาณ 4 เท่า ทนทานต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบฉับพลัน

4.ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และแรงที่ทำให้หักงอ (Bending Strength) เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กระจกธรรมดากับกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ที่ความหนา 5 มม. กระจกธรรมดามีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และ แรงที่ทำให้กระจกหักงอ 500- 600 กก./ซม.2 ส่วนกระจกนิรภัยเทมเปอร์มีค่าสูงถึง 1,500 กก./ซม.2

5. การต้านทานน้ำหนัก (Loading Resistance) คือแรงที่มากระทบและแรงกระแทก โดยแบ่งออกเป็น

    -  การต้านทานน้ำหนัก (Static Load Resistance) คือแรงที่มากระทบกระจกซึ่งเกิดจากลม, ร่างกายมนุษย์ หรือแรงดันของน้ำในกรณีที่เป็นตู้ปลาหรือสระน้ำ เป็นต้น กระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถทนต่อแรงกระทบได้มากกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกันประมาณ 3-5 เท่า

-  การต้านทานแรงกระแทก (Impact Load Resistance) คือความทนทานของกระจกต่อแรงกระแทกที่วัตถุหรือร่างกายกระแทกลงบนกระจกเนื่องจากการชน โดยทั่วไปกระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถรับแรงกระแทกได้ดีกว่ากระจกธรรมดาที่ความหนาเดียวกันประมาณ 4 เท่า

6.ความปลอดภัย คือ ลดอันตรายที่เกิดจากกระจกนิรภัยเทมเปอร์บาด เพราะการแตกของกระจกดังกล่าวจะแตกกระจายออกเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายเม็ดข้าวโพด และมีความคมน้อย 

7.การต้านทานความร้อน ( Heat Resistance) คือความทนทานของกระจกต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิแบบฉับพลัน จากการทดสอบความสามารถในการต้านทานความร้อนของกระจกนิรภัยเทมเปอร์เปรียบ เทียบกับกระจกพื้นฐาน หรือกระจกเคลือบผิวที่ความหนา 5 มม. เท่ากัน มีผลการทดสอบดังนี้

ข้อดีของ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)

 

-มีความแข็งแรงกว่ากระจกโฟลท 4-5 เท่า ทำให้สามารถรับแรงกระแทก แรงกด แรงบีบ ได้ดี

-ทนความร้อนได้สูงถึง 290ºC โดยกระจกไม่แตก

 -ทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้ถึง 150ºC

-เมื่อกระจกแตก จะแตกเป็นชิ้นเล็กๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดทั่วทั้งแผ่น ไม่เป็นปากฉลามแบบเดียวกับการแตกของกระจกธรรมดา 

-ตัดกระจกบนโต๊ะตัดที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ความเที่ยงตรงสูง ตัดได้หลากหลายรูปแบบ 

-สามารถ เจียร เจียรปลี เจาะ กระจกรูปร่างใดๆ ก็ได้ โดยเครื่องตัดและเครื่องเจียรระบบ CNC

 

ข้อด้อย กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)

 

-  กระจกนิรภัยเทมเปอร์ ไม่สามารถ ตัด เจีย บาก เจาะ ได้

- เนื่องด้วยกระจกนิรภัยเทมเปอร์เป็นกระจกที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงจนทำให้กระจกนิ่มและกลิ้งไปกับลูกกลิ้ง จึงทำให้กระจกเกิดการเป็นคลื่นและมีความโก่งตัวเล็กน้อย

- กระจกนิรภัยเทมเปอร์ มีโอกาสแตกตัวด้วยตัวเอง  หากกระจกที่เป็นวัตถุดิบ มีสารปนเปื้อน คือ สารนิเกิ้ลซัลไฟล์ (NiS) ในกระบวนการผลิตกระจกโฟลื โดยมีอัตราการแตกด้วยตัวเองเฉลี่ย 8 แผ่นใน 1,000 แผ่น ซึ่งสามารถดูที่ลักษณะการแตกได้ว่า การแตกด้วยตัวเองหรือไม่

การติดตั้ง กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)

 

- การติดตั้งราวกันตกกระจก

Preformed Concrete Slab (การติดตั้งฝังรางที่พื้น)

Exposed Channel Installation (การติดตั้งแบบโชว์)

Glass Type: 10-12 mm. Clear tempered glass by

* การออแบบจำเป็นที่จะต้องเขาะร่องในการติดตั้งลงในพื้นโครงสร้าง อย่างต่ำ 10 ซม.

ข้อควรระวังในการใช้งานกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)

 

- กระจกนิรภัยเทมเปอร์ ไม่สามารถ ตัด เจาะ เจีย บาก ได้ หลังการผลิตเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ดังนั้น การวัดพื้นที่ จำเป็นต้องวัดอย่างระมัดระวัง และควรใช้เป็นหน่วยมิลลิเมตรในการวัด เพื่อความแม่นยำ

 - ไม่ควรใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์เดี่ยวๆ เป็นหลังคา เป็นผนังภายนอกอาคารบริเวณชั้นสูงๆ เพราะหากกระจกแตก จะร่วงลงมาเป็นอันตรายต่อคนข้างล่างได้

- ไม่ควรใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์เดี่ยวๆ เป็นพื้น หรือ เป็นขั้นบันได เพราะหากกระจกแตก ผู้เดินจะได้รับอันตรายพลัดตกลงมาได้

- ห้ามใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ทดแทนกระจกกันไฟ เพราะกระจกนิรภัยเทมเปอร์ไม่สามารถกันไฟเพื่อความปลอดภัยต่อผู้อาศัยตามข้อกำหนดของการกันไฟได้

ข้อปฏิบัติในการดูแลรักษากระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)

1.ห้ามนำของมีคม เช่น ตะปู เหล็กแหลม ไขควง ฯ ในการขูดสิ่งสกปรกเช่น คราบกาว หรือ ทำความสะอาด บริเวณกระจก

2.ห้ามใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดกระจกรูปตัวที ที่มีวัสดุเป็น เหล็ก หรือ สแตนเลส ทำความสะอาด (อุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดกระจกรถยนต์ ตามปั๊มน้ำมัน) อุปกรณ์ ควรทำจากพลาสติก

3.ห้ามใช้ผ้าขี้ริ้ว กระสอบเก่า ผ้าที่มีเนื้อที่หยาบ เช็ดถูทำความสะอาดกระจก เพราะผ้าเหล่านี้อาจมีเศษหิน ทราย ปะปนอยู่ ซึ่งจะทำให้กระจกอาจเป็นรอยขีดข่วนได้

4.ห้ามใช้น้ำยาใดๆก็ตาม ที่มีคุณสมบัติเป็นกรด เช่น วิกซ์ซอล น้ำยาเป็ด น้ำยามิสเตอร์มัสเซิล ฉีดลงบนกระจก และ อุปกรณ์ที่เป็นบานพับสแตนเลส หรือ มือจับ โดยเด็ดขาด น้ำยาต่างๆเหล่านี้ จะทำให้อุปกรณ์สแตนเลส เป็นลอยด่าง หรือ รอยไหม้

5.ห้ามใช้ผงซักฟอก น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดกระจก

6.ห้ามซ่อมแซม กระจก หรือ อุปกรณ์ ด้วยตัวเองโดยเด็ดขาดควรปรึกษาช่างติดตั้งกระจกก่อนทำการใดๆ

 

วิธีการทำความสะอาดกระจก

 

1.วัสดุที่ใช้ทำความสะอาด ควรเป็น ผ้าสะอาด , ผ้าดูปองท์ (ผ้าทำความสะอาดรถยนต์) , กระดาษหนังสือพิมพ์  เป็นต้น หรือ อุปกรณ์ทำความสะอาดกระจกที่มีวัสดุเป็น พลาสติก ทำความสะอาด

2.น้ำยาที่ใช้ทำความสะอาด ควรเป็นน้ำยาเช็ดกระจกเท่านั้น

3.ครีมขัด ควรเป็นครีมขัดกระจกเท่านั้น

 

ขั้นตอนการทำความสะอาดกระจก

 

ขั้นตอนที่ 1 ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่น ทำความสะอาดบริเวณที่มีคราบสกปรกมาก ๆ ก่อน แต่ไม่ควรปล่อยให้น้ำแห้งเองควรเช็ดให้แห้งในทันที เพราะถ้าปล่อยไว้อาจเกิดรอย คราบน้ำได้  ซึ่งรอยคราบน้ำไม่สามารถขัดทำความสะอาดให้หมดไปได้ หลังจากนั้นใช้น้ำยาเช็ดกระจกฉีดลงบนกระจกให้ทั่ว ใช้ผ้าสะอาด หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์เช็ดทำความสะอาดจนน้ำยาเช็ดกระจกหมดหลังจากนั้น ใช้ผ้าสะอาดเช็ดทำความสะอาดอีกครั้ง

 

ขั้นตอนที่ 2 กรณีกระจกเป็นคราบไขมันสบู่ หรือ คราบแชมพูสระผม

ขั้นตอนการทำความสะอาดมีดังนี้

 

               -ใช้น้ำส้มสายชูผสม (น้ำส้มสายชูผสมสำเร็จรูป 10%) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอุ่น 2 แก้ว คนให้เข้ากัน นำผ้าสะอาดชุบน้ำที่ผสมแล้ว ทำความสะอาดลงบนรอยด่างไขมัน (ห้ามใช้น้ำผสมน้ำสมสายชูราดลงบนกระจกทั้งแผ่น) หลังจากนั้น ให้ทำความสะอาดตามขั้นตอนที่ 1 และ ให้ใช้ครีมขัดกระจกถูลงบนรอยด่างทิ้งให้แห้ง และใช้ผ้าสะอาดเช็ดถูอีกครั้ง

หมายเหตุ  กรณีถ้าเป็นคราบไขมันสบู่ควรทำความสะอาดบริเวรที่เป็นคราบบ่อยๆ จะทำให้คราบดังกล่าวไม่ติดฝังแน่นบนกระจก

 

ขั้นตอนการทำความสะอาดอุปกรณ์สแตนเลส

1.ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดจนอุปกรณ์แห้งใช้ผ้าสะอาดเช็ดถูอีกครั้ง

2.ใช้ครีมสำหรับทำความสะอาดสแตนเลสขัดเบาๆ

ราคารเฉลี่ยของแผ่นของกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) ตามท้องตลาดปัจจุบันแล้ว มีสินค้าราคาเกรดสูง-ตำ่ ราคารเฉลี่ยของแผ่น กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) จะอยู่ที่ราคาเริ่มต้นประมาณ ราคาร 90 บาท ต่อฟุต ถึง ราคา 600 บาทต่อฟุต บาท ต่อตารางฟุต (ราคารขึ้นอยู่กับขนาดความหนา เเละความยาว) 

 

กระจกเทมเปอร์ การคิดราคาเป็นฟุต

-เวลาสั่งกระจกเทมเปอร์ ต้องบอกขนาด ความกว้าง สูง และความหนากระจกเป็นมิลลิเมตร 

-แต่ราคาขายเขาคิดกันเป็นตารางฟุต เช่น   ต้องการกระจกหนา 12 มิล กว้าง 1271 มิล สูง 4140 มิล

ดังนั้น ต้องเปลี่ยน กว้าง สูง เป็นตารางฟุต ก่อน คือ 1.271 คูณ 4.140 เมตร คูณด้วย10.764 เท่ากับ 56.64 ตารางฟุต

เมื่อได้จำนวนตารางฟุตแล้วก็ดูว่ากระจกหนา 12 มิล ขายตารางฟุตละเท่าไหร่ 

ส่วน ตัด บาก เจาะรู เจียร เขาจะคิดเพิ่มตามแบบที่ลูกค้าต้องการอีที

***หมายเหตุ  1 เมตร = 1000 มิลลิเมตร

 

มีเเหล่งร้านค้าและตัวแทนจำหน่าย : tykglass.com, standardplus,srglassdesign,agc-flatglass,made-glass,บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด,บริษัท เอสอาร์ แอดวานซ์อินดัสตรีย์ จำกัด,บริษัท อินเตอร์เทค สเปคเชียลตี้กลาส จำกัด

ข้อมูลอ้างอิงจาก

http://www.bililytemperedglass.com

http://www.glassprothailand.com

https://www.theglassguru.com

https://www.agc-flatglass.co.th

http://www.kncsafetyglass.com

http://www.glasstech.co.th

http://topicstock.pantip.com

http://www.glassprothailand.com

http://www.glassquik.net

http://esyglass.com

http://www.supplychains2012

 

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

 

#Wazzadu #WazzaduEncyclopedia #WazzaduAcademy #TemperedGlass #กระจก #ArchitectureDesign #material #Glass #Building #วัสดุ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ