หลักการออกแบบแสงภายในพิพิธภัณฑ์ สำหรับประติมากรรม/วัตถุ/แกลเลอรี่

พิพิธภัณฑ์ หรือแกลเลอรี จัดเป็นสถานที่ในการเรียนรู้เกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของอารยะธรรมความคิดสร้างสรรค์จากมนุษย์ หรือ ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก การสร้างประสบการณ์ในการรับชมที่พิเศษจะช่วยทำให้ผู้รับชมสัมผัสกับคุณค่าของชิ้นงานที่จัดแสดงได้อย่างประทับใจ และมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมในการรับรู้มากยิ่งขึ้น แสงสว่างจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์การรับรู้ระหว่างมนุษย์กับชิ้นงานที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ การออกแบบแสงสว่างจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะแสงสว่างเปรียบเสมือนสิ่งพิเศษที่สามารถทำให้วัตถุอันทรงคุณค่าในอดีตกาล หรือ ในอนาคต เสมือนราวกับว่ากำลังมีชีวิตอยู่  

NATIONAL PORTRAIT GALLERY – LONDON, UNITED KINGDOM

LIGHTING TECHNIQUES: LIGHTING SCULPTURE / OBJECTS / ARTEFACTS  

เทคนิคการใช้แสง: แสงเพื่อประติมากรรม / วัตถุ / สิ่งประดิษฐ์

หลักการออกแบบแสงประเภทนี้จะต้องหลีกเลี่ยงการรั่วไหลของแสงที่จะมีโอกาสกระจายไปกระทบกับผนังโดยรอบมากจนเกินไป ผลงานที่จัดแสดงประเภทลอยตัวแบบต่างๆ เช่น ประติมากรรม ,วัตถุ หรือ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ต้องจัดวางอยู่ในระดับความสูงที่เหมาะสมกับสัดส่วนสเกลของชิ้นงานนั้นๆ (แต่ต้องสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตรขึ้นไป)

เมื่อแสงสว่างส่องลงมากระทบกับชิ้นงานที่จัดแสดง จะทำให้ผลงานชิ้นนั้นๆสามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้ชม และมีมิติแสงเงาที่คล้ายราวกับมีชีวิต  ซึ่งความสนใจของผู้เข้าชมภายในพื้นที่การจัดแสดงนั้นๆจะได้อรรถรส และมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมมากน้อยเพียงใดนั้น ปัจจัยแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญ เพราะมีความสัมพันธ์กับการออกแบบแสงโดยตรง เช่น ผนัง หรือฉากที่อยู่ด้านหลังจะต้องมีความราบเรียบสม่ำเสมอโดยไม่มีจุดสนใจ หรือร่องรอยใดๆที่อาจจะรบกวนสายตา และสมาธิของผู้เข้าชมได้ 

ซึ่งข้อสำคัญที่จะทำให้การจัดแสดงมีความสมบูรณ์โดยสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาได้อย่างครบถ้วนทุกมิติ คือ การติดตั้งโคมไฟส่องสว่างในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการสะท้อนของเงา และแสงจ้าที่สะท้อนออกมาในรูปแบบที่ผิดแปลกไปจากมิติที่ควรจะเป็น ซึ่งจะทำให้การจัดแสดงมีความเสียหาย หรือ เกิดความบกพร่องในด้านมิติแสงเงาได้

 

ตำแหน่งการจัดวางไฟ และรูปแบบของแสงสว่างที่เหมาะสม

การจัดวางประติมากรรมลอยตัวเพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์การรับรู้ที่ยอดเยี่ยม และอรรถรสในการรับชมที่ดีสำหรับผู้เยี่ยมชม จะมีความสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อตำแหน่งที่ตั้งมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งของแสง ซึ่งจะต้องมีมิติความแตกต่างระหว่างแสงและเงาที่เหมาะสม  โดยมุมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการส่องสว่างสำหรับงานประติมากรรม หรือ สิ่งประดิษฐ์ลอยตัวจะต้องอยู่ในมุม 30-36 °เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีเงาที่เกิดขึ้นจากแสงที่สาดไปโดนกลุ่มผู้ชม

โดยใช้แสงสว่างที่มีความเข้มต่ำ หรือ สูง ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่จัดแสดง แต่ต้องเป็นลำแสงที่มีความแคบเพราะจะทำให้โฟกัสชิ้นงานที่จัดแสดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแสงจะได้ไม่กระจายไปยังผนัง หรือ ฉากที่อยู่ด้านหลังมากเกินไป จนทำให้ชิ้นงานจัดแสดงดูดรอปลง ซึ่งอาจทำให้มีความบกพร่องทางด้านมิติแสงเงาเกิดขึ้นได้ ในปัจจุบันถึงแม้การจัดแสดงส่วนใหญ่นั้นจะใช้แสงประดิษฐ์ แต่ก็ยังต้องยึดลักษณะของอุบัติการณ์ความงามตามแบบธรรมชาติเอาไว้ให้มากที่สุดด้วยเช่นกัน 

 

ขอแนะนำ!! บทความเกี่ยวกับงานพิมพ์เพื่อตกแต่งพิพิธภัณฑ์

 

ประเภทของหลอดไฟ ที่เหมาะสมกับการจัดแสงประเภทนี้

หลอดไฟประเภทฮาโลเจน ส่องเฉพาะจุด (Halogen) เป็นประเภทหลอดไฟที่มีความเหมาะสมกับการจัดแสงประเภทนี้ เพราะมีค่าแสดงสีสูงกว่าหลอดไฟทั่วไป จัดเป็นแสงสว่างสำหรับการเน้นโฟกัสที่สมบูรณ์แบบบนวัตถุโดยเฉพาะ สามารถปรับความอ่อน-เข้มของแสงได้ แต่จะมีความร้อนสูงตัวหลอดจึงต้องระบายความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังมีไฟ LED Spot  ส่องเฉพาะจุด ให้เป็นตัวเลือกอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น คงทน ให้ค่าแสดงสีที่เสถียร และช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟประเภทอื่นๆ

*ข้อควรระวัง หลอดไฟประเภทฮาโลเจน หากผิวหลอดมีฝุ่นเกาะ หรือมีคราบมันจากรอยนิ้วมือที่อาจเกิดจากตอนเปลี่ยน หรือ ทำความสะอาดหลอด อาจทำให้การระบายความร้อนไม่ดี และจะทำให้อายุการใช้งานสั้น ในบางกรณีหลอดอาจระเบิด หรือไฟลุกไหม้ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอ

แปล และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก

- Museums and Galleries - Brochure - English

Wazzadu Academy : ข้อมูลวัสดุศาสตร์ในหมวดอื่นๆที่น่าสนใจ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ