แบบรอยต่อมาตรฐานโครงสร้างเหล็กกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม (Architectural Steel Connection Detail)

เหล็ก ถือว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในการนำมาก่อสร้างอาคาร หรือสถาปัตยกรรมประเภทต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากเหล็กมีความแข็งแรง รับแรงได้มาก และยังก่อสร้างได้รวดเร็ว

การเลือกใช้เหล็กในการก่อสร้างอาคารนั้น ควรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของเหล็ก เพื่อที่จะเลือกใช้ขนาด และหน้าตัดที่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงวิธีการยึดต่อหรือติดตั้ง ทั้งในลักษณะของวัสดุที่เป็นเหล็กทั้งหมด หรือเหล็กกับวัสดุทางสถาปัตยกรรมอื่น ๆ 

Wazzadu Encyclopedia x Siam Yamato Steel (SYS) จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ แบบรอยต่อมาตรฐานโครงสร้างเหล็กกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม (Architectural Steel Connection Detail)  เพื่อให้สถาปนิก วิศวกร ช่าง ผู้รับเหมา หรือผู้ที่สนใจ สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าว ไปใช้ต่อยอดในการทำงานของตนเองได้อย่างเป็นประโยชน์ ซึ่งเนื้อหาจะมีอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น ตามมาชมกันเลยครับ

ตัวอย่างแบบรอยต่อมาตรฐานโครงสร้างเหล็กกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม (Architectural Steel  Connection Detail)

ตำแหน่งรอยต่อองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญในจุดต่างๆของอาคาร

  • รอยต่อระหว่างผนังและโครงสร้างเหล็ก
  • รอยต่อระหว่างกรอบหน้าต่างและโครงสร้างเหล็ก
  • รอยต่อระหว่างพื้นสำเร็จรูปและโครงสร้างเหล็ก
  • รอยต่อระหว่างผนังก่ออิฐพร้อมเสาเอ็นกับเสาเหล็ก
  • รอยต่อระหว่างผังพื้นกับเสาเหล็ก

โดยแต่ละรูปแบบรอยต่อมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้

 

แบบรอยต่อผนังเบาวางบนโครงสร้างเหล็ก

การยาแนวด้วยซิลิโคนจะช่วยป้องกันการซึมของน้ำจากนอกอาคาร บริเวณรอยต่อแผ่นผนังและปีกคานเหล็ก H-beam

แบบรอยต่อผนังเบาวางบนโครงสร้างเหล็กพร้อมวัสดุกรุผิวด้านนอก

การยาแนวด้วยซิลิโคนจะช่วยป้องกันการซึมของน้ำจากด้านนอกอาคาร บริเวณรอยต่อแผ่นผนัง และปีกคานเหล็ก H-beam 

แบบรอยต่อผนังก่ออิฐบนเอ็นโครงสร้างเหล็ก

การยาแนวซิลิโคนจะช่วยป้องกันการซึมของน้ำจากนอกอาคารผ่านรอยต่อระหว่างผนังก่ออิฐกับคานเหล็ก ทั้งยังช่วยปิดรอยร้าวที่อาจเกิดขึ้นบริเวณรอยต่อของผิวปูนฉาบ กับคานปีกเหล็ก H-beam และการใช้ฉากอลูมิเนียมติดตั้งบนปีกคานเหล็ก H-beam ยังช่วยป้องกันการซึมของน้ำได้ดีขึ้น

แบบรอยต่อผนังเบากรุ metal sheet บนโครงสร้างเหล็ก

การยาแนวด้วยซิลิโคนจะช่วยป้องกันการซึมของน้ำจากนอกอาคาร บริเวณรอยต่อแผ่นผนังที่รองรับแผ่น Metal Sheet และปีกคานเหล็ก H-Beam

แบบรอยต่อกรอบหน้าต่างวางบนโครงสร้างเหล็ก

การยาแนวด้วยซิลิโคนบริเวณด้านในกรอบผนังจะช่วยป้องกันการซึมของน้ำจากนอกอาคาร บริเวณรอยต่อระหว่างกรอบผนัง และปีกคานเหล็ก H-Beam

แบบรอยต่อพื้นไม้วางบนตงเหล็ก

ต้องปรับตงให้ระนาบได้ระดับเท่ากันทั้งหมด เพื่อความเรียบเนียนได้ระดับเสมอกันโดยไม่ทำให้เกิดการสะดุด หากเป็นพื้นระเบียงชั้นสองหรือพื้นระเบียงที่มีระดับสูงเกิน 50 ซม. จะต้องมีโครงสร้างพื้นรองรับเพื่อความปลอดภัย

แบบรอยต่อผนังก่ออิฐวางเสมอขอบพื้นยื่น คสล.วางบนโครงสร้างเหล็ก 

ฉาบปูนที่ผนังและขอบพื้นเพื่อกันน้ำซึม พร้อมเอ็น คลส. ยาแนวด้วย silicone หรือเพิ่มเหล็กฉากอลูมิเนียมเพื่อกันน้ำซึม และฉาบปูนหุ้มหัวพื้นปิดท้าย

แบบรอยต่อผังพื้น ผนังก่ออิฐพร้อมเสาเอ็นกับเสาเหล็ก

ควรใช้ซิลิโคนยาแนว และฉากอลูมิเนียม หรือ PVC ฝังในผนังเพื่อกันน้ำซึม

แบบรอยต่อผังพื้น ผนังก่ออิฐเข้ามุมพร้อมเสาเอ็นกับเสาเหล็ก

ควรใช้ซิลิโคนยาแนว และฉากอลูมิเนียม หรือ PVC ฝังในผนังเพื่อกันน้ำซึม

ในการเลือกใช้ ขนาด และประเภทของเหล็ก สำหรับงานสถาปัตยกรรม งานรอยต่อ หรือองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • ประเภทของอาคาร หรือองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
  • ตำแหน่งการติดตั้งเหล็ก
  • ขนาดของอาคาร
  • การรับแรงของเหล็ก
  • การคำนวณโครงสร้างของผู้ออกแบบและวิศวกร

เพื่อให้สามารถเลือกใช้เหล็กกับอาคารได้อย่างเหมาะ ทำให้อาคารมีความแข็งแรง ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน มีความสวยงาม และเกิดประโยชน์สูงสุด

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแบบรอยต่อมาตรฐาน สำหรับงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก

ข้อมูลผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณ สำหรับงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก

  • เหล็กความยาวพิเศษ (Customized Length)

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน

    Online
  • เหล็ก SM520 เหล็กรูปพรรณกำลังสูงจาก SYS

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน

    Online
  • I-BEAM (ไอ-บีม) สำหรับงานรางเครน

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน

    Online
  • H-BEAM (เอช-บีม) สำหรับงานโครงสร้างเสา คาน และโครง ถัก ขนาดใหญ่

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน

    Online
  • CHANNEL (เหล็กรางน้ำ) สำหรับงานบันไดและแปหลังคา

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน

    Online
  • ANGLE (เหล็กฉาก) สำหรับงานเสาส่งไฟฟ้า และวิทยุ

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน

    Online
  • CUT BEAM (คัท-บีม) สำหรับงานโครงถักหลังคา

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน

    Online
  • SHEET PILE (ชีทไพล์) สำหรับงานกำแพงกันดิน และแนวป้องกันน้ำ

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน

    Online

ข้อมูลด้านบริการ สำหรับงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก

  • Online
  • งานป้องกันสนิม (Rust Protection)

    โครงสร้าง เหล็ก

    Online
  • Online
  • Online
แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ